จากการประกาศมาตรการเยียวยาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่จะแจกเงินให้กับประชาชนชาวสหรัฐฯ คนละ $1000 (3 หมื่นบาทไทยโดยประมาณ) การลดภาษีและการเพิ่มความสามารถให้กู้ยืมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ตามการทะยานขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ ที่มีราคาปิดมากกว่า 800 จุดหลังจากที่เมื่อวันจันทร์ดาวโจนส์ได้ร่วงลงเกือบ 3,000 จุด
คู่สกุลเงิน EUR/USD ปรับตัวลดลงมายัง 1.10 หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้รับข่าวดี ประกอบกับข้อมูลผลสำรวจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW) ในเยอรมันที่ใช้เป็นตัววัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีตัวเลขลดลงมาต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินปี 2008 ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้มีแต่จะแย่ลงหลังจากเยอรมันสั่งปิดชายแดน ปิดโรงเรียนและลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศ เมื่อวานนี้กราฟ EURUSD วิ่งลงไปหาแนวรับ 1.10 ตามที่ได้วิเคราะห์ไว้อย่างรวดเร็ว เชื่อว่าหลังจากนี้เราจะได้เห็นภาพเศรษฐกิจถดถอยในประเทศกลุ่มยูโรโซนมากขึ้น หากว่ากราฟสามารถลงไปถึง 1.05 ได้ภายในระยะเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เราจะไม่แปลกใจเลย
แม้ว่าข่าวดีนี้จะส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สามารถปรับตัวกลับขึ้นตามมาด้วยได้ แต่เมื่อพิจารณาจากภาพรวมแล้วกลับพบว่าตอนนี้ก็ยังไม่ใช่เหตุผลที่สมควรในการเข้าซื้อหุ้นในตลาด นักลงทุนบางส่วนยังหวังให้รัฐบาลอื่นๆ ทั่วโลก (รวมทั้งสหรัฐฯ) รีบดำเนินนโยบายตามประเทศฝรั่งเศสที่ห้ามการขายเพื่อเก็งกำไรในกรณีที่คาดหุ้นว่าจะลง (short selling) เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรืออาจจะหนึ่งเดือนแล้วแต่สถานการณ์ เกาหลีใต้ก็มีมาตรการเช่นนี้เหมือนกันโดยสั่งห้าม short selling ในสามตลาดลงทุนใหญ่ ส่วนอิตาลี สหราชอาณาจักรและสเปนก็มีการสั่งห้ามเป็นแต่ละกรณีไป ถ้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาเข้าสู่แนวโน้มขาลงเมื่อไหร่ คิดว่าการทำ short selling คงเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในช่วงวิกฤตทางการเงินปี 2008 ประเทศอย่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์และแคนาดาเคยสั่งห้ามการขายเพื่อเก็งกำไรในกรณีที่คาดหุ้นว่าจะลงมาแล้วแต่มาตรการนี้ไม่อาจหยุดยั้งการร่วงลง 29% ของดัชนีดาวโจนส์ในสองอาทิตย์หลังจากนั้นได้
คู่สกุลเงิน EUR/USD ปรับตัวลดลงมายัง 1.10 หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้รับข่าวดี ประกอบกับข้อมูลผลสำรวจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW) ในเยอรมันที่ใช้เป็นตัววัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีตัวเลขลดลงมาต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินปี 2008 ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้มีแต่จะแย่ลงหลังจากเยอรมันสั่งปิดชายแดน ปิดโรงเรียนและลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศ เมื่อวานนี้กราฟ EURUSD วิ่งลงไปหาแนวรับ 1.10 ตามที่ได้วิเคราะห์ไว้อย่างรวดเร็ว เชื่อว่าหลังจากนี้เราจะได้เห็นภาพเศรษฐกิจถดถอยในประเทศกลุ่มยูโรโซนมากขึ้น หากว่ากราฟสามารถลงไปถึง 1.05 ได้ภายในระยะเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เราจะไม่แปลกใจเลย
ปอนด์สเตอร์ลิงมีการปรับตัวลดลงมาอย่างรวดเร็วเช่นกันแต่โชคยังดีที่มีแนวรับใหญ่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งเกิดจาก Brexit หนุนราคาเอาไว้อยู่ กลายเป็นว่ากราฟ GBP/USD ลงมาถึงแค่จุดต่ำสุดของเดือนกันยายนปี 2019 เท่านั้น รายงานตัวเลขในภาคแรงงานของสหราชอาณาจักรค่อนข้างสับสนเพราะตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับอัตราการว่างงานและการยกเลิกจ้างงานจากนายจ้าง จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่ฮ่องกงพึ่งมีรายงานตัวเลขอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 และมีแผนที่จะสั่งปิดโรงเรียนยาวไปจนถึง 20 เมษายน
กราฟ AUD/USD ร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 16 ปีหลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย (RBA) เผยว่า “กำลังเตรียมเพิ่มมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจออสเตรเลียและจะพิจารณาดำเนินการก่อนการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 7 เมษายน” ก่อนหน้านี้ RBA พึ่งลดอัตราดอกเบี้ยไป 25 จุดเบสิส ค่าเงินของนิวซีแลนด์ที่พึ่งเริ่มขึ้นเพราะรัฐบาลประกาศทุ่มเงินระดับพันล้านในการเข้าช่วยเศรษฐกิจกลับกลายเป็นวิ่งลงสู่จุดต่ำสุดของคู่สกุลเงินในรอบ 10 ปี อนึ่งมาตรการการช่วยเหลือของนิวซีแลนด์เพื่อเพิ่ม GDP 4% ประกอบไปด้วย การลดภาษี เพิ่มรายได้และการลงทุนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ
คู่สกุลเงิน USD/CAD ทะยานขึ้นสู่ 1.40 ซึ่งเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 4 ปีหลังจากที่แคนาดาสั่งปิดชายแดนเพิ่มความกดดันทางเศรษฐกิจเมื่อวานนี้
ฟังข่าวร้ายมาเยอะแล้วเราลองมาดูที่ข่าวดีในรอบ 24 ชั่วโมงกันบ้าง ประเทศจีนมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นเพียง 21 คนเท่านั้นในขณะที่เกาหลีใต้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 84 คนซึ่งทั่งคู่เคยเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาก่อนเมื่อเดือนที่แล้ว ตอนนี้เริ่มมีรายงานตัวเลขผลกระทบที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และต่างประเทศเข้ามาแล้ว โกลด์แมน แซคส์ (NYSE:GS) คาดว่าตัวเลข GDP ของจีนในไตรมาสแรกจะติดลบ 9% เทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้าซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 2.5% บางส่วนของรัฐแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์กซึ่งถือเป็นสองใน 3 รัฐใหญ่มีการสั่งปิดเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้วในสัปดาห์นี้ ผลสำรวจจากเอ็มไพร์ สเตตเมื่อวันจันทร์เผยว่าตัวเลขกิจกรรมด้านการผลิตมีการหดตัวลงอย่างรุนแรง อ้างอิงจากข้อมูลตัวเลขยอดขายปลีกของสหรัฐฯ เมื่อวานนี้มียอดการจับจ่ายใช้สอยในเดือนกุมภาพันธ์ติดลบ 0.5% เช่นเดียวกันกับตัวเลขยอดขายปลีกพื้นฐานที่ลดลง 0.4%
นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยจะเพิ่มขึ้นบ้างหลังจากที่ทางสหรัฐฯ เริ่มผลิตยาที่สามารถใช้ต่อสู้กับไวรัสโคโรนาได้บ้างแต่เพราะปริมาณความต้องการในด้านต่างๆ ยังลดลงอยู่จึงทำให้ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการขายปลีก ร้านค้าหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้ปิดตัวซึ่งจะออกมาในไม่กี่เดือนข้างหน้าต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ และจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้เชื่อว่ากราฟ USD/JPY จะปรับตัวลดลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับราคา 105