สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในช่วงค่ำของวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคมตามเวลาประเทศไทย นักวิเคราะห์บางคนมองว่าสาเหตุที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นได้เป็นเพราะการให้สัมภาษณ์กับสื่อ Fox News ของประธานาธิบดิโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงหัวค่ำช่วยหนุนให้ปรับตัวขึ้นไปอีกซึ่งเขาพูดว่า “เป็นช่วงเวลาที่ดีจริงๆ ที่เรากำลังมีสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่ง” อย่างไรก็ตามความจริงก็คือว่าการให้สัมภาษณ์ของทรัมป์ไม่ได้ส่งผลอะไรกับการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์เลยแม้แต่น้อย
อันที่จริงแล้วตอนนี้นักลงทุนในตลาดยังคงโซซัดโซเซมาจากคำพูดของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ที่มีต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาติดลบซึ่งประธานเฟดได้กล่าวชัดเจนเลยว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำกว่า 0% แน่นอนและไม่แม้แต่จะมีโอกาสเลยด้วยซ้ำเพราะผลกระทบจากการปรับอัตราดอกเบี้ยลงไปจนติบลบไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์ได้และยังมีมาตรการอื่นที่ดีกว่านี้ในการดำเนินการ เมื่อเฟดยืนยันเช่นนั้นนักลงทุนจึงกลับมาเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์และส่งดัชนีให้ลงไปอีก 200 จุด หากบวกเพิ่มจากตัวเลขเมื่อวันพุธอีก 500 จุดก็เท่ากับว่าดาวโจนส์ลงมาแล้วมากกว่า 700 จุด ก่อนจะสามารถวิ่งกลับขึ้นมาได้ 300 กว่าจุดในช่วงเช้าของวันนี้
ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ - จีนยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดทางทำเนียบขาวได้เริ่มเข้าไปตรวจสอบกองทุนการลงทุนในบริษัทสัญชาติจีนซึ่งรวมไปถึงขอดูบัญชีการค้าของบริษัทเหล่านั้นด้วย ทางจีนก็มีมาตรการออกมาตอบโต้เช่นกันโดยพวกเขาอาจไม่อนุญาตให้มีการลงทุนในกองทุนบำนาญของสหรัฐฯ การตอบโต้ไปมาเช่นนี้ไม่ใช่ข่าวดีทั้งกับสหรัฐฯ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก บรรยากาศความตึงเครียดเช่นนี้มีแต่จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ยิ่งกว่านั้นตลาดยังโดนซ้ำจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่มีตัวเลขสูงกว่าคาดการณ์ ซ้ำร้ายไปกว่าเดิมในวันนี้สหรัฐฯ จะมีรายงานตัวเลขยอดขายปลีกของเดือนเมษายนที่เชื่อว่าจะออกมาลดลงซึ่งจะนำไปสู่การหดตัวของความต้องการในผู้บริโภค ปิดท้ายด้วยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกนที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะออกมาลดลงเช่นกัน ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนแต่จะทำให้ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงก่อนที่อเมริกาจะกลับมาเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจบางส่วนได้อีกครั้ง
อ้างอิงจากคำแถลงการของผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษ (BoE) นายแอนดรูว์ ไบลีย์ เราเชื่อว่า BoE ก็เป็นอีกธนาคารหนึ่งที่ไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยจนติดลบ แต่เชื่อว่าทาง BoE จะใช้วิธีอื่นมาผ่อนคลายนโยบายทางการเงินแทนเช่นการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ฺ นักลงทุนที่เทรดคู่สกุลเงินปอนด์เทียบดอลลาร์มีความเชื่อมั่นในมาตรการของแบงก์ชาติว่าสามารถรับมือได้และพวกเขาใจเย็นพอที่จะรอดูการฟื้นตัวของสกุลเงินปอนด์ ยิ่งไปกว่านั้นนักลงทุนกลัวว่าหาก BoE เลือกวิธีลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจนติดลบจะกลายเป็นสร้างปัญหาให้กับแบงก์ชาติมากกว่านี้
สกุลเงินปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเพราะ BoE มองภาพรวมทางเศรษฐกิจเป็นลบ กราฟ ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 1.08 เพราะข้อมูลทางเศรษฐกิจในฝั่งยุโรปออกมาสับสนวุ่นวายกันไปหมด อัตราการว่างงานในฝรั่งเศสดีขึ้นแต่รายงานตัวเลขจำนวนที่เก็บภาษี ณ ที่ขนส่งของเยอรมันในเดือนเมษายนปรับตัวลดลง รายงานตัวเลข GDP ที่จะออกในวันนี้คาดว่าจะหดตัวอย่างรวดเร็ว
ตำแหน่งสกุลเงินที่อ่อนมูลค่ามากที่สุดตกเป็นของ เฉพาะตัวเลขในเดือนเมษายนพบว่ามีคนตกงานประมาณ 594,000 คนซึ่งถือเป็นตัวเลขที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย 220,000 คนเป็นพนักงานเต็มเวลาส่วนอีกที่เหลือเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 6.2% ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 8.2% แม้อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคจะลดลงแต่จริงๆ แล้วสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์โดยทำร้ายจากผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ -จีน ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ประกาศออกมาในช่วงเช้าของวันนี้ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์อย่างมีนัยสำคัญ
เชื่อว่าสกุลเงินจะอ่อนมูลค่าลงจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของแบงก์ชาตินิวซีแลนด์ แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอีก $5,000 ล้านเหรียญก็ช่วยแบ่งเบาภาระของ RBNZ ลงไปได้เยอะ อย่างไรก็ตามรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของเดือนมีนาคมและเมษายนที่ออกมาในช่วงเช้าของวันนี้มีตัวเลขที่ลดลงอย่างมากเพราะเป็นผลกระทบมาจากการปิดล็อกเมือง ประเทศแคนาดาไม่มีข่าวสำคัญใดๆ ในวันนี้แต่การปรับตัวขึ้นของราคาก็ช่วยหนุนขาขึ้นของกราฟ ให้มีสถิติขาขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน