Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

กลไกลการซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ ทำไมไทยต้องอ้างอิงราคาน้ำมันที่นั่น?

เผยแพร่ 20/04/2563 14:22
CL
-
WTI
-
BNO
-

วันนี้เราจะมาเจาะลึกตลาดน้ำมันในสิงคโปร์กันบ้างนะครับ หลายท่านคงจะทราบอยู่แล้วว่าราคาน้ำมันในไทยนั้นอ้างอิงมาจากตลาดสิงคโปร์

แต่วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดกันว่า #กลไกการซื้อขายน้ำมันในสิงค์โปร์นั้นมันต่างกับทางตะวันตก อย่าง W&T Offshore Inc (NYSE:WTI) และ BRENT (NYSE:BNO) อย่างไร ? เขามีวิธีกำหนดราคากันอย่างไร ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาที่ประกาศออกมาเป็นราคาที่เหมาะสมไหม ? หรือว่าบางทีมันอาจจะแพงเกินจริงไปได้ไหม ???

วันนี้จึงอยาก #อธิบายให้ทราบกันจนกระจ่างเลยครับ ท่านใดเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ฝากกด Like ให้แอดมิน กด Share ให้เพื่อนๆได้ทราบด้วย หรือ Comment เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้เลยนะครับ

ทำไมราคาน้ำมันในไทยนั้นต้องอ้างอิงมาจากสิงคโปร์ ?

คำถามนี้จริงๆทุกท่านสามารถหาคำตอบได้ทั่วไปจากอินเตอร์เน็ตเลยนะครับ เพราะมีคนเขียนอธิบายไว้เยอะมากแล้ว แต่เราจะลองมาตอบคำถามแบบง่ายๆไม่วิชาการกันดูละกันครับ เหตุผลมีอยู่ว่า

1️⃣ ราคาที่เรากำลังอ้างอิงในสิงคโปร์นั้น #ไม่ใช่ราคาน้ำมันในปั๊มของสิงคโปร์นะครับ อย่าเข้าใจผิดไปเชียว

ราคาน้ำมันที่เรากำลังอ้างอิงนั้นคือตลาดซื้อขายกลางในสิงคโปร์ เป็นจุดที่เรือน้ำมันจากทุกประเทศในภูมิภาคในเอเชียวิ่งเข้ามาบรรจบกันเพื่อทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายน้ำมันในแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปอย่างเบนซินและดีเซล หากใครมีน้ำมันเกินก็นำมาขายได้ที่สิงคโปร์นี้ ใครขาดน้ำมันอะไรก็มารับซื้อจากตลาดสิงคโปร์นี้ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นตลาดราคากลางของเอเชียที่มีความน่าเชื่อถือสูงเพราะมีผู้เล่นจากทั่วทุกมุมของเอเชียนำของเข้ามาซื้อขายกันตลอดเวลา (เดี๋ยวเราจะมาเจาะรายละเอียดตรงนี้กัน)

2️⃣ เพราะว่า #ไทยเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างชาติอยู่ เป็นส่วนใหญ่ - เรายังไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เองในปริมาณที่มากพอจึงต้องพึ่งการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่มากกว่า 80%

3️⃣ เนื่องจากว่าเราขาดน้ำมันดิบเราก็เลยต้องไปนำเข้าจากตลาดต่างประเทศมาและ #ตลาดที่ใหญ่และใกล้เคียงที่สุดก็คือสิงค์โปร์ - เช่นเดียวกับประเทศอื่นในเอเชียที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) จากตลาดสิงค์โปร์ยังเป็นต้นทุนหลักในของโรงกลั่นในภูมิภาคและในบ้านเราอยู่ แม้ว่าในช่วงหลังๆนี้เราจะพยายามเปลี่ยนการนำเข้าจากมาจากภูมิภาคอื่นเข้ามามากขึ้นตามระดับราคาโลกที่เปลี่ยงแปลงไป แต่น้ำมันดิบดูไบยังเป็นต้นทุนเกินอยู่กว่า 50%

4️⃣ ถ้าเราจะไม่ทำการกลั่นน้ำมันดิบกันในประเทศเอง - หากเราจะ #สมมุติว่าเราไม่มีโรงกลั่น และต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินและดีเซลจากต่างชาติมาเติมใส่ปั๊มในประเทศเราให้ได้ใช้กัน ตลาดสิงค์โปร์ก็คือต้นทุนราคาที่เราต้องนำเข้ามาอยู่ดีและนั้นก็จะเป็นต้นทุนของปั๊มเรา ทำให้ราคาก็จะไม่ต่างอะไรมากกับราคาที่โรงกลั่นเราขายอยู่ดี จริงๆแล้วราคาของโรงกลั่นเรายังถูกกว่าด้วยซ้ำเพราะการนำเข้าน้ำมันดิบนั้นถูกกว่าน้ำมันสำเร็จรูปหลายเท่า เพราะสามารถขนถ่ายได้ในปริมาณมากและไม่ต้องไปเสียค่าจ้างจากการกลั่นให้ประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นราคาขายในประเทศที่อิงกับตลาดสิงค์โปร์นี้จึงเป็นราคากลางที่เหมาะสม

5️⃣ สิงค์โปร์ก็เป็นเมืองท่าประตูทางผ่านจากจะวันออกกลางสู่เอเชียที่เป็นหลักที่สุด #จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญนี้ ทำให้เขาสามารถตั้งตัวขึ้นมาเป็นจุดซื้อขายน้ำมันหลักๆได้ - เพราะอย่างที่เรียนว่าไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทย แต่หลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เองนั้นก็กำลังต่างก็ต้องพึ่งพาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง และทุกๆเส้นทางของแต่ละประเทศนั้นต้องมีสิงคโปร์อยู่ระหว่างกลาง

ขอไม่ลงรายละเอียดไปมากกว่านี้แล้วนะครับ เพราะหากใครสนใจรายละเอียดเพิ่มก็ลองสรรหาคำอธิบายในเน็ตได้เลยครับ

วิธีการซื้อขายราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) นั้นต่างจาก Brent และ WTI อย่างไร ?

มาเริ่มเข้ารายละเอียดของกลไกกันเลยครับ ! อย่างแรกเลยคือ ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI นั้นซื้อขายอยู่ที่ตลาด Futures Exchange ในตะวันตก (รายละเอียดอ่านได้จากบทความเมื่อคืนนี้เดี๋ยวแนบไว้ให้ใน comment) ส่วน Dubai นั้นไม่มีตลาด Exchange นะครับ อย่าเข้าใจผิดว่า Dubai นั้นเทรดในตลาด Exchage ของ Singapore Simex นะครับ ผมได้ยินหลายท่านถามเข้ามาเช่นนี้จึงต้องขอเคลียร์ให้กระจ่างตรงกัน

เราสามารถดูราคาน้ำมันดิบชนิดต่างๆได้ที่ไหน ?

ราคาน้ำมันดิบที่เป็น Futures Exchange นั้นราคาจะดูได้ง่ายหน่อย ไม่ว่าจะเปิดไปที่เว็บข่าวสารหลักๆอย่าง Bloomberg + Reuters + Investing.com ก็สามารถดูได้เลย เพราะข้อมูลจากตลาด Exchange นั้นมีการซื้อขายให้ดูได้กันตลอดทั้งวัน หรือสามารถเข้าไปดูได้จากเว็บของตลาดนั้นโดยตรงอย่าง Brent ที่เทรดในตลาด ICE และ WTI ที่เทรดในตลาด Nymex ก็จะมีรายงานให้เห็นเลยในเว็บ

แต่ทางด้านราคาน้ำมันดิบ Dubai นั้นจะมีระบบซื้อขายที่ต่างกัน ทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบในภูมิภาคของเราจะไม่ได้ใช้ราคา Futures Exchange เป็นหลัก แต่ราคาจะถูกกำหนดโดย Platts ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการซื้อขายน้ำมันแล้วนำมาประเมินราคาประกาศออกมารายวัน วันละหนึ่งครั้งเท่านั้น ทำให้เราจะไม่สามารถเห็นราคาน้ำมันดิบดูไบหรือราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ วิ่งขึ้นลงรายวันได้ตลอดเวลาเหมือนกับ Brent และ WTI ถ้าใครอยากหาข้อมูลนั้นต้องเข้าไปหาในเว็บของ Platts หรือตามเว็บอื่นๆที่นำราคาที่ใกล้เคียงมาแสดงอีกที เพราะว่าราคาโดยตรงของ Platts นั้นจะมีค่าลิขสิทธิ์ที่แพงมาก

ทำไมน้ำมันดิบในเอเชียเรานั้นถึงยังไม่มีระบบการซื้อขายแบบตลาด Futures ?

ไม่ใช่ไม่มีนะครับ แต่แค่ยังไม่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียเรา และทาง Platts ก็พยายามช่วยควบคุมดูแลกลไกราคาให้เป็นกลางที่สุดอยู่เสมอ ผู้ค้าน้ำมันในเอเชียเราจึงยังชินและเลือกการซื้อขายแบบนี้เป็นหลักอยู่ (ต้องย้ำว่าเป็นผู้ซื้อขายในเอเชียทั้งหมดนะครับ ไม่ใช่ว่าไทยเราเป็นคนเลือกเอง เราแค่ทำตามกลไลตลาดที่ทุกคนนิยมที่สุดเพื่อให้ได้ราคาอ้างอิงที่ดีที่สุด)

ในเอเชียนั้นยังมีตลาดน้ำมันดิบโอมาน (Oman) และเซี่ยงไฮ้ (Shang Hai) อีกสองแห่งที่ใช้ระบบฟิวเจอร์ซื้อขายและรับส่งมอบน้ำมันกันจริงๆ แต่ทั้งสองก็ยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณการซื้อขายให้สูงพอที่จะทำให้ทั้งสองตลาดกลายมาเป็นราคาพื้นฐาน (Benchmark) ของเอเชียเข้ามาทดแทนดูไบได้

ในปีนี้ทางด้านตลาด ICE ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดน้ำมัน Futures ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ตลาดที่ Brent เทรดอยู่) ก็ได้พยายามเข้ามาเจาะตลาดซื้อขายในเอเชียแข่งกับ Platts โดยการประกาศการเปิดตัวสัญญาน้ำมันดิบ Murban - ICE Futures Abu Dhabi (IFAD) ตลาดฟิวเจอร์ใหม่ในเอเชียนี้ (ตามที่เราได้เคยเขียนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว) น่าจะเริ่มซื้อขายกันกลางปีนี้ เราคงต้องมาติดตามชมกันว่าจะทำได้สำเร็จและมีคนหันมาใช้กันมากขึ้นเช่นน้ำมันดิบ Brent หรือไม่ ? และตลาดเอเชียจะเริ่มผันตัวไปอ้างอิงราคาน้ำมัน Murban ที่ซื้อขายกันเป็น Futures กันมากขึ้นด้วยหรือป่าว

แล้ว Platts ใช้วิธีอะไรในการกำหนดราคาน้ำมันในสิงคโปร์ให้แฟร์และสมดุลที่สุด ?

ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันหรือสินค้าอะไรก็ตาม.. อะไรคือราคาซื้อขายที่แฟร์ ? ที่เหมาะสม ? และสมดุลที่สุด ?

#ราคาที่เหมาะสมที่สุดนั้น ก็น่าจะเป็นราคาที่ผู้ซื้อจำนวนมากพร้อมที่จะรับซื้อ และผู้ขายจำนวนมากพร้อมที่จะยอมขายใช่ไหมครับ ? มันคงจะเป็นราคาตลาดที่สมดุลที่สุด

แต่เนื่องจากปริมาณการซื้อขายน้ำมันดิบในเอเชียนั้นต่างจากตะวันตก เรานำเข้ากันมาจากตะวันออกกลางกันทีละล็อตใหญ่ๆ ขนใส่เรือน้ำมันดิบขนาดใหญ่เข้ามาในภูมิภาค ไม่ได้ซื้อขายกันเป็นล๊อตเล็กๆอย่างในสหรัฐหรือว่ายุโรป ทำให้จำนวนการซื้อขายหรือ Transactions ของเรานั้นไม่ได้เยอะมากเท่าทางตะวันตก ทำให้เราไม่สามารถซื้อขายกันเป็นตลาด Futures ที่เปิดทั้งวันได้เพราะสภาพคล่องเราอาจจะไม่ได้สูงได้ทั้งวัน และพอสภาพคล่องไม่สูงราคาที่ซื้อขายกันก็อาจจะไม่แฟร์ เพราะผู้ขายอาจต้องยอมขายในราคาที่ถูกเพราะไม่ได้มีผู้ซื้ออยู่ในตลาดเยอะ ณ เวลานั้น

ทาง Platts นั้นจึงต้องหาวิธีใหม่ที่จะทำอย่างไรให้ผู้ซื้อผู้ขายทั้งหมดในเอเชียมากำหนดราคาซื้อขายรายวันกันได้โดยให้มีสภาพคล่องสูงที่สุด ทาง Platts จึงได้ตั้งเวลาการซื้อขายขึ้นมาที่เรียกว่า Platts Window คือจะกำหนดเวลาให้ผู้ซื้อและผู้ขายน้ำมันดิบและสำเร็จรูปชนิดต่างๆ เข้ามาทำการซื้อขายน้ำมันกันได้ในตลาดกลาง ทุกๆวันจันทร์-ศุกร์เวลา 16.00 - 16.30น. ของสิงคโปร์ครับ เพื่อให้สภาพคล่องทั้งหมดนั้นมารวมกันอยู่ในเวลาสั้นๆนี้และมีประสิทธิภาพในการวัดราคาที่สมดุลสูงสุด (เรียกได้ว่านัดเวลาเข้ามาประมูลกันทุกวันเลย ทุกคนจะได้เข้ามาพร้อมๆกัน)

ทุกคนเข้ามาพร้อมๆกันแล้วราคาจะแฟร์และสมดุลอย่างไร ? ราคาจะโดนปั่นได้ไหม ?

วิธีการที่จะพยายามทำให้ราคานั้นแฟร์ที่สุดก็จะคล้ายๆกับที่ตลาด Futures Exchange พยายามใช้กับ Brent และ WTI ที่ได้อธิบายไปในบทความก่อนครับ โดย Platts ใช้วิธีการว่าหากใครก็ตามที่ต้องการเข้ามา เสนอซื้อ (Bid) หรือ เสนอขาย (Offer) ในช่วง Singapore Window นั้น จะต้องรับส่งมอบน้ำมันตามเกรดนั้นจริงๆตามที่ Platts กำหนด จะไม่มีใครสามารถเข้ามาซื้อขายราคาต่างๆเพียงเล่นๆได้ ต้อง #มีประสงค์ที่จะรับน้ำมันไปในระดับราคานั้นจริงๆ

การทำแบบนี้นั้นทำให้ยากที่ราคาจะโดนปั่นได้ เพราะบริษัทน้ำมันต่างๆ ที่เข้ามาร่วมซื้อขายนั้นต้องพร้อมที่จะรับน้ำมันไปในราคาที่เสนอจริงๆ

#ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A อาจต้องการปั่นราคาน้ำมันเบนซินขึ้น จึงเข้าไปตั้งราคาเสนอซื้อไว้สูงมากเกินกว่าสภาพความเป็นจริงของตลาด บริษัท B หรือ C ที่มีน้ำมันชนิดนี้ในมือก็สามารถนำออกไปขายให้ บริษัท A ที่ราคาที่ Bif เข้ามานั้นได้จริงๆ และบริษัท A ก็ต้องยอมไปรับของและจ่ายเงินตามราคาที่เคยเสนอซื้อไว้จริงๆ ตามวันส่งมอบที่กำหนด ทำให้หากใครจะปั่นราคาที่สูงไปก็จะมีผู้เล่นอื่นจ้องที่จะเอาของมาขายทำกำไรอยู่เสมอ ก็จะกลายเป็นความเสี่ยงต่อผู้ปั่นคนนั้นได้

Platts จึงคิดว่ากลไกนี้สมบูรณ์ที่สุดแล้วในการใช้กำหนดราคา #เพราะคงไม่มีใครกล้าเข้ามาเสนอราคาสุ่มสี่สุมห้าได้ครับ

แล้วราคาที่เราอ้างอิงในสิงค์โปร์นั้นมาจากไหน ?

เมื่อเสร็จสิ้น Platts Window นี้ในในทุกๆวันแล้ว Platts ก็จะมาตรวจสอบดูว่าในช่วง 16.00 - 16.30น. นี้ มีการซื้อขายน้ำมันชนิดต่างๆ ที่ราคาไหนบ้าง และเอาราคาเหล่านั้นมาคำนวน #และประกาศเป็นราคา Mean of Platts Singapore (MOPS) หรือ #เป็นราคาน้ำมันที่เราใช้หน้าโรงกลั่น ที่หลายคนคงได้ยินกันจนชินนั้นเองครับ จะประกาศทุกวันทำการสำหรับทุกๆผลิตภัณฑ์ทุกๆเกรดน้ำมันอย่าง ดูไบ เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา แนฟทา และน้ำมันอื่นๆอีกหลายชนิด

โดยในรายละเอียดนั้นหากมีรายการซื้อขายหรือ Transaction ที่ทาง Platts คิดว่าไม่เหมาะสม ทาง Platts ก็จะสามารถตัดรายการนั้นออกมาโดยไม่นำมาคำนวนเป็นราคาตอนปิดวัน ทาง Platts นั้นทราบดีว่าราคาน้ำมันที่เขาประกาศออกมาทุกเย็นนั้นกำลังมีความสำคัญและกระทบต่อผู้ใช้น้ำมันทั่วทุกภูิภาคมาก เขาจึงพยายามคอยระวังและสอดส่องให้ราคาที่ประกาศนั้นเป็นกลางเสมอ และเขารู้ตัวว่าหากราคาไม่เป็นกลางสุดท้ายแล้วผู้ซื้อขายก็อาจจะไม่ไว้ใจในการใช้ราคานี้อ้างอิงอีกต่อไป

อย่างงี้แปลว่าถ้าเราต้องการซื้อขายนำเข้าหรือส่งออกน้ำมันในภูมิภาคเรา เราต้องซื้อแค่ในตลาด Platts สิงคโปร์เวลา 16.00 - 16.30น. เท่านั้นหรือ ?

ไม่ใช่นะครับ ผู้ซื้อผู้ขายน้ำมันสามารถทำการซื้อขายกันได้ตลอดเวลาเมื่อไหร่และที่ไหนก็ได้ เพียงแต่ว่าราคาที่ซื้อขายกันนอกเวทีที่ Platts กำหนดขึ้นมานั้น Platts จะไม่ได้นำมาคำนวนในราคารายวันของ MOPS เพราะ Platts ไม่ได้เป็นคนยืนยันราคาในการซื้อขาย และอาจจะมีการซื้อขายที่ราคาไม่สมดุลกับตลาดได้ (ราคาสูงหรือต่ำจนเว่อกันเกินไป) ทำให้ดีลข้างนอกเหล่านี้จะไม่ได้นำมาคำนวนและมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันบ้านเราครับ

ส่วนราคาซื้อขายที่ทำกันนอกตลาด Platts นั้นส่วนใหญ่จะเป็นการตกลงแค่ราคา Premium หรือส่วนต่างจากราคาพื้นฐาน (Benchmark) ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันเองก่อนส่งมอบ แต่เมื่อถึงวันส่งมอบแล้วส่วนใหญ่ราคาที่ซื้อขายกันก็จะไปอ้างอิงจากราคาที่ Platts ประกาศออกมารายวันเพิ่มด้วยอยู่ดีครับ (ราคาเต็มคือราคา Premium + ด้วยราคาประกาศ Platts)

ทุกท่านเคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่า เรือน้ำมันต่างๆในอ่าวของสิงค์โปร์นั้นมันจะเยอะไปไหนกัน ?

หลายท่านที่เคยไปสิงค์โปร์มาอาจจะสงสัยว่าเรือน้ำมันเหล่านี้นั้นจะเยอะไปไหน เค้าไม่ห่วงภาพลักษณ์ของหาดเลยหรือ ? ท่าเรือสิงค์โปร์นอกจากจะเป็นท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังมีเรือน้ำมันของบริษัทต่างๆ ที่ลอยลำอยู่เต็มไปหมด

เหตุผลก็เพราะว่าพวกเขาลอยไว้เอาไว้พร้อมที่จะเข้าไปซื้อขาย ส่งมอบในตลาด Platts ที่เพิ่งอธิบายไปนี่เหละครับ เพราะถ้ามีผู้ซื้อคนไหนมีความพยายามดันราคาให้สูงเกินไป บริษัทอื่นๆก็พร้อมที่จะนำน้ำมันทั้งหายเหล่านี้เข้าไปขายในราคานั้น (เพราะคนขายก็ต้องมีของพร้อมส่งมอบจริงๆด้วย)

ถามว่าสิงคโปร์ห่วงภาพลักษณ์ของหาดไหม ? คงห่วง แต่ห่วงไม่เท่ากับโอกาสในการทำกำไรและทำให้ตลาดน้ำมันนั้นเสรีและมีผู้เล่นมากพร้อมที่สุดครับ

บทวิเคราะห์นี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย