📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

6 ปัจจัยฉุดราคาน้ำมันท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 10/07/2563 17:56
อัพเดท 09/07/2566 17:31
CL
-
MPC
-
ET
-
GPR
-

คำว่า “ความไม่แน่นอน ความไม่ชัดเจน” ยังคงเป็นธีมหลักที่คลุมตลาดลงทุนทุกรูปแบบเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ฟอเร็กซ์ สินค่าโภคภัณฑ์ ทองคำและน้ำมันดิบ จนถึงตอนนี้มนุษยชาติยังไม่มีใครสามารถตอบได้เต็มปากว่าอุปสงค์จะสามารถฟื้นคืนกลับมาได้เป็นปกติอย่างแท้จริงเมื่อใด แม้ว่าภาคการผลิตจะเริ่มส่งสัญญาณว่าสามารถกลับเข้าสู่สมดุลได้ภายในอนาคตอันใกล้นี้แต่ในหลายๆ ภาคส่วนอย่างเช่นการกลั่น เส้นทางการส่งต่อน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเด็นหลักที่ไม่มีความชัดเจนCrude Oil WTI Futures Daily Chart

6 หัวข้อต่อไปนี้คือสาเหตุว่าทำไมราคาน้ำมันดิบยังไม่ยอมเลือกทางหลังจากที่ขึ้นมายืนเหนือ $40 ได้แล้ว

1. การเติบโตในเชิงของความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกยังถือว่าน่าผิดหวัง

จากรายงานของสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (EIA) คำนวณออกมาว่าในเดือนเมษายนและมิถุนายนปริมาณความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกได้เพิ่มขึ้น 10 ล้านบาร์เรลต่อวันหลังจากที่มาตรการล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจได้รับการผ่อนคลายลง นี่คือสัญญาณที่ดีแต่ก็ยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกที่เดิมเคยมีอยู่ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน 

ตัวเลขจาก EIA นี้คือเหตุผลสนับสนุนสำคัญที่ออกมาหักหน้านักวิเคราะห์หรือทฤษฎีที่เคยบอกว่าปริมาณความต้องการน้ำมันดิบจะสามารถกลับมาได้อย่างรวดเร็วเมื่อรัฐบาลในหลายๆ ประเทศทั่วโลกยกเลิกมาตรการการปิดล็อกเมือง แม้ว่าการล็อกเมืองจะยังปลดล็อกไม่หมดแต่มาตรการหลายๆ ด้านก็ถูกผ่อนคลายลงไปมากแล้ว ความกลัวจะยังเป็นปัจจัยที่ควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภคและการหดตัวทางเศรษฐกิจต่อไป

2. ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในสหรัฐฯ ยังคงตกต่ำ

แม้ว่าความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้น้ำมันดิบมากที่สุดจะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวกลับมาแล้วอย่างช้าๆ หลังจากที่รัฐคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ตอนนี้กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ความต้องการนั้นแผ่วลง นอกจากนี้ข้อมูลจาก GasBuddy เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมซึ่งเป้นวันหยุดสำคัญของสหรัฐอเมริกาเผยว่าตัวเลขการใช้พลังงานเชื้อเพลิงตามฤดูกาลของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 20 ปี

3.บริษัทผู้กลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่

เกี่ยวกับเรื่องบริษัทผู้ผลิตน้ำมันมีรายงานระบุว่านับตั้งแต่ราคาน้ำมันดิบสามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาจนมีราคาอยู่ที่ $40 แล้วแต่บริษัทผู้กลั่นน้ำมันกลับสามารถทำงานได้เพียง 77% จากความสามารถในการดำเนินงานทั้งหมดซึ่งนี่เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาแล้วจากเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วงฤดูร้อนเดียวกันในปีที่แล้วพบว่าการกลั่นน้ำมันในตอนนี้น้อยกว่าปีที่แล้วอย่างมีนัยสำคัญ

โดยปกติแล้วในเดือนกรกฎาคมบริษัทผู้กลั่นน้ำมันส่วนใหญ่จะต้องเร่งความสามารถในการผลิตน้ำมันมากขึ้นเพื่อให้เท่ากับความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของผู้บริโภค เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึงบริษัทผู้กลั่นน้ำมันจะจะลดกำลังการผลิตของตนเองลงชั่วคราวหรือบางแห่งจะปิดส่วนที่กลั่นน้ำมันไปเลยเพื่อซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าปีนี้กระบวนการตามธรรมชาตินั้นจะต้องเปลี่ยนไปเสียแล้ว บริษัทใหญ่ๆ อย่างเช่น Marathon Petroleum (NYSE:MPC) ได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะเปลี่ยนกำหนดการณ์ซ่อมบำรุงของโรงกลั่นที่เซนต์ พอล มิเนสโซต้าซึ่งเป็นโรงกลั่นที่ปกติแล้วสามารถผลิตน้ำมันได้ 120,000 บาร์เรลต่อวันแล้ว ข้อมูลที่น่าตกใจกว่านั้นคือปัจจุบันพวกเขาต้องลดกำลังการผลิตลงตามความต้องการน้ำมันที่ลดลงด้วย

