โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 6 พฤศจิกายน 2019
ค่าเงินสกุลหลักทั้งหมดต่างอ่อนตัวลงในวันนี้ หลังจากที่มีรายงานออกมาว่าข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้นเลื่อนไปเป็นในเดือนธันวาคม ไม่มีใครประหลาดใจเท่าไหร่นักเพราะว่าเหตุการณ์เลื่อนไปเลื่อนมาแบบนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ได้ออกมาประกาศครั้งแรกเรื่องการลงนามข้อตกลงทางการค้าแต่กลับไม่ได้บอกรายละเอียดที่เป็นลายลักษณ์อักษร นั่นควรเป็นสัญญาณแรกของปัญหา นักลงทุนต่างก็หวังว่า ข้อตกลงจะเลื่อนเรื่องของภาษีที่จะมีผลในวันที่ 15 เดือนธันวาคมนี้ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ กล่าวว่าในเรื่องของภาษีอาจจะยกเลิกได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การรอคอยนั้นคุ้มค่า อย่างไรก็ตามยังไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอน และยังคงมีข้อตกลงสำคัญๆ ที่ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้และอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้มีการยกเลิกข้อตกลงทั้งหมดในนาทีสุดท้าย
แม้ค่าเงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย อ่อนไหวที่สุดในตลาดตามรายงาน แต่คู่สกุลเงิน USD/JPY สกุลเงิน ยูโร ปอนด์ และ ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ก็ปรับลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่สกุลเงิน AUD/USD น่าจะปรับระดับลงมาแตะที่จุด .6850 หากข้อมูลการค้าในคืนนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รายงานเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงของนิวซีแลนด์และแคนาดาน่าจะทำให้ค่าเงินต่างๆ อยู่ในสภาวะกดดัน มีรายงานอัตราการว่างงานของนิวซีแลนด์ออกมาในช่วงคืนที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขเพิ่มขึ้น จาก 3.9% เป็น 4.2% ในไตรมาสที่ 3 และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงหดตัวที่ 0.6% เนื่องจากตลาดแรงงานชะลอตัว ดังนั้นธนาคารกลางนิวซีแลนด์ต้องคิดหนักในเรื่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนปีนี้ และสำหรับสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา การชะลอของภาคกิจกรรมการผลิตนอกจากจะทำให้ธนาคารกลางเริ่มกังวลแล้ว ธนาคารกลางยังต้องทำให้สกุลเงิน USD/CAD ปรับเพิ่มขึ้นไปที่จุด 1.32
วันพฤหัสบดีนี้ต้องจับตามองค่าเงินปอนด์ เนื่องจากมีการปรับลดระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนก่อนการ ประกาศนโยบายการเงินของธนาคารอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษคาดว่าจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยแต่การตัดสินใจอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตารางด้านล่างแสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลในเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่การประชุมนโยบายครั้งล่าสุดยอดค้าปลีกซบเซา อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น การเติบโตของรายได้ชะลอตัว CPI ค่อยเป็นค่อยไป แต่การบริการและกิจกรรมการผลิตดีขึ้น
โอกาสที่จะคงอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่แน่นอน ถ้าหากมีสมาชิก 1 ถึง 2 คนโหวตให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงกระทันหัน เราจะได้เห็นการเทขายเงินปอนด์อย่างดุเดือดแน่นอน รายงานเงินเฟ้อรายไตรมาส จะออกมาหลังจากการประกาศนโยบายทางการเงินซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการคาดการณ์ของตัวเลขการเติบโตและเงินเฟ้อ ตอนนี้สถานการณ์ Brexit ไม่น่าเป็นห่วงเท่าก่อนหน้านี้ แต่ Brexit เองได้ทำให้สถานการณ์การลงทุนและการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่เงินเฟ้อได้ลดลงทั่วโลกนั่นแย่ลงไปเรียบร้อยแล้ว นี่เป็นข้อเสียที่จะทำให้ค่าเงินปอนด์ในวันพฤหัสบดีนี้ลดลง
ไม่มีรายงานเศรษฐกิลสำคัญๆ ออกมาเมื่อวันพุธ แต่ความเห็นที่เป็นบวกจากเฟดยังคงหนุนให้ตลาดดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นสูงกว่าค่าเงินหลักอื่นๆ นั่นรวมไปถึงสกุลเงินยูโร ที่ปรับลดลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน จริงๆ แล้วข้อมูลจากยูโรโซนนั้นดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากคำสั่งซื้อของโรงงานในเยอรมันที่ฟื้นตัวขึ้น ยอดค้าปลีกของ EZ เติบโตขึ้น และ ภาคการผลิต PMO ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลเยอรมันยังคงไม่แน่ใจที่จะปล่อยมาตรการกระตุ้นการคลังและความเสี่ยงของภาษีรถยนต์ทำให้สกุลเงินตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน วันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมนีกล่าวว่า “พวกเขาสามารถดำเนินการได้หากเกิดเหตุการณ์วิกฤติ แต่ตอนนี้ยังไม่มี” การตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์เกี่ยวกับอัตราภาษีของสหภาพยุโรปจะครบกำหนดในเดือนนี้