BANK: A buy on fact candidate
- MPC:ผลการประชุมกนง.เมื่อวานนี้ที่มีการให้ลดดอกเบี้ยลงเหลือ 0.50% มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
- ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการมีมติปรับลดดอกเบี้ยก็คือ 2 สิ่งที่เราพูดมาก่อนหน้านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม และอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนแรงมากกว่าคาด
- กนง.ตระหนักถึงการว่างงานในประเทศที่สูงขึ้น
- กนง.ตระหนักถึงสถานการณ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่อาจได้รับผลกระทบจากการลงทุนในตราสารหนี้
- เริ่มเห็นการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่
- เริ่มเป็นกังวลเล็กๆกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้
- ใน Statement มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในส่วนของแนวโน้มนโยบายการเงินในอนาคต จาก “คณะกรรมการพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายเพิ่มเติมทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการการเงินอื่น” เป็น “คณะกรรมการพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น”
- มุมมองของเรา: การปรับลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ประกอบกับถ้อยคำใน Statement ที่ออกมา ทำให้เราเชื่อได้ว่าธปท.คงจะมีการปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลงอีกจากเดิมที่ -5.3% และน่าจะมีการปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ลงจากเดิมที่ -1.0% ด้วยเช่นกันแต่ในมิติของแนวนโยบายการเงินนั้น จากถ้อยคำใน Statement ที่มีการตัดคำว่าเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไป (ข้อ 6 ด้านบน) จึงอาจเป็นสัญญาณได้ว่ากนง.เตรียมเข้าสู่โหมด Wait & See และคงดอกเบี้ยไปก่อนในระยะสั้น ทั้งนี้ การประชุมกนง.ครั้งถัดไปจะตรงกับวันที่ 24 มิ.ย.นี้
- BBL:หลังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เราได้เห็น BBLออกมาประกาศปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง 3 ประเภททันทีราว 0.225% - 0.35% และคาดว่าธนาคารอื่นๆโดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่จะทยอยประกาศลดดอกเบี้ยตามมาเช่นกันมองปัจจัยดังกล่าวเป็น Sentiment เชิงลบต่อกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ในระยะสั้น แต่หากราคามีการย่อตัวลงมา มองเป็นโอกาสที่ดีในการ “ซื้อสะสม” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง BBL ที่เรายังคงให้ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 158 บาทเนื่องจาก
- ถึงแม้ NIM ของแบงก์จะลดลงซึ่งจะกระทบต่อกำไรราว 3% (ต่อดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง 0.25%) แต่ประมาณการของเราก่อนหน้านี้ ได้รวมผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.50% อยู่แล้วทำให้การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่กระทบต่อประมาณการกำไรของเรา
- ในทางกลับกัน จากถ้อยคำใน Statement ในหัวข้อแนวนโยบายการเงินที่อาจบ่งชี้ว่ากนง.เตรียมเข้าสู่โหมด Wait & See ในระยะสั้น หากเกิดขึ้นจริง น่าจะทำให้แรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มแบงก์ในช่วงถัดไปลดลงได้
-
คาดว่าการปล่อยสินเชื่อจะได้รับแรงบวกจากปัญหาการระดมทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นกู้ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจหันมาใช้สินเชื่อธนาคารมากขึ้น สอดคล้องกับมุมมองของกนง.ที่ให้ไว้ใน Statement
อย่างไรก็ดี เราเข้าใจว่าสิ่งที่นักลงทุนเป็นกังวลหลักกับกลุ่มแบงก์ในช่วงนี้ก็คือความเสี่ยงของ NPL ที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งก็เป็นที่มาของเราในการเลือกหุ้น
(BK:) เป็น Top pick ของกลุ่มด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันธนาคารมี NPL Coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มอยู่แล้วที่ 200% จึงมีความเสี่ยงของการตั้งสำรองเพิ่มน้อยที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
|
|
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities
ไม่อยากพลาดบทความดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