จะผลิตน้ำมันให้ถึงโควตาก็ไม่สามารถทำได้เพื่อปัจจัยเชิงอุปสงค์ไม่เอื้ออำนวย จะไปชดเชยตอนหน้าหนาวก็ทำไม่ได้อีกเพราะถ้าไม่ยอมปิดซ่อมบำรุงแล้วมีโอกาสที่น้ำมันซึ่งผลิตออกมาจะกลายเป็นน้ำมันที่ล้นและส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มขึ้นอีก

4. ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ จะถูกบีบให้ลดลงอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาพบว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบโลกลดลงและประเทศผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องการน้ำมันดิบหลักทั้ง 5 ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 

EIA คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของสาหรัฐฯ จะลดลงไปหาจุดต่ำสุดของเดือนกรกฎาคมที่ 10.907 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตัวเลขนี้จะก่อให้เกิดปัญหากับการส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ไม่สามารถขึ้นถึงเป้าหมายที่คาดการณ์เองไว้ได้ ปัญหาที่จะตามมาคือความสามารถในการกักเก็บน้ำมันของสหรัฐฯ ในตอนนี้ใกล้ถึงจะถึงจุดที่ต้องเป็นกังวลกันแล้วและจะเป็นปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา

5. กำลังการผลิตน้ำมันจากกลุ่ม OPEC ลดลงไปต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1990

อ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจในเดือนมิถุนายนของการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกโดย S&P Platts พบว่าภาพรวมการผลิตน้ำมันทั้งหมดของกลุ่มโอเปกลดลงไป 22.31 ล้านบาร์เรลต่อวันแม้ว่าประเทศผู้ผลิตบางประเทศจะไม่ได้ทำตามโควตาตามที่สัญญากันไว้ ซาอุดิอาระเบียพี่ใหญ่ของกลุ่มโอเปกต้องออกมาช่วยลดกำลังการผลิตแทนประเทศเหล่านั้นด้วยการลดกำลังการผลิตน้ำมันอีก 910,000 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิถุนายน รัสเซียเองก็ลดกำลังการผลิตลงเหลือ 8.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของโอเปกอาจจะเพิ่มขึ้นได้ในเดือนกรกฎาคมเพราะซาอุอาระเบียมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ขึ้นไปถึง 8.49 ล้านบาร์เรลต่อวันตามโควตา แต่ก่อนหน้าที่ซาอุดิอาระเบียจะทำเช่นนั้นเชื่อว่ากลุ่มโอเปก+ จะชิงลงมือก่อนด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรลในเดือนสิงหาคมเพื่อเป็นการชดเชยการลดกำลังการผลิตน้ำมันที่จำเป็นต้องทำตามสัญญาก่อนหน้านี้

ฟังดูเหมือนจะเป็นข่าวดีแต่ความเสี่ยงจากการเพิ่มการผลิตน้ำมันครั้งนี้ของโอเปก+ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มขึ้นด้วยในขณะที่ความต้องการน้ำมันดิบตอนนี้ยังไม่เร็วพอที่จะใช้น้ำมันของอนาคต

6. ผลการตัดสินของศาลที่จะมีผลกับการส่งน้ำมันมาจากนอร์ท ดาร์โกต้า

ผลการตัดสินของศาลแห่งเขตปกครองโคลัมเบียของสหรัฐฯ จะเป็นที่ทราบกันในสัปดาห์นี้ว่าสรุปแล้วบริษัท Energy Transfer (NYSE:ET) ซึ่งเป็นเจ้าของท่อส่งน้ำมันจากดาร์โกต้าจะต้องหยุดการผลิตน้ำมันในวันที่ 5 สิงหาคมนี้หรือไม่ ประเด็นนี้อาจกลายเป็นสาเหตุหลักที่กระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันในบัคเค่นเพราะท่อส่งน้ำมันนี้คือท่อที่ส่งน้ำมันปริมาณ 557,000 บาร์เรลต่อวันมาจากนอร์ท ดาร์โกต้ามายังรัฐอิลลินอยส์

อย่างไรก็ตามใช่ว่าคดีนี้จะสามารถจบลงได้ง่ายๆ เพราะทางบริษัท Energy Transfer เชื่อว่าศาลดังกล่าวไม่มีอำนาจในการมาจำกัดสิทธิ์การผลิตน้ำมันของบริษัท ทางบริษัทมีแผนที่จะยื่นเรื่องให้ขึ้นไปยังศาลสูงสุดหากว่าจำเป็น นอกจากนี้พวกเขายังเตรียมแผนที่จะส่งน้ำมันด้วยรถยนต์แทนหากว่าไม่สามารถใช้ท่อส่งน้ำมันได้แต่ผลกระทบที่ตามมาก็คือการส่งน้ำมันก็จะต้องล่าช้าออกไปอีก

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย