ไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 ได้ผ่านไปแล้วและสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่านี่คือไตรมาสแรกที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของดัชนีดาวโจนส์ตลอด 135 ปี การเข้ามาของไวรัสโคโรนาหรือ “โควิด-19” ทำให้ดาวโจนส์ทำผลงานได้แย่ที่สุดตลอด 3 เดือน สร้างผลกระทบให้กับตลาดหุ้นจีน ยุโรปและล่าสุดก็คือตลาดหุ้นสหรัฐฯ มูลค่าของดัชนีดาวโจนส์ หายไปมากกว่า 20% และราคาน้ำมันดิบ ร่วงลงมามากถึง 60% ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง 25% ในขณะที่ดัชนีฝั่งเอเชียชื่อดังอย่างนิเคอิก็ลดลง 20% โดยสรุปแล้วไตรมาสที่ 1 คือ 3 เดือนแห่งความหายนะของตลาดหุ้นและตลาดฟอเร็กซ์โดยแท้ แม้ว่าก่อนหน้านี้เงินในตลาดลงทุนจะเคยไหลเข้ามาสู่สกุลเงินดอลลาร์เพราะมีคนเชื่อว่าเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัย แต่ตอนนี้ความเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัยนั้นหายหมดสิ้นเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในอเมริกาแย่ลงจนรัฐบาลต้องออกมาตรการปั้มเงินดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานข้อมูลตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมีนาคมที่ลดลงจาก 130.7 เหลือ 120 กำลังสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี
เรามาลองดูข้อมูลของพระเอกในสัปดาห์นี้กันทั้งรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริง (NFP) และข้อมูลตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP (NASDAQ:ADP) ที่จะออกในวันนี้กันก่อน นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าวันศุกร์นี้เราจะได้เห็นจำนวนการจ้างงานลดลง 150,000 ตำแหน่งซึ่งยังถือว่าดูดีมากๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วที่กระโดดขึ้นไปมากถึง 3 ล้านคนทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 40 ปี แม้จะเป็นเพียงตัวเลขคาดการณ์แต่ในความคิดเห็นของเราตัวเลขนี้ยังดูดีเกินไปและไม่สมเหตุสมผลกับตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ และต่อให้ข้อมูลตัวเลขนี้ออกมาเป็นความจริงนักลงทุนก็ยังไม่สมควรจะดีใจและประมาทกับการลงทุนต่อจากนี้เพราะความเป็นจริงที่คนตกงานเป็นล้านยังคงอยู่
มาดูข้อมูลที่ฝั่งตลาดสกุลเงินกันบ้าง ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์คือสองสกุลเงินที่มูลค่าถูกลดลงไปมากที่สุดในไตรมาสที่ 1 ด้วยจำนวนเปอร์เซนต์ 13% และ 11% ตามลำดับ แคนาดาดอลลาร์มูลค่าลดลง 8% ในขณะที่สกุลเงินยูโรลดลงเพียง 2% เท่านั้น เมื่อมองมาในไตรมาสที่ 2 แห่งปี 2020 ที่เราพึ่งจะก้าวขาข้ามเข้ามาได้เพียง 1 วัน สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือผลกระทบที่ลากยาวมาจากไตรมาสที่แล้วซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ความอภิรมณ์แต่อย่างใด ผู้นำในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกส่วนใหญ่ออกมาพูดตรงกันว่าเราอาจจะไม่ได้เห็นตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นอย่างน้อยก็จนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายน โรงเรียนในบางประเทศยังคงถูกสั่งปิดอยู่ซึ่งส่งผลให้พ่อแม่จำเป็นมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการหาคนเลี้ยงดูบุตรหลาน ข่าวดีที่สหรัฐฯ พอจะมีในตอนนี้คือภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าเราจะเริ่มเห็นว่ามาตรการอยู่บ้านช่วยชาติของสหรัฐฯ สามารถทำให้จุดพีคของยอดผู้ติดเชื้อในประเทศมาถึงเร็วขึ้น ในเวลาเดียวกันนี้สหรัฐฯ ก็เริ่มมียาที่พอจะควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้บ้างแล้ว
อย่างไรก็ตามต่อให้เรื่องข่าวยารักษาจะเป็นเรื่องจริงแต่ความจริงกว่าที่ต่อจากนี้นักลงทุนต้องรับคือข้อมูลรายงานตัวเลขทางดศรษฐกิจที่จะเริ่มเป็นของเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งหมายความว่าเราจะต้องรับมือกับข้อมูลตัวเลขที่ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางของขาลง เราได้เห็นมาแล้วว่าโควิด-19 สร้างหายนะให้กับสหรัฐฯ อย่างไรจากรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วและเชื่อว่าจะได้เห็นอีกครั้งในรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันศุกร์นี้ เชื่อว่าข้อมูลตัวเลขที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เหล่านี้จะสร้างความปวดหัวให้กับนักลงทุนในไตรมาสที่ 2 อย่างแน่นอน
เรามาลองดูข้อมูลของพระเอกในสัปดาห์นี้กันทั้งรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริง (NFP) และข้อมูลตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP (NASDAQ:ADP) ที่จะออกในวันนี้กันก่อน นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าวันศุกร์นี้เราจะได้เห็นจำนวนการจ้างงานลดลง 150,000 ตำแหน่งซึ่งยังถือว่าดูดีมากๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วที่กระโดดขึ้นไปมากถึง 3 ล้านคนทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 40 ปี แม้จะเป็นเพียงตัวเลขคาดการณ์แต่ในความคิดเห็นของเราตัวเลขนี้ยังดูดีเกินไปและไม่สมเหตุสมผลกับตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ และต่อให้ข้อมูลตัวเลขนี้ออกมาเป็นความจริงนักลงทุนก็ยังไม่สมควรจะดีใจและประมาทกับการลงทุนต่อจากนี้เพราะความเป็นจริงที่คนตกงานเป็นล้านยังคงอยู่
บริษัทค้าปลีกรายใหญ่ๆ อย่างเช่น Macy’s, Kohl และ Gap พึ่งประกาศลอยแพพนักงงานรวมกันมากถึง 5 แสนคนแม้ว่าจะมีมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจมูลค่า $2 ล้านล้านเหรียญออกมาแล้วก็ตาม รายงานตัวเลขในตลาดแรงงานก็ไม่สวยเอาซะเลย โกลด์แมน แซคส์ (NYSE:GS) คาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถแตะตัวเลขที่ 15% ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแห่งเวลาเท่านั้น ผลสำรวจจากฟิลาเดเฟียและเอ็มไพร์ สเตตรายงานตรงกันว่าตัวเลขดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM จะหดตัวลงอย่างมาก สรุปก็คือสิ่งที่นักลงทุนจะได้เห็นจากข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่อจากนี้ให้วิเคราะห์ไว้ก่อนเลยว่าไม่หดตัวก็ติดลบ
กราฟ USD/CAD ยังคงสามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้แม้ว่ารายงานตัวเลข GDP จะออกมาลดลง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแคนาดาในเดือนมกราคมเหลือเพียง 0.1% เท่านั้น เชื่อว่าข้อมูลในเดือนมีนาคมจะต้องออกมาลดลงแต่เราจะไม่ได้เ็นข้อมูลนี้อีกยาวไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบยังคงสามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้เล็กน้อยจากแนวรับที่ $20 ต่อบาร์เรล สกุลเงินออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากตลาดทราบข่าวตัวเลชดัชนี PMI ของประเทศจีนที่ดีขึ้นจาก 28.9 ขึ้นมาเป็น 59 ได้อย่างน่าประหลาดใจซึ่งแสดงให้เห็นเลยว่าประเทศจีนกำลังฟื้นตัวในแง่ของภาคการผลิตและบริการ อย่างไรก็ตามนี่เป็นข้อมูลจากช่วงระยะเวลาในไตรมาสที่แล้ว แม้การค้าขายออนไลน์ในจีนจะฟื้นตัวแต่การค้าขายแบบออฟไลน์ยังคงต้องใช้เวลา ดัชนี ANZ ซึ่งวัดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจของนิวซีแลนด์ลดลงจาก -19.4 เป็น -63.5 ในชั่วข้ามคืน ข้อมูลสำคัญของออสเตรเลียในวันนี้จะมีรายงานการประชุมเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินในวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมาและรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตซึ่งเราคาดว่าข้อมูลทั้งสองนี้จะออกมาเป็นลบ