จบไปแล้วกับครึ่งปีแรกที่เราต้องใช้ชีวิตร่วมอยู่กับเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าโควิด-19 ในไตรมาสแรกที่ 1 เราถูกปกคลุมด้วยความกลัวส่วนไตรมาสที่ 2 สิ่งที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆ คือ “การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ, V-Shape, คลายล็อกดาวน์” โดยรวมไตรมาสที่ 2 นักลงทุน ผู้บริโภคและธนาคารกลางคลายความกังวลมากขึ้นและมองสถานการณ์เป็นไปในทางที่ดีขึ้นซึ่งสะท้อนออกมาผ่านตลาดหุ้น ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 15% ตลอดระยะเวลา 3 เดือนล่าสุดในขณะที่ดัชนี NASDAQ ทะยานขึ้น 28% สร้างจุดสูงสุดใหม่ โดยส่วนใหญ่แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกต่างพากันปรับตัวขึ้นในตัวเลข 2 หลักหมดไม่ว่าจะเป็น DAX, Nikkei 1000, S&P 500 และ TSX สกุลเงินหลักๆ อย่างยูโรออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ทำผลงานขาขึ้นได้ค่อนข้างดี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ขึ้นถึงจุดสูงสุดในรอบหลายเดือน ในขณะที่สกุลเงินดอลลาร์อ่อนมูลค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในไตรมาสที่ 2
ถึงเหตุการณ์โควิด-19 ในสหรัฐฯ จะน่ากังวลเพียงใดแต่นักลงทุนก็ยังเลือกที่จะถือสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยต่อไปก่อนที่จะถึงการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันพรุ่งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังจะได้เห็นอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นแต่ที่น่ากังวลคือตัวเลขอัตราการว่างงานยังมีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก แม้ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนจะสามารถดีดกลับมาได้แต่ทุกคนก็รู้ดีว่าบรรยากาศโดยรวมมีแต่ความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดรอบใหม่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากชิคาโกดีขึ้นแต่ยังน้อยกว่าที่คาดการณ์ แถลงการณ์ของประธานเฟดและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังต่อสภาคอนเกรสเมื่อวานนี้ถือว่าทั้งสองท่านค่อนข้างโลกสวยเลยทีเดียว เจอโรม พาวเวลล์กล่าวว่าสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่เฟสฟื้นฟูแล้วเพราะข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีในขณะที่นายสตีฟ มนูชินบอกว่าทำเนียบขาวกำลังทำงานเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันภายในสิ้นเดือนนี้
อย่างไรก็ตามแต่ในไตรมาสที่ 3 ที่กำลังเริ่มต้นขึ้นนี้ดูเหมือนว่าความกลัวและความไม่ชัดเจนจะกลับมาสู่ตลาดลงทุนอีกครั้ง รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพ่ายแพ้สงครามให้กับโรคโควิด-19 เมื่อมีรายงานพบผู้ติดเชื้อในบางรัฐเข้าสู่ขีดอันตรายแล้ว ผู้ว่าการในหลายรัฐเหล่านั้นสั่งให้หยุดแผนการกลับมาเปิดเมืองใหม่ซึ่งผลที่กำลังจะตามมาก็คือเศรษฐกิจอเมริกาจะได้รับผลกระทบอีกครั้ง ความหวังที่จะได้เห็นการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเริ่มกลายเป็นเพียงแสงริบหรี่
ครั้งนี้สหรัฐอเมริกาไม่ใช่ประเทศเดียวที่น่าเป็นห่วงแต่ออสเตรเลียที่ก่อนหน้านี้ทำผลงานควบคุมโควิด-19 ได้ดีมาตลอดกลับมีรายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่จนรัฐบาลต้องสั่งให้ล็อกดาวน์ 10 พื้นที่ในเมลเบิร์นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ นอกจากนี้รัฐบาลยังประกาศว่าหากเจอใครที่ออกจากบ้านหรือมีกิจกรรมอยู่นอกพื้นที่อาคารโดยไม่จำเป็นจะถูกปรับเงิน รัฐอื่นๆ ในออสเตรเลียต่างพากันแบนการเดินทางที่มาจากวิคตอเรีย ผลก็คือสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว ในสหรัฐฯ อาจจะพูดได้ว่ายังไม่สามารถจบการระบาดรอบแรกได้ส่วนประเทศอื่นๆ กำลังหันไปตั้งรับกับการระบาดรอบที่ 2 แล้ว หากรัฐบาลสหรัฐฯ ยังไม่จริงจังกับการควบคุมเชื้อไวรัสอีก ขาขึ้นที่ทำมาในไตรมาสที่ 2 รับรองได้ว่าจะจบสิ้นในไตรมาสที่ 3 อย่างรวดเร็ว
ถึงเหตุการณ์โควิด-19 ในสหรัฐฯ จะน่ากังวลเพียงใดแต่นักลงทุนก็ยังเลือกที่จะถือสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยต่อไปก่อนที่จะถึงการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันพรุ่งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังจะได้เห็นอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นแต่ที่น่ากังวลคือตัวเลขอัตราการว่างงานยังมีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก แม้ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนจะสามารถดีดกลับมาได้แต่ทุกคนก็รู้ดีว่าบรรยากาศโดยรวมมีแต่ความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดรอบใหม่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากชิคาโกดีขึ้นแต่ยังน้อยกว่าที่คาดการณ์ แถลงการณ์ของประธานเฟดและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังต่อสภาคอนเกรสเมื่อวานนี้ถือว่าทั้งสองท่านค่อนข้างโลกสวยเลยทีเดียว เจอโรม พาวเวลล์กล่าวว่าสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่เฟสฟื้นฟูแล้วเพราะข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีในขณะที่นายสตีฟ มนูชินบอกว่าทำเนียบขาวกำลังทำงานเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันภายในสิ้นเดือนนี้
เพราะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริงจะรายงานในวันพรุ่งนี้แล้ว ดังนั้นความสนใจของนักลงทุนวันนี้จะไม่อยู่กับรายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานจาก ADP หรือจาก Challenger เท่าไหร่นักแต่จะไปอยู่กับรายงานการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (FOMC) ในเดือนมิถุนายนมากกว่า
ความต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนยังทำให้สกุลเงินยูโรและปอนด์ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดพบว่าอัตราเงินฟืดของยูโรโซนในเดือนมิถุนายนลดลงอีกหลังจากที่เดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ 0.1% ดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 0.3% ถึงกระนั้นตลาดก็ไม่ได้สนใจข้อมูลเหล่านี้มากนักเมื่อ telegraph มีรายงานว่าดัชนี CPI ของเยอรมันหรือข้อมูลอื่นๆ ที่กล่าวถึงไม่ได้มีผลกระทบต่อนโยบายทางการเงินจาก ECB ที่กำลังจะออกมาในเร็วๆ นี้ ดัชนี CPI ที่ดีขึ้นไม่สามารถทำให้ ECB พิจารณาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ ตัวเลข GDP ฉบับปรับปรุงแล้วของสหราชอาณาจักรลดลงจาก -2% เป็น -2.2% และตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคลก็ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์จาก -1.7% เป็น -2.9%
สกุลเงินแคนาดาดอลลาร์ปรับตัวขึ้นมาจากรายงานตัวเลข GDP แม้ตัวเลขที่ออกมาจะยังหดตัวอยู่เป็นอย่างมากที่ -11.6% แต่ก็ยังไม่มากเท่ากับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ -12% สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ได้รับผลกระทบจากการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไปถือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาสลับกันดีบ้างไม่ดีบ้าง ตัวเลขความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนลดลงในขณะที่ภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศและดัชนี PMI จากจีนเมื่อเดือนที่แล้วดีขึ้น