ยิ่งเข้าใกล้วันศุกร์ที่จะประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) มากขึ้นเท่าไหร่ นักลงทุนก็ยิ่งมีความเป็นกังวลมากขึ้นเท่านั้น เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบหลังจากที่วิ่งขึ้นมามากกว่า 100 จุด กราฟ ปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันแต่เพราะการที่นักลงทุนมองว่าสกุลเงินยังมีความเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัยจึงทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ คือสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะตลาดคาดการณ์ว่าการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่จะเกิดขึ้นในวันนี้จะได้ผลลัพธ์ออกมาที่ทำให้มูลค่าของค่าเงินปอนด์ลดลง ส่วนคือสกุลเงินที่ยังคงฟื้นตัวได้ดีจากข่าวตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก ADP (NASDAQ:) เมื่อคืนนี้พบว่าหลายบริษัทในสหรัฐฯ ตัดสินใจปลดพนักงานรวมแล้วมากกว่า 20 ล้านคนในเดือนเมษายน ดังนั้นตัวเลข NFP ในวันพรุ่งนี้จึงถูกประเมินเอาไว้ที่การถูกเลิกจ้าง 21 ล้านคนซึ่งในความเป็นจริงแล้วตัวเลขที่จะออกมาอาจจะแย่กว่านั้นเพราะรายงานนี้ไม่ได้รวมถึงข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เป็นข้าราชการ ตัวเลข NFP ต่อจากนี้อาจจะได้เห็นจำนวนคนตกงานที่เพิ่มมากขึ้น เป็นไปได้ว่ากราฟ USD/JPY อาจปรับตัวลดลงไปยัง 106 ก่อนหน้าที่ NFP จะออกมาซึ่งทุกคนคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าจะได้เห็นตัวเลขคนตกงานที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่น่าจับตามองคือแต่ละสกุลเงินจะมีปฏิกริยาอย่างไรต่อข่าวนี้
ทางธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) และทำเนียบขาวได้ออกมาเตือนนักลงทุนแล้วว่าอัตราการว่างงานอาจเพิ่มขึ้นจนมีตัวเลข 10% แต่การที่กราฟดัชนียังคงวิ่งอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบสองเดือนแสดงให้เห็นว่าตลาดไม่ได้สนใจคำเตือนเหล่านั้นและยังคงอยู่กับความหวังที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้โดยเร็ว จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้คาดว่าจะมีตัวเลขเกิน 3.8 ล้านคนซึ่งจะทำให้กราฟ USD/JPY ปรับตัวลดลง
แม้ว่าตลาดจะใจจดใจจ่ออยู่กับรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ เย็นนี้แต่เราก็ต้องไม่ลืมที่จะจับตาดูผลการประชุมของเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและรายงานอัตราเงินเฟ้อประจำไตรมาสของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในช่วงบ่ายวันนี้ก่อน หลังจากที่ BoE ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงมาถึงสองครั้งเพื่อสู้กับภัยโควิด-19 และยังมีแผนที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลอีกจึงทำให้เราเชื่อว่าครั้งนี้ BoE จะไม่มีการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและไม่มีแผนใหม่ๆ สำหรับ QE หมายความว่าเราจะต้องเปลี่ยนความสนใจไปเป็นรายงานอัตราเงินเฟ้อประจำไตรมาสแทน
นักวิเคราะห์คาดว่าแบงก์ชาติอังกฤษจะออกมาพูดถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจแทนที่จะพูดถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคต เราอาจจะได้เห็นฉากทัศน์หลายแบบที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโตและอัตราเงินเฟ้อซึ่งจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดขึ้นจากการปิดล็อคเมือง นี่คือกลยุทธ์ที่ทาง ECB ใช้ซึ่งก่อนหน้านี้ ECB ก็ได้ออกมาบอกแล้วว่าเศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวประมาณ 5%-12% ในปี 2020 ทิศทางของสกุลเงินปอนด์ต่อจากนี้จะเป็นเช่นไรจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ว่าการธนาคารนายแอนดริวด์ ไบลีย์จะมีแผนผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ทางรัฐบาลกลางกำลังเตรียมรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการให้ผู้คนทำงานอยู่กับบ้านเพิ่มเติมในวันจันทร์หน้าให้ประชาชนฟังซึ่งจะกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างแน่นอนเพราะตอนนี้ยอดผู้เสียชีวิตในสหราชอาณาจักรแซงหน้าอิตาลีไปแล้ว
สกุลเงินที่อ้างอิงมูลค่าจากสินค้าโภคภัณฑ์ก็มีความคืบหน้าเช่นกันเมื่อดัชนี PMI ภาคการบริการของออสเตรเลียจะมีรายงานออกมาพร้อมกับตัวเลขดัชนี PMI จาก IVEY ของแคนาดาและรายงานตัวเลขดุลบัญชีการค้าจากจีน ข้อมูลจากจีนไม่น่าจะส่งผลกระทบให้ตลาดมีความเคลื่อนไหวสูงได้แต่ตัวเลขข้อมูลทั้งสองของออสเตรเลียกับแคนาดาอาจออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ สกุลเงินลงแรงกว่าเพราะมูลค่าของ CAD ผูกติดไว้กับราคาที่พอจะปรับตัวกลับขึ้นมาได้บ้าง แม้ข้อมูลในภาคส่วนอื่นๆ จะช่วยหนุนสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์แต่ก็ไม่ใช่กับภาคการบริการที่คาดว่าจะหดตัว ร่วงลงหนักกว่าออสเตรเลียดอลลาร์แม้ว่าข้อมูลตัวเลขในภาคแรงงานจะออกมาไม่เลวร้ายเท่าไหร่ รายงานจำนวนการจ้างงานในไตรมาสแรกดีขึ้นสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์แม้ว่าตัวเลขอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย