เหลียวหลัง
เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 30.97 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบกว้างระหว่าง 30.83-31.52 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุด ในรอบกว่า 4 เดือน ท่ามกลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ใน ตลาดโลกและการเร่งตัดขาดทุนหลังเงินบาททะลุแนวต้าน ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2.2 พันล้าน บาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 8.2 พันล้านบาท
กราฟค่าเงินบาท/ดอลลาร์ USD/THB ( กดดูกราฟ)
เงินดอลลาร์ฟื้นตัวเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ยกเว้นเงิน เยน USD/JPY อย่างไรก็ตาม ระหว่างสัปดาห์เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง อย่างรวดเร็วหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงกรอบเป้าหมายดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25% ในขณะที่ค่า กลางการคาดการณ์ของเฟดบ่งชี่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจหด ตัว 6.5% ในปีนี้ ก่อนที่จะเติบโต 5.0% ในปี 64 โดยเฟดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ใกล้ระดับ 0% ต่อไปจนถึงปี 65
แลหน้า
เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.75-31.20 ต่อดอลลาร์ โดยจุดสนใจยังคงอยู่ที่การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนาและผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งปรับฐานลงมาแรงในสัปดาห์ก่อนจากการที่เฟดประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจาก COVID-19 จะใช้เวลายาวนาน และเฟดมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลาง
ส่วนประธานเฟดเปิดช่องไว้สําหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมและอาจใช้มาตรการควบคุม เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) หากมีความจําเป็นรวมถึงเน้ นย้ำว่าในเวลานี้เฟดไม่นึกถึงการพิจารณาเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงให้คํามั่นว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในอัตราปัจจุบันที่ราว 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่อเดือนและเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการคำประกันจาก สัญญาจํานองและหลักทรัพย์ของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในอัตรา 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากนี้นักลงทุนจะให้ ความสนใจกับการประชุมเรื่อง Brexit ระหว่างสหภาพยุโรปกับสหราชอาณาจักร, การแถลง นโยบายของประธานเฟดต่อสภา, การประชุมธนาคารกลาง ญี่ปุ่ น(บีโอเจ) รวมถึงธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)
สําหรับปัจจัยในประเทศ ธปท.ระบุว่าการแข็งค่าของเงินบาท อยู่ในทิศทางเดียวกับเงินสกุลภูมิภาคตามการอ่อนค่าของเงิน ดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนใน ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรในเดือนมิ.ย.แต่ยังไม่มากโดยความไม่แน่นอนของตลาดการเงินอาจส่งผลให้ค่าเงินผันผวน ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสําคัญกับการทํา Hedging อนึ่ง เราคาดว่าในช่วงนี้เงินบาทอาจพักฐานก่อนจะกลับมาแข็งค่าในระยะยาวจากการดําเนินนโยบายของเฟดเป็นหลัก อย่างไรก็ดีความผันผวนอาจเพิ่มสูงขึ้นนเป็นระยะ
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
ห้ามพลาด
“ดอลลาร์อ่อน” คลื่นใต้น้ำที่ต้องระวังกว่าทุกครั้ง
เงินบาทหยุดแข็งค่าเมื่อตลาดกังวลกับการระบาดรอบสอง
ปรับแต่งการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณได้ที่ Investing.com