รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สงสารดอลลาร์บ้างเลย เมื่อวันศุกร์ที่แล้วยอดผู้ติดเชื้อโควิดทะยานขึ้นสูงมากถึง 72,000 รายสร้างผลกระทบต่อมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐอย่างหนัก ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอีกแล้วแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นจะส่งผลให้หลายรัฐต้องหยุดแผนการกลับมาเปิดเมืองเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจอีกรอบก็ตาม
สหรัฐฯ ไม่อาจหนีผลร้ายทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาได้ซึ่งตอนนี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณแล้ว ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมจากมหาลัยมิชิแกนที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ลดลงจาก 78.1 เหลือ 73.2 นักเศรษฐศาสตร์ที่เคยเชื่อมั่นว่าตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในรอบนี้จะต้องเพิ่มขึ้นต่างต้องตกใจเมื่อได้เห็นว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันบางส่วนมีความเป็นกังวลกับการแพร่ระบาดโควิด-19 รายละเอียดจากผลสำรวจระบุว่า “การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิดในช่วงหน้าร้อนและก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวนี้มีแต่จะเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับรายได้และการจ้างงาน เมื่อคิดได้ดังนั้นการใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือยจึงลดลง”
เราเห็นด้วยที่ว่าชาวอเมริกันบางส่วนเริ่มจะรู้สึกอย่างนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ้นเดือนนี้จะเป็นวันที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐหมดลง ภาพรวมของการจับจ่ายใช้สอยในสหรัฐอเมริกายังไม่มีความชัดเจน ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสจะอ่อนมูลค่าลงมากกว่านี้อีก ที่ผ่านมาดอลลาร์ยังมีเกราะกำบังจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ออกมาอุ้มเศรษฐกิจไม่ให้หดตัวลงเร็วจนเกินไป หากว่าก่อนวันที่ 31 ยังไม่มีมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ออกมานักลงทุนจะได้เห็นดอลลาร์อ่อนยวบอย่างแท้จริง
สกุลเงินที่ทำผลงานได้ดีที่สุดเมื่อวันศุกร์ที่แล้วคือและตามมาด้วยสกุลเงินยูโร ปกติแล้วสวิตฟรังก์เป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนมากพอๆ กับเยนแต่เพราะยอดผู้ติดเชื้อโควิดทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนจึงทำให้สวิตฟรังก์มีภาษีดีกว่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ การที่ดอลลาร์อ่อนมูลค่าลงทำให้ยูโรปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน นักลงทุนหวังว่าการประชุมของผู้นำยุโรปที่ไม่ได้ประชุมกันเลยตั้งแต่มีวิกฤตโควิดเกิดขึ้นจะสามารถตกลงอนุมัติเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 750,000 ล้านยูโรได้ ในความเห็นของเราการอนุมัติเงินก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ถ้าทำได้จริงจะส่งผลดีต่อสกุลเงินยูโรเป็นอย่างมาก แต่ถ้าผลลัพธ์ออกมาเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกราฟ จะชะลอตัวลง
สกุลเงินและถือว่ายังปรับตัวขึ้นได้ดี นิวซีแลนด์ดอลลาร์ยังได้รับประโยชน์จากภาครัฐที่สามารถควบคุมโควิด-19 ได้ดี รายงานจากดัชนี PMI ภาคการผลิตเผยว่ากิจกรรมภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 จาก 39.8 เป็น 56.3 สกุลเงินและไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ตามที่ตลาดคาดหวัง นักลงทุนเป็นกังวลว่าการเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจอีกครั้งของสหราชอาณาจักรจะนำมาซึ่งความเสี่ยงของการแพร่ระบาดรอบที่ 2 ในขณะที่รายงานอัตราภาษีการขายที่เก็บในขั้นตอนของการขายส่งแม้จะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ซึ่งหมายความว่ารายงานตัวเลขยอดขายปลีกในสัปดาห์นี้จะออกมาดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ข่าวที่สำคัญในตลาดลงทุนสัปดาห์นี้นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับรายงานผลการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัวเลขยอดขายปลีกของแคนาดาและดัชนี PMI ของสหราชอาณาจักรและยูโรโซน ส่วนของสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ไม่มีข่าวสำคัญนั่นเท่ากับว่าทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 และข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลทรัมป์เท่านั้น