ถือเป็นภาพที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ ที่กลุ่มโอเปก+ สามารถรวมใจกันลดกำลังการผลิตน้ำมันมาเป็นเวลาเกือบ 7 สัปดาห์แล้ว ตอนนี้โอเปก+ มีกำหนดการที่จะต้องประชุมในวันที่ 9 และ 10 มิถุนายน
เมื่อวันที่ 12 เมษายนสมาชิกกลุ่มโอเปก+ ตกลงที่จะยอมลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็นซาอุดิอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไนจีเรีย คาซัคสถานและรัสเซียต่างช่วยกันลดกำลังการผลิตฯ (อีรักไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่ต้องลด 4 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ พวกเขาสามารถลดกำลังการผลิตได้เพียง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
นอกจากกลุ่มโอเปกและโอเปก+แล้ว อีกหนึ่งประเทศที่เป็นกลไกสำคัญในการลดกำลังการผลิตคือสหรัฐอเมริกา ในขณะนี้สหรัฐฯ ได้ลดกำลังการผลิตฯ ลง 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจากตัวเลขสูงสุดที่เคยทำได้ 13.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคม
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันยังคงถือว่าอยู่ในแนวโน้มขาลงหลังจากการประชุมของกลุ่มโอเปกครั้งล่าสุด ขาขึ้นที่นักลงทุนในตลาดกำลังรู้สึกยินดีคือขาขึ้นที่ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดและยังไม่ใช่จุดที่ผู้ประกอบการในวงการน้ำมันรู้สึกพอใจ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีราคาสูงขึ้นกว่ามาตรฐานปกติเพียง $4 ต่อบบาร์เรลเท่านั้น ถ้าการประชุมที่ผ่านมาเป็นไปเพื่อให้น้ำมันดิบกลับขึ้นสู่ที่เดิมถือว่าตอนนี้ผลการประชุมไม่ประสบความสำเร็จ ความสำเร็จของข้อตกลงในเดือนเมษายนเป็นไปเพื่อดึงราคาน้ำมันดิบขึ้นมาจากหายนะในเดือนมีนาคมเท่านั้น
ในวันที่ 10 มิถุนายนนี้กลุ่มโอเปก+ จะประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อติดตามผลลัพธ์หลังการลดกำลังการผลิตจำนวน 9.7 ล้านบาร์เรล (ส่วนการประชุมของกลุ่มโอเปกจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เช่นกัน) เป็นไปได้ว่าผลการประชุมในวันที่ 10 มิถุนายนอาจจะมีนโยบายใหม่เข้ามาเพิ่มเติมหรือแทนที่ข้อตกลงการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนและจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฏาคมหากทางกลุ่มเห็นตรงกันว่า “ถึงเวลาต้องมีมาตรการอื่นมารองรับเพิ่มเติม”
ดังนั้นคำถามที่นักลงทุนสนใจก็คือกลุ่มโอเปก+ จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันหรือจะยังดำเนินการตามแผนขยายระยะเวลาการลดกำลังผลิตน้ำมันแต่ยังคงปริมาณการลดกำลังการผลิตไว้เท่าเดิมหรือจะลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมอีก? (อย่าลืมว่าซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และคูเวตตกลงจะช่วยกันลดการผลิตน้ำมันรวมกัน 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันเพิ่มพิเศษในเดือนหน้า แต่ก็ยังต้องจับตาดูกันอีกทีว่าจะลดกำลังการผลิตฯ กันจริงๆ เท่าไหร่)
ตอนนี้เหลือเวลาก่อนที่จะถึงการประชุมอีกเพียง 2 สัปดาห์แต่ดูเหมือนบรรยากาศก่อนการประชุมเหมือนกับการการประชุมแห่งหายนะในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (ตอนที่รัสเซียกับซาอุดิอาระเบียไม่ลงรอยกับเรื่องข้อตกลงการลดกำลังการผลิตน้ำมันจนนำไปสู่การทำสงครามราคาน้ำมันที่ราคาน้ำมันดิบโลกร่วงลงมากถึง 30% และยังส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน)
สัปดาห์นี้มีข่าวว่ารัสเซียส่งสัญญาณมาว่ามีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันโดยจะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคมแต่บลูมเบิร์กก็รายงานว่าซาอุดิอาระเบียไม่เห็นด้วยที่จะรีบเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันกันในช่วงนี้ ซาอุดิอาระเบียต้องการให้ยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิตฯ ออกไปมากกว่านี้ด้วยซ้ำ
ลึกๆ แล้วจะเห็นได้เลยว่ารัสเซียและซาอุดิอาระเบียมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการลดการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอยู่ตลอดซึ่งไม่ใช่ข่าวดีต่อราคาน้ำมันดิบ เบรนท์ยังคงอยู่ห่างจากจุดสูงสุดเดิมที่เคยทำใว้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม $10 ซึ่งการประชุมของกลุ่มโอเปก+ อาจจะสามารถทำให้เบรนท์กลับขึ้นสู่จุดสูงสุดนั้นได้
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้ซาอุดิอาระเบียจะไม่ทำพลาดซ้ำเดิมเป็นครั้งที่ 2 อันที่จริงแล้วการประชุมของกลุ่มโอเปกในวันนี้นซาอุดิอาระเบียรู้ดีว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัสเซียจะไม่ยอมลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1.5 ล้านบาร์เรล แต่ซาอุดิอาระเบียก็ยังฝืนทำเพื่อแสดงให้สมาชิกกลุ่มเห็นว่าใครคือผู้นำของกลุ่มโอเปกที่แท้จริง
ครั้งนี้ซาอุดิอาระเบียไม่ใช่ฝ่ายที่เริ่มหงายไพ่ในมือก่อน หลังจากมีข่าวออกมาว่ารัสเซียต้องการเพิ่มกำลังการผลิตฯ มงกุฏราชกุมารเจ้าชาบโมฮัมเมด บิน ซัลมานก็ต่อสายตรงถึงผู้นำรัสเซียทันที ครั้งนี้รัสเซียเป็นฝ่ายออกมาบอกเองว่าทั้งสองประเทศยังเห็นตรงกันที่ต้องลดกำลังการผลิตฯ ต่อไปและยังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
แต่อย่าพึ่งดีใจไปเพราะข่าวนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ารัสเซียและซาอุดิอาระเบียมีความเข้าใจเหมือนกันในเรื่องของการลดกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ครัี้งนี้ซาอุดิอาระเบียให้ความสำคัญกับรัสเซียมากกว่าทุกครั้งในการทำงานร่วมกันกับกลุ่มโอเปก+ มากกว่าสมัยเดือนมีนาคม ตอนนั้นซาอุดิอาระเบียเล่นเกมเสี่ยงมากเกินไปแต่ในครั้งนี้ซาอุดิอาระเบียไม่พร้อมจะเสี่ยงลองเชิงกับรัสเซียเป็นครั้งที่ 2 หรือถ้าจะให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือซาอุดิอาระเบียในตอนนี้ลดความแข็งกร้าวของตัวเองลงมามากและพร้อมทำทุกอย่างเพื่อรีบปล่อยน้ำมันดิบที่มีอยู่ในมือออกไปในเร็วที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายน้ำมันให้กับฝั่งเอเชีย ตราบเท่าที่กลุ่มโอเปก+ ยังอยู่ด้วยกัน ตราบนั้นตลาดลงทุนก็จะยังไม่วุ่นวายและมาจับตามองซาอุดิอาระเบียมากเกินไปนัก
ดูกราฟราคาน้ำมัน WTI
https://th.investing.com/commodities/crude-oil
ดูกราฟราคาน้ำมัน Brent
https://th.investing.com/commodities/brent-oil