การที่นักลงทุนไม่เห็นสัญญาณความชัดเจนของการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากโปรโมชันเงินเยียวยาการว่างงาน $600 กำลังจะหมดลงในสิ้นเดือนนี้ทำให้ไม่มีใครอยากถือสกุลเงินดอลลาร์เอาไว้ ยังคงอ่อนมูลค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ยกเว้น ปัจจัยนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กราฟ ทะยานขึ้นสู่ 1.15 ซึ่งเป็นแนวต้านที่แข็งที่สุดมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2018 ในขณะที่กราฟ ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม และก็สามารถขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายเดือนได้เช่นกันเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์ยิ่งอ่อนมูลค่าลงเมื่อวานนี้เกิดขึ้นมาจากตัวเลขยอดขายบ้านมือสองของเดือนมิถุนายนที่แม้จะดีขึ้นแต่ไม่สามารถขึ้นได้เท่ากับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ สำนักข่าวชื่อดัง CNBC ได้พูดถึงเงินเยียวยาที่กำลังจะหมดอายุลงในวันที่ 31 นี้ว่าทุกรัฐจะหยุดมอบเงินชดเชยนี้หลังจากวันที่ 25 และ 26 กรกฎาคมตามปฏิทินของระบบราชการ ในตอนแรกพวกเขาตั้งใจจะมอบเงินในส่วนนี้ไปเรื่อยๆ เพราะคิดว่าสภาคอนเกรสน่าจะอนุมัติเรื่องนี้แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข่าวหรือความคืบหน้าเกี่ยวกับเดตไลน์เงินเยียวยารอบใหม่อย่างเป็นรูปธรรม ตอนนี้ดูเหมือนว่าเหล่าผู้มีส่วนรับผิดชอบในการร่างเงื่อนไขเงินเยียวยานี้ขึ้นมากำลังวุ่นอยู่กับการทำแพคเกจบรรเทาทุกข์ภัยโควิด-19 หากว่ารัฐบาลปล่อยให้เงินเยียวยานี้หมดอายุตามระยะเวลาลงจริงๆ จะเป็นการตัดความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบ V-Shape และดอลลาร์สหรัฐจะยิ่งถูกเทขายมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่นักลงทุนกำลังรอข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐฯ อีกด้านหนึ่งพวกเขายังคงยินดีอยู่กับข่าวการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูโควิดมูลค่า $2,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐของผู้นำยุโรปในวันอังคารที่ผ่านมา ดีลประวัติศาสตร์นี้จะครอบคลุมช่วงเวลาการฟื้นฟูไปจนถึงช่วงเวลาการสิ้นสุดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดโดยสมบูรณ์และเป็นเกราะป้องกันเศรษฐกิจในยูโรโซนไม่ให้อ่อนแอลงไปมากอย่างที่ควรจะเป็น ขาขึ้นมายัง 1.15 ของกราฟ EUR/USD ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าตลาดมีความเชื่อมั่นและรู้สึกวางใจกับข่าวดีนี้ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้ารับประกันได้เลยว่ามูลค่าของยูโรย่อมจะดีกว่าดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้นเหล่าผู้นำในกลุ่มสหภาพยุโรปยังรับปากอีกด้วยว่าจะกลับไปแก้กฎหมายการเงินในประเทศตัวเองให้สอดคล้องกับกองทุนฟื้นฟูที่พึ่งเกิดขึ้นมา
เมื่อพิจารณากราฟ EUR/USD ทางเทคนิคแล้วเรามองว่าก่อนที่กราฟจะสามารถขึ้นไปถึง 1.17 ได้เราจะต้องจับตาดูราคาที่แนวต้าน 1.16 ก่อน ส่วนกราฟ ยังคงวิ่งอยู่ในกรอบไซด์เวย์ใหญ่โดยมีโซนแนวต้านระหว่าง 1.27-1.28 เป็นโซนสำคัญ ส่วนของปัจจัยพื้นฐานวันนี้ปอนด์ไม่มีข่าวเศรษฐกิจสำคัญอะไรนอกจากความคืบหน้าของการเจรจา Brexit และถึงแม้ว่าผลที่ออกมาอาจจะไม่มีความคืบหน้าก็ไม่ทำให้กราฟปรับตัวลดลงไปมากนักเนื่องจากสหราชอาณาจักรยังมีปัจจัยหนุนที่สามารถควบคุมโควิดในประเทศได้ดี พรุ่งนี้มีตัวเลขยอดขายปลีกให้จับตาดูด้วย
สกุลเงินทั้งสามที่มีมูลค่าผูกติดอยู่กับสินค้าโภคภัณฑ์อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดาดอลลาร์ทำผลงานขาขึ้นได้ดีกว่าดอลลาร์สหรัฐทั้งหมดแต่ผู้ที่ทำผลงานได้สะดุดตามากที่สุดคือออสเตรเลียดอลลาร์ที่กราฟ AUD/USD สามารถขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 15 เดือนได้ นิวซีแลนด์ดอลลาร์ก็สามารถขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 6 เดือนได้เช่นกันในขณะทีขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหนึ่งเดือน อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นคือปัจจัยที่หนุนขาขึ้นของแต่ปัจจัยหลักจริงๆ แล้วคือดอลลาร์สหรัฐอ่อนมูลค่าลง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ 0.4% ถึงอย่างนั้นแบงก์ชาติแคนาดาก็ยังไม่ได้มีแผนที่จะรัดกุมมาตรการทางการเงินเพิ่มขึ้น ในอนาคตอันใกล้ทั้งสามสกุลเงินนี้ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อตราบใดที่ตัวเลขดัชนี CPI แบบปีต่อปียังคงอยู่ใกล้ตัวเลข 1.1% แต่ถ้าสหรัฐฯ มีข่าวดีเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 เมื่อไหร่ก็ระวังการย่อตัวลงทันทีของกราฟเหล่านี้เอาไว้ด้วย