📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

จีนเดินหน้าทำสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติท่ามกลางความเสี่ยงทางการเงินทั่วโลกสูงขึ้น

เผยแพร่ 12/06/2563 12:08
USD/CNY
-
TCEHY
-
BABA
-
BACHY
-
BTC/USD
-
USDT/USD
-
ETH/USD
-

ในขณะที่โลกกำลังวุ่นวายอยู่กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันได้รับผลกระทบมาจากโควิด-19 แต่ประเทศมหาอำนาจหนึ่งกำลังซุ่มสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่จะมาเขย่าวงการเงินโลก ประเทศจีนกำลังพยายามอย่างหนักในการสร้าง“สกุลเงินหยวนดิจิทัล (DCEP)” เป็นสกุลเงินประจำชาติที่พัฒนาอยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยที่สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาตินี้จะมีธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (PBoC) เป็นผู้ดูแล

อ้างอิงข้อมูลจาก BoxMining รายงานว่าเป้าหมายของการทำสกุลเงินหยวนดิจิทัลนี้เป็นไปเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับสกุลเงินเหรินหมินปี้ (RMB)และดันหยวนให้ขึ้นเป็นสกุลเงินที่ใช้กันในระดับสากลโลกเหมือนดังเช่นที่ทั่วโลกยอมรับและใช้สกุลเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินกลาง ล่าสุดศาลของประเทศจีนพึ่งอนุมัติรองรับให้สกุลเงินดิจิทัลบางสกุลที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างอย่าง บิทคอยน์ อีธีเรียมและเทเธอร์สามารถเข้าสู่ประเทศจีนได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจีนค่อนข้างจะเพ่งเล็งการใช้งานเทเธอร์เป็นหลัก

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมามีรายงานว่าบัญชีธนาคารประมาณ 4,000 บัญชีที่ทางรัฐสืบได้ไว้ผูกติดอยู่กับบัญชีสกุลเงินดิจิทัลถูกสั่งระงับการใช้งานในมณฑลกวางตุ้งเพราะอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมที่ผิดกฏหมายอย่างเช่นการฟอกเงิน จนนำไปสู่ข้อสงสัยที่ว่าทำไมแบงก์ชาติของจีน (OTC:BACHY) จึงยอมแลกความปลอดภัยที่พยายามรักษามาตลอดกับสกุลเงินดิจิทัลจากโลกภายนอกที่รู้อยู่แล้วว่าอาจสร้างความวุ่นวายภายในประเทศได้

จีนเปลี่ยนจุดยืนในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัลแล้วหรือ?

นาย Josh Tate ซีอีโอของ ForumPay ชี้ให้เห็นประเด็นว่าเมื่อปีที่แล้วทางแบงก์ชาติของจีนเอาจริงกับการปราบปรามเหมืองบิทคอยน์มาโดยตลอด แต่เพราะการใกล้จะมาถึงของสกุลเงินหยวนดิจิทัลจึงทำให้มุมมองของประเทศที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัลเริ่มเปลี่ยนไป? ส่วนตัวแล้วนาย Josh ไม่เชื่อว่าการมาถึงของสกุลเงินหยวนดิจิทัลจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อของรัฐบาลที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัลของโลกภายนอกได้ 

“ประเทศจีนได้แบนบิทคอยน์มาตั้งแต่ปี 2013 ไล่ปิด exchange คริปโตในปี 2014 และไม่อนุญาตให้มีการทำ ICO ทุกรูปแบบในปี 2017 แต่ในช่วงเวลาหลายปีนั้นจีนกลับลงทุนอย่างหนักที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสกุลเงินหยวนดิจิทัลขึ้นมาให้ได้ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการไล่แบนสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เป็นไปเพื่อหลีกทางให้สกุลเงินหยวนดิจิทัลและการใช้งานสกุลเงินหยวนดิจิทัลคือการเพิ่มเครื่องมือในการติดตามการทำธุรกรรมของประชาชนในประเทศตัวเองรูปแบบหนึ่ง”

นาย Amit Ghosh หัวหน้าทีมนักพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน R3 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมองว่าจีนมีกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป เขาคิดว่าสาเหตุที่จีนต้องกีดกันสกุลเงินดิจิทัลต่างชาติออกไปก่อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสกุลเงินหยวนดิจิทัล ประเทศจีนต้องการให้ประชาชนของตนเลือกใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัลก่อนที่จะเลือกใช้สกุลเงินอื่น แม้ว่าในระดับโลกสกุลเงินหยวนดิจิทัลจะถูกมองว่ามีโอกาสโดนแทรกแซงได้จากรัฐบาลจีนแต่อย่างน้อยตราบเท่าที่ประชาชนในประเทศยังเลือกใช้งานหยวนดิจิทัลก่อนปัญหาข้างนอกยังสามารถแก้ไขในภายหลังได้

อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้คนมักจะพูดถึงกันคือการท้าชิงตำแหน่งราชาสกุลเงินซึ่งมีดอลลาร์สหรัฐนั่งอยู่บนบัลลังก์มาโดยตลอด ในปี 2018 จีนได้เดินเกมกับการใช้งานสกุลเงินหยวนแล้วด้วยการเปิดตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่จำเป็นต้องใช้สกุลเงินหยวนในการซื้อเท่านั้น

การเข้ามาแทรกแซงระบบชำระเงินแบบเดิมๆ

หลายคนเชื่อว่าสกุลเงินดิจิทัลของจีนคือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนเกมการเงินในตลาดด้วยการแทรกแซงรูปแบบการชำระเงินแบบเก่าในขณะเดียวก็จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย นาย Kenneth Bok หัวหน้าแผนกพัฒนากลยุทธ์และการเติบโตของบริษัท Zilliqa กล่าวว่าความน่าสนใจของสกุลเงินหยวนดิจิทัลที่ทุกคนกำลังจับตามองคือการทำลายกำแพงระหว่างแพลตฟอร์ม ในตอนนี้จีนมี 2 บริษัทยักษ์ที่มีผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทัลอยู่บนแพลตฟอร์มพวกเขาเองอย่าง Alipay (NYSE:BABA) ของบริษัทอาลีบาบาและ WeChat Pay (OTC:TCEHY) ของบริษัทเท็นเซนต์

 Bok บอกว่าทุกวันนี้ 96% ของประชาชนจีนใช้เหรียญดิจิทัลของสองแพลตฟอร์มนี้แล้วลองคิดว่าถ้าหยวนดิจิทัลเข้ามา ทลายกำแพงระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่นี้ลง หยวนดิจิทัลจะกลายเป็นสกุลเงินที่มีการใช้งานมากที่สุดในประเทศจีนภายในเวลาไม่นานโดยมีแบงก์ชาติเป็นผู้ดูแล 

“รูปแบบการบริหารประเทศของจีนเอื้อต่อการเกิดขึ้นของสกุลเงินหยวนดิจิทัลเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับหยวนดิจิทัลจะมีนัยสำคัญในแง่ของผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน การลดต้นทุนการผลิตเงิน และการวางนโยบายทางการเงินแบบใหม่ที่สามารถมีผลได้ทันที ไม่ต้องมีปัญหาเงินนอก เงินมืด อีกต่อไป”

นาย Lennard Neo หัวหน้าทีมนักวิจัยของ Stack Funds ประจำภูมิภาคเอเชียเชื่อว่าไม่มีเวลาไหนเหมาะสมที่จะเปิดตัวสกุลเงินหยวนดิจิทัลไปมากกว่าในเวลานี้อีกแล้ว เพราะในขณะที่จีนกับสหรัฐฯ ยังคงตั้งแง่กันในเรื่องของสงครามการค้าและวิกฤตโควิด-19 จนตอนนี้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ต้องลงมาเกือบแตะ 0% การเริ่มใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัลในตอนนี้จะยิ่งทำให้ฝัน “เส้นทางสายไหม” ของจีนและการรวมฮ่องกงเกิดได้เร็วขึ้น

“สกุลเงินหยวนดิจิทัลอยู่ในจุดสนใจของประชาคมโลกมาอย่างยาวนาน ข้อดีอย่างหนึ่งที่สามารถเห็นได้แน่นอนจากการใช้สกุลเงินดิจิทัลคือเราจะได้เห็นความโปร่งใสและที่มาที่ไปของเงินได้ง่ายขึ้น ถึงกระนั้นผลกระทบที่แท้จริงจากการใช้สกุลเงินดิจิทัลกับคนทั้งประเทศก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปโดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นส่วนตัวที่ต้องแลกมากับความสะดวกสบาย”

พอพูดถึงข้อดีของสกุลเงินหยวนดิจิทัลนาย Tate แห่ง ForumPay ก็ขอเสริมในประเด็นนี้ว่า

“การเปิดตัวสกุลเงินหยวนดิจิทัลอาจจะทำให้ชาติตะวันตกได้ตื่นตัว ได้เห็นข้อดี ได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ และเปิดโอกาสให้ฝั่งตะวันตกหันมาจริงจังกับการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเอง มันจะน่าตื่นเต้นขนาดไหนที่เราจะได้อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเงินดิจิทัล 100% อย่างแท้จริง”

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาให้ถี่ถ้วนสำหรับรัฐบาลจีนที่ต้องการเปิดใช้งานสกุลเงินดิจิทัลก็คือความสามารถในการแข่งขัน หากเปิดตัวแล้วรัฐบาลจีนจะต้องทำให้สกุลเงินดิจิทัลหยวนของตัวเองสามารถแข่งขันกับบริษัทใหญ่ๆ อย่างอาลีบาบาหรือเท็นเซนต์ให้ได้ นี่ยังไม่นับผู้เล่นอื่นที่จะเกิดขึ้นอีกในโลกของ e-commerce พร้อมด้วยสกุลเงินดิจิทัลของพวกเขา นอกจากนี้จีนไม่ใช่ประเทศเดียวที่จริงจังกับการทำสกุลเงินดิจิทัลแต่ยังมีประเทศอื่นๆ เช่นสวีเดนที่ธนาคาร Riksbank กำลังพัฒนาและทดสอบสกุลเงิน e-krona อยู่

ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ว่าทำไมจีนถึงจริงจังกับการพัฒนาสกุลเงินหยวนดิจิทัลขนาดนี้ มีรายงานจาก Foreign Affairs เผยว่าการเกิดขึ้นของสกุลเงินหยวนดิจิทัลสามารถทำให้เส้นทางสายไหมสำเร็จได้ง่ายขึ้นด้วยความร่วมมือกับประเทศที่อยู่ในตะวันออกกลางที่เป็นศัตรู ถูกคว่ำบาตร ไม่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาได้หันมาใช้สกุลเงินหยวนที่มีความแข็งแกร่งทัดเทียมพอที่จะสู้กับสกุลเงินดอลลาร์ได้ เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานว่าประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางบางประเทศได้ย้ายการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในชาติของตนมาค้าขายในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายน้ำมันที่สามารถหลบการตรวจสอบของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ได้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย