“ซื้อหุ้นตามข่าวจริง ขายหุ้นเมือมีข่าวลือปรากฏ” นี่คือคำพูดที่กำลังอธิบายสถานการณ์ของราคาน้ำมันดิบได้ดีที่สุดในเวลานี้เมื่อความหวังที่ราคาน้ำมันดิบควรจะขึ้นมาได้จากข่าวการจับมือกันเพื่อลดกำลังการผลิตของโอเปกกลับกลายเป็นว่าราคายังคงกองอยู่ที่ก้นเหวอยู่อย่างกับว่าไม่มีข่าวดีอะไรจะสามารถช่วยสถานการณ์ของราคาน้ำมันดิบได้อีกแล้ว
ในช่วงบ่ายที่ตลาดลงทุนฝั่งเอเชียเปิดพบว่าราคาน้ำมันดิบ WTIปรับตัวสูงขึ้น 5% ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 4% จากข่าวดีที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียสามารถกลับมาจับมือกันเพื่อลดกำลังการผลิตน้ำมันได้อีกครั้งตามที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์หวังไว้
การลดกำลังการผลิตของโอเปกและพันธมิตรไม่ได้ช่วยหยุด contango ของราคาน้ำมันได้
ถึงแม้ว่านี่จะเป็นข่าวดีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ภาคภูมิใจมาก (เพราะถึงขนาดทวิตออกหน้าออกตาว่า “นี่คือข้อตกลงที่ดีสำหรับพวกเราทุกคน” หลังจากที่ข่าวการจับมือของทั้งสองฝ่ายปรากฏ) แต่แนวต้านของราคาน้ำมันดิบที่ปรากฏยังคงถูกนักวิเคราะห์กดให้ต่ำลงเนื่องจากเป็นข่าวดีที่ขาดปริมาณความต้องการน้ำมันดิบเพราะไวรัสโควิด-19
ข่าวร้ายยิ่งไปกว่านั้นคือพื้นที่ที่ใช้สำหรับกักเก็บน้ำมันดิบทั่วโลกกำลังใกล้ที่จะเต็มคลังแล้วภายในไม่อีกกี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ แม้จะลดกำลังการผลิตลงแต่การผลิตก็ยังคงอยู่สร้างผลกระทบให้กับตลาดลงทุนเป็นอย่างมากเพราะดูเหมือนว่าสถานการณ์โควิด-19 จะยังไม่จบลงภายในไตรมาสที่ 2 เป็นแน่ เอ็ด โมญา นักวิเคราะห์อาวุโสจากโบรเกอร์ฟอเร็กซ์ OANDA แสดงความคิดเห็นว่า “ดูเหมือนว่าข่าวการจับมือกันของพันธมิตรมหาอำนาจน้ำมันจะไม่สามารถทำในสิ่งที่ตัวเองควรทำได้ ช่องโหว่ที่อยู่ในข้อตกลงครั้งนี้ทำให้นักลงทุนยังไม่รู้สึกมั่นใจพอที่จะมองว่านี่คือก้นเหวของราคาน้ำมันดิบแล้วจริงๆ”
จากข้อมูลรายละเอียดของข้อตกลงที่ถูกเปิดเผยเมื่อช่วงบ่ายวันอาทิตย์ระบุว่า “ซาอุดิอาระเบียอนุญาตให้กลุ่มโอเปก+ ซึ่งนำโดยรัสเซียสามารถลดกำลังการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันได้แม้ว่าก่อนหน้านี้จะตั้งเป้าตัวเลขเอาไว้ที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน”
สหรัฐอเมริกา บราซิลและแคนาดาที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีส่วนร่วมกับกลุ่มโอเปกเลยตลอดระยะเวลา 60 ปีจะลดกำลังการผลิตลงประเทศละ 3.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เม็กซิโก (ประเทศที่พึ่งสร้างปัญหาให้กับการตกลงลดการผลิตน้ำมันเมื่อ 72 ชั่วโมงที่ผ่านมาในขณะที่กำลังเขียนบทความ) ตอนแรกถูกขอให้ลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 400,000 บาร์เรลต่อวันแต่เม็กซิโกไม่ยอมจนกระทั่งสามารถตกลงกันได้ที่ตัวเลข 100,000 บาร์เรลต่อวันโดยที่สหรัฐฯ จะช่วยในส่วนของเม็กซิโกอีก 250,000-300,000 บาร์เรลต่อวัน
จากข้อตกลงล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าซาอุดิอาระเบียเริ่มไม่สามารถที่จะควบคุมอำนาจของกลุ่มโอเปก+ ได้อีกต่อไปแม้ว่ารัฐมนตรีกระทรวงพลังงานอับดุลลาซิส บิน ซัลมานจะบอกกับบลูมเบิร์กว่า “นี่คือการคืนชีพของกลุ่มโอเปก+ อีกครั้งและเขาดีใจกับดีลนี้เป็นอย่างมาก” นายแดน พิกเกอริ่ง ผู้ต่อตั้งและหัวหน้าแผนกดูแลด้านการลงทุนของบริษัท Pickering Energy ทวีตว่า “เมื่อพ่อแม่ไม่มีการควบคุมที่เด็ดขาดพอ สุดท้ายเด็กๆ จะรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกินผักให้หมดก็สามารถลุกไปเล่นได้อยู่ดี เม็กซิโกคือผู้ชนะในดีลนี้อย่างแท้จริง ต่อจากนี้ก็รอดูราคาน้ำมันดิบที่จะร่วงลงต่อเพราะน้ำมันดิบเต็มคลังดูละกัน”
หลุยส์ ดิ๊กสัน นักวิเคราะห์ตลาดราคาน้ำมันดิบแห่ง Oslo กล่าวว่า “ลำพังการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันดิบในอนาคตอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบันในตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้า (contango) ได้ตราบเท่าที่คนยังเห็นประโยชน์ของการเก็บน้ำมันในตอนนี้เอาไว้และน้ำมันที่มีอยู่ก็จะเต็มคลังอยู่แล้ว”
ในกรณีของราคาน้ำมันดิบเบรนท์สปอตพบว่าราคาในเดือนมิถุนายนราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมามากตั้ง $9 ต่อบาร์เรลของสัญญาส่งมอบราคาน้ำมันในช่วงเวลานี้ในแต่ละปี ด้วยราคาที่ถูกลงจึงทำให้นักลงทุนรีบเข้ามาซื้อสัญญานี้ในทันทีทันใด ถามว่าซื้อไปทำไม? ก็ซื้อไปเก็บแล้วค่อยหาจังหวะเอาออกมาขายในอนาคต
“ต่อให้ลดกำลังการผลิตได้ 10 ล้านบาร์เรลตามที่โอเปกต้องการได้ก็จะยังมีน้ำมันเหลืออยู่ในคลังอีกอย่างน้อย 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2020 นี้ ยิ่งไปกว่านั้นกว่าจะเริ่มลดกำลังการผลิตจริงก็ต้องรอจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคมและยังต้องใช้เวลาต่อจากนั้นอีกสักพักกว่าตลาดจะเริ่มสัมผัสได้ว่าการผลิตน้ำมันเริ่มลดลง กลไกการทำงานของวงการน้ำมันดิบไม่ได้ง่ายเหมือนการเปิดปิดก๊อกน้ำ” นักวิเคราะห์แห่ง Oslo กล่าวทิ้งท้าย
หัวหน้านักวิเคราะห์แห่ง Rystad นาย Per Magnus Nysveen กล่าวว่า “ยังมีน้ำมันดิบอีกประมาณ 700 ล้านบาร์เรลเหลืออยู่ในคลังและเหลือเวลาอีก 30 วันก่อนที่การลดกำลังการผลิตจะเกิดขึ้น ถ้าจะช่วยโลกให้ทันตอนนี้โอเปกต้องเริ่มลดกำลังการผลิตเลยอย่างน้อย 5 ล้านบาร์เรลต่อวันและต้องทำทันที” สถาบันที่ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในพลังงานประจำกรุงนิวยอร์กมีความเห็นคล้ายกันว่า “แม้เราจะได้เห็นตัวเลขการลดลงของน้ำมันดิบเกินขึ้นจริงในเดือนพฤษภาคม แต่ความเป็นจริงแล้วน้ำมันจะยังคงล้นคลังจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน”
เอ็ด โมญา นักวิเคราะห์อาวุโสจากโบรเกอร์ฟอเร็กซ์ OANDA แสดงความคิดเห็นในเชิงเห็นด้วยว่า “ภาพรวมของปริมาณความต้องการน้ำมันดิบยังคงสิ้นหวังแม้ว่าจะมีการตกลงร่วมกันลดกำลังการผลิตแล้วก็ตาม เพราะกว่าจะได้เริ่มลดกันจริงๆ ก็จะเข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลังแล้ว แม้ในระยะสั้นสถานการณ์ในตลาดน้ำมันดิบยังถือว่าหนักหน่วงแต่ถ้าสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มค่อยๆ ฟื้นตัวเมื่อไหร่ ราคาน้ำมันดิบอาจจะกลับตัวขึ้นมาได้ในช่วงเดือนมิถุนายน ตอนนี้กราฟราคาน้ำมันดิบ WTI อาจลงไปเกือบแตะหรืออยู่ระหว่างทางจะถึง $20 ก่อน”
การกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดจะช่วยดันราคาทองคำให้ขึ้นถึง $1,800 ได้หรือไม่?
สำหรับราคาทองคำตอนนี้การมองเป้าที่ $1,800 ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินฝันอีกต่อไปแม้ว่าระหว่างทางกราฟจะเจอนักลงทุนดึงเงินออกจากตลาดไปบ้างเมื่อมีข่าวดีมาสนับสนุนราคาในตลาดหุ้น
ตอนนี้ตลาดลงทุนกำลังเต็มไปด้วยเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ งัดออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุดเฟดประกาศอัดฉีกสภาพคล่องเข้าไปอีก $2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กโดยตรง ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีความตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะช่วยเศรษฐกิจภายในประเทศให้ผ่านช่วงพีคของตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ ไปให้ได้
เชื่อว่าราคาทองคำจะสามารถวิ่งขึ้นไปทดสอบแนวต้านได้อีกเมื่อเราได้เห็นตลาดหุ้นต้องเจอกับข่าวร้ายอีกในอนาคต ทองคำจะได้รับเลือกให้เป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัยเช่นเดียวกันกับสกุลเงินดอลลาร์