💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ธปท. ลดค่าธรรมเนียม FIDF เพิ่ม Policy Space

เผยแพร่ 07/04/2563 13:05
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมพร้อมลดค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) ลงจาก 0.46% เหลือ 0.23% เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งจะลดภาระค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารพาณิชย์พร้อมกับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งผ่านของนโยบายการเงินให้ดียิ่งขึ้น

การลดค่าธรรมเนียม FIDF ชี้ว่า ธปท.ต้องการดำเนินมาตรการการเงินอื่นเพื่อเสริมกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินและเป็นการยิงปืนนัดเดียว แต่ได้นกถึง 3 ตัว

ประการแรก ธปท. จะขอให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ย เราคาดว่า ธปท.จะขอความร่วมมือจาก ธพ. ในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้ง MLR, MOR และ MOR ลง 0.25%เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อบรรดาลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์

ประการที่สอง ธปท. จะมีความจำเป็นน้อยลงในการลดดอกเบี้ยฉุกเฉินก่อนการประชุมเดือนพฤษภาคม ขณะเดียวกันธปท. ก็ได้เพิ่ม Policy Space เพราะการลดดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธพ.ทันทีจะส่งผลได้ดีกว่าการลดดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ภาระค่าธรรมเนียม FIDF ที่ลดลง ทำให้ธปท. สามารถลดดอกเบี้ยได้อีก 0.50% แตะจุดต่ำสุดที่เป็นไปได้ของดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25%หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวกว่าที่ ธปท. ได้ประเมินไว้มาก

ประการที่สาม การลดค่าธรรมเนียม FIDF อาจสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 0.2% ของ GDPเพราะค่าธรรมเนียมที่ลดลงจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบ ธพ.ซึ่งอาจกลายเป็นเงินกู้หรือเงินลงทุนกลับสู่ภาคเศรษฐกิจจริง

ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมประกาศลดค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)ลงจาก 0.46% เหลือ 0.23% เป็นเวลา 2 ปี

โดยปกติ ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่นำส่งค่าธรรมเนียม 0.46% ของฐานเงินฝากให้กับ ธปท. โดยธปท. จะนำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF)ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่มีปัญหาสภาพคล่องในช่วงวิกฤตปี 2540ซึ่งปัจจุบันยอดหนี้ดังกล่าวมีมูลค่าราว 8 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562)และอาจจะชำระหนี้ได้หมดภายใน 15ปี

 การปรับลดค่าธรรมเนียม FIDF จึงเป็นการลดภาระของธนาคารพาณิชย์ ช่วยให้ ธพ.สามารถลดดอกเบี้ยได้ทันที เพิ่มประสิทธิภาพการส่งผ่านกลไกนโยบายการเงินโดยไม่กระทบผลการดำเนินงานมากนัก เพราะจากเดิม ธพ. โดยเฉลี่ยจะลดดอกเบี้ยเงินกู้ราว 0.18%น้อยกว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. (เฉลี่ย 0.35% ต่อครั้ง)ทำให้การส่งผ่านอานิสงส์การลดดอกเบี้ยนโยบายสู่ภาคเศรษฐกิจจริงมีไม่มากเราเชื่อว่า การปรับลดค่าธรรมเนียม FIDF จะเป็นการยิงปืนนัดเดียวแต่ได้นก 3 ตัว 1) ธพ.จะสามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% ทันที เมื่อภาระ FIDF ลดลง 2) ธปท.ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน และมี policy space มากขึ้น 0.50% และ 3) ยอดนำส่ง FIDF ของ ธพ.ที่ลดลงอาจสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 0.2% ของ GDP

เราเชื่อว่า ธปท. จะขอความร่วมมือให้ ธพ. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% หลัง ธพ. มีภาระ FIDF ลดลงเพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อลูกหนี้ที่เผชิญปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาสอดคล้องกับเนื้อหาผลการประชุมนโยบายการเงินล่าสุดที่ ธปท.ต้องการเสริมกลไกการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและทันท่วงที นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงจะช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงที่การระบาดของ COVID-19 เริ่มสงบ

เราปรับลดโอกาสที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลง 20% เหลือ 40% และมองว่า ธปท. กำลังเพิ่มPolicy Space เพราะหาก ธพ. ตัดสินใจลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงทันที 0.25%จะช่วยส่งผ่านอานิสงส์การลดดอกเบี้ยได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว ทำให้ ธปท.ไม่จำเป็นจะต้องรีบลดดอกเบี้ยก่อนการประชุมในเดือนพฤษภาคม แม้ว่าการระบาดของ COVID-19อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ การลดภาระค่าธรรมเนียม FIDFก็เปรียบเสมือนการลดกรอบล่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จากเดิมที่ระดับ 0.50% สู่ระดับ 0.25%ทำให้ ธปท. มีขีดจำกัดการดำเนินนโยบายการเงินหรือ Policy Space เพิ่มขึ้นเป็น 0.50% หรือธปท. สามารถลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้ง หากแนวโน้มเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

เงินนำส่งจาก ธพ. สู่กองทุน FIDF ที่ลดลงจะสามารถกลายเป็นเม็ดเงินกลับสู่ภาคเศรษฐกิจจริงมูลค่าราว 0.2% ของ GDP เป็นเวลา 2 ปีจากรายงานของกองทุน FIDF ปี 2562 เงินนำส่งจาก ธพ. รวมแล้วกว่า 6.4 หมื่นล้านบาท หรือ0.4% ของ GDP ซึ่งการลดค่าธรรมเนียมลง 50% จะเสมือนเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับ ธพ. ที่ธพ. สามารถนำไปปล่อยกู้หรือลงทุน ช่วยให้มีเม็ดเงินมูลค่าราว 0.2% ของ GDPไหลกลับเข้าสู่ภาคธุรกิจหรือภาคครัวเรือน ซึ่งอาจจะช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะถัดไปได้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย