💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

คาดเงินช่วย COVID#3 แตะ 11% ของ GDP หนุนเชื่อมั่นระยะสั้น

เผยแพร่ 07/04/2563 13:26
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

ประชุม ครม. วันนี้อนุมัติมาตรการบรรเทา COVID-19 ชุดที่ 3 วงเงินเกือบ 2 ล้านลบ.อ้างอิงจากสื่อออนไลน์ “ฐานเศรษฐกิจ Exclusive” คาดว่าวันนี้ที่ประชุม ครม.จะพิจารณาวงเงินมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ชุดที่ 3 สูงถึง1.8 ล้านลบ. แบ่งเป็น (1) โยกงบรายจ่ายประจำปี 2563ของแต่ละกระทรวงราว 6-7 หมื่นลบ. (2) ใช้เงินทุนของ ธปท. ผ่านการออกพ.ร.ก. 2 ฉบับราว 9 แสนลบ. คือพ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนวงเงิน 4 แสนลบ.และ พ.ร.ก. เพื่อออกซอฟท์โลนปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจโดยตรงคล้ายปี2555 อีกราว 5 แสนลบ. (3) กระทรวงการคลังออก พ.ร.ก. กู้เงินราว 9แสนลบ.เน้นช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้างผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้วก่อนหน้านี้ ผนวกกับการแพร่ระบาดของCOVID-19 ทีทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักประชาชนและผู้ประกอบการจึงถูกกระทบเชิงลบในวงกว้าง ขณะที่สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเริ่มตึงตัวจากความไม่เชื่อมั่นกลไกลของตลาดการเงินการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยมาตรการชุดที่ 3 แบ่งได้เป็น3 ส่วนหลัก คือ

(1) เยียวยาประชาชน - ดูแลเกษตรกรและลูกจ้างแรงงานโดยมีการขยายจำนวนผู้ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3เดือน จาก 3 ล้านคนเป็น 9 ล้านคนคิดเป็นวงเงินรวม 1.35 แสนลบ.

(2) ดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจช่วงหยุดชะงัก -จัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขอย่างเต็มที่และดูแลเศรษฐกิจในพื้นที่ภูมิลำเนาของแรงงานโดยภาครัฐจะใช้โอกาสนี้เร่งลงทุนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ

(3) ดูแลสภาพคล่องผู้ประกอบการผ่านกลไกการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดตราสารหนี้และการเสริมสภาพคล่องโดยปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.รวมมาตรการ 1-2 ที่ออกก่อนหน้านี้ เม็ดเงินเยียวยาจะพุ่งแตะ 11%ของ GDP ใกล้สิงคโปร์เรายังคงมุมมองเดิมว่ารัฐบาลสามารถก่อหนี้สาธารณะได้อีก 5-8 แสนลบ.โดยไม่เสียวินัยการคลังที่ 60% ของ GDP และพฤติกรรมในอดีต (5ปีย้อนหลัง) ที่ 45-47% ของ GDP จากปัจจุบันอยู่ที่ 41.3% ของ GDPซึ่งเมื่อรวมเม็ดเงินจากมาตรการชุดที่ 1-2 ราว 5.2 แสนลบ.คาดว่าเม็ดเงินเฉพาะนโยบายการคลังทั้ง 3 ชุด จะสูงถึง 1.9 ล้านลบ. คิดเป็น

STRATEGY REPORT

11% ของ GDP2562 มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 4.1% ของ GDPอย่างมีนัยสำคัญ และใกล้เคียงกับสิงคโปร์ที่ได้รับการยอมรับว่าออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจได้ทันท่วงที ขณะที่การเสริมสภาพคล่องผ่านนโยบายการเงินของ ธปท.ถ้ารวมเม็ดเงินเข้าซื้อตราสารหนี้ 1 แสนลบ. และการจัดตั้งกองทุนอีก 1 แสนลบ. จะมีเม็ดเงินรวมราว 1 ล้านลบ. คิดเป็น 5.9% ของ GDP2562

เมื่อรวมทั้งนโยบายการเงินและการคลังจะอยู่ที่ 17% ของ GDP2562น่าจะรองรับสภาพคล่องที่หายไปตามคาดการณ์ GDP ระหว่าง -5% ถึง -7%ได้ไม่ยาก ซึ่งแม้ว่าจะมีธุรกิจปิดตัวและแรงงานที่ต้องว่างงานบ้างแต่อย่างน้อยภาครัฐก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการเร่งแก้ปัญหาและทำให้เชื้อมั่นว่าผลกระทบจะไม่ลามเป็นโดมิโน่

SET INDEX SET มักบวกเด่นในปีปีที่ออก พ.ร.ก. กู้เงิน และกลุ่มที่ Underperform จะฟื้นกลับเร็วย้อนไปถึงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ประเทศไทยออก พ.ร.ก. กู้เงิน 4 ครั้งคือ ปี2541 (SET -4.5%), ปี 2545 (SET +17%), ปี 2552 (SET +63%), ปี 2555(SET +36%)ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแรงหนุนด้านสภาพคล่องจากการอัดฉีดเงินเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลก แต่ที่น่าสังเกตคือ การออก พ.ร.ก.กู้เงินมักมาพร้อมการคลายตัวของวิกฤติจึงทำให้สภาพคล่องไปเร่งให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรง ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มUnderperform ในแต่ละรอบจะฟื้นตัวกลับได้เร็วหลังออกพ.ร.ก.เพราะคาดหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งกลุ่มที่Underperform รอบนี้คือ แบงก์ ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขนส่งรับเหมาก่อสร้าง หุ้นที่เป็นผู้นำของแต่ละกลุ่มมีโอกาสฟื้นตัวได้ก่อน เช่น BBL/SCB/ MINT/ ERW/ KCE/ DELTA/ AOT/ BTS/ BEM/ CK

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย