ดอลลาร์สหรัฐและตลาดหุ้นร่วงลงทันทีเมื่อได้ทราบรายงานตัวเลข GDP ที่ร่วงลงต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์การรายงาน ตัวเลข ในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 หดตัวลดลงถึง 32.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในปี 2019 และถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่วิจัยด้านเศรษฐกิจโดยตรงของสหรัฐฯ (NBER) ระบุว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ภาวะทดถอยทางเทคนิค (Technical Recession) มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว NBER ระบุว่าการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ที่ประเทศเคยประสบมาเพราะเป็นการถดถอยที่เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงจากความจำเป็นที่ต้องปิดล็อกเมืองเพื่อควบคุมโรคระบาดซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศต้องชะงักลงทันที นอกจากนี้รายงานของ NBER ยังได้เน้นย้ำไปที่การยืดระยะเวลาความเสียหายที่มีต่อเศรษฐกิจจากโควิด-19 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายนมาจนถึงมิถุนายน แม้ตัวเลข GDP ที่ออกมาจะยังไม่ลดลงเยอะเท่ากับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ (-34.7%) แต่ก็มากพอที่จะสร้างความตกใจให้กับนักลงทุนจนแสดงออกด้วยการเทขายดอลลาร์และหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ทันที
ถึงแม้ว่าข่าวแย่ๆ ของไวรัสจะยังคงอยู่กับสหรัฐฯ ไปอีกอย่างน้อย 2 เดือนและทำให้หลายๆ รัฐสำคัญต้องกลับมาสู่การปิดล็อกเมืองอีกครั้งแต่นักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 จะออกมาดีกว่าในไตรมาสที่ 2 เพราะบางรัฐไม่ได้ใช้วิธีปิดล็อกเมืองโดยสมบูรณ์แต่ใช้วิธีคุมเข้มในพื้นที่บางส่วนที่มีความเสี่ยงเท่านั้นและดูเหมือนว่าวิธีนี้ก็ได้ผลลัพธ์ที่ดี ถึงยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นในระดับคงที่ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ไม่มีทางที่จะเป็นการฟื้นตัวแบบ V-Shape แบบที่นายแลร์รี่ คุดโลว์ หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจเคยให้สัญญาเอาไว้
รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกันและวันนี้คือวันสุดท้ายของเงินเยียวยาพิเศษสำหรับผู้ที่ตกงานซึ่งหมายความว่ารายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการในวันพฤหัสบดีหน้าจะต้องเพิ่มขึ้น ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนมูลค่าต่อไปโดยเริ่มจากตัวเลขรายงานการบริโภคและรายได้ส่วนบุคคลที่จะออกในวันนี้ สภาสูงไม่สามารถผ่านกฎหมายขอยืดระยะเวลามอบเงินเยียวยาฉุกเฉินสำหรับคนตกงานได้ซึ่งหมายความว่าประชาชนชาวอเมริกันจะต้องอดทนและฝ่าวิกฤตนี้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเยอรมันที่ออกมาของไตรมาสที่แล้วจะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์แต่แทนที่กราฟ จะร่วงกลับวิ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ที่ 1.19 สร้างความสับสนให้กับนักลงทุนบางส่วน แม้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันลดลงเพียง 10% แต่ก็เป็นไตรมาสที่แย่ที่สุดของเยอรมันในรอบ 50 ปีเป็นอย่างน้อย ดังนั้นนักวิเคราะห์จึงมองว่ารายงานตัวเลข GDP ในประเทศกลุ่มยูโรโซนอื่นๆ อย่าง สเปน ฝรั่งเศส อิตาลีก็จะเป็นตัวเลขที่หดตัวเช่นเดียวกันกับเยอรมัน ขาขึ้นของกราฟ EUR/USD ที่เห็นจึงเป็นแรงขับเคลื่อนที่มาจากตัวเลข GDP สหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าของเยอรมันแม้ว่าตัวเลขของฝั่งยูโรโซนก็ไม่ได้ออกมาดีมาก ที่สำคัญตอนนี้มีข่าวยอดผู้ติดเชื้อกลับมาในอิตาลีและฝรั่งเศสด้วย
เมื่อวานนี้ฝั่งสหราชอาณาจักรไม่มีรายงานข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญออกมาและบางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุว่าทำไมกราฟเทียบดอลลาร์ถึงได้อยู่ในขาขึ้นมาตลอด 10 วันล่าสุด ในขณะที่กราฟ GBP/USD สามารถขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 4 เดือนล่าสุดได้แต่คู่สกุลเงินเทียบดอลลาร์กลับทำผลงานขาขึ้นได้น้อยที่สุดเพราะได้รับผลกระทบจากราคาแคนาดาจะมีรายงานตัวเลข GDP รายเดือนในวันนี้ซึ่งคาดการณ์กันว่าตัวเลขที่ออกมาจะดีขึ้นกว่าของเดือนที่แล้วเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยและดุลการค้าของเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น
และย่อตัวกลับลงมาเล็กน้อยเมื่อวานนี้เพราะข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างในเดือนมิถุนายนค่อนข้างซบเซาและความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจของนิวซีแลนด์ถูกประเมินออกมาลดลงในขณะที่ออสเตรเลียตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างและราคาของสินค้านำเข้าส่งออกลดลงมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ วันนี้นิวซีแลนด์จะมีรายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ออสเตรเลียมีรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และจีนมีดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)