โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2019
สำหรับตลาดฟอเร็กซ์ในอาทิตย์นี้รับรองได้ว่าคุณจะนั่งไม่ติดอย่างแน่นอนเพราะตลาดจะวุ่นวายมากทีเดียว
มีการตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางใน 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่รายงานเงินเฟ้อ จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และ GDP ส่วน รายงาน PMI ของจีนและรายงานตัวเลขในตลาดเศรษฐกิจอื่นๆจะอยู่ในปฏิทินรายงาน แม้วันจันทร์ตลาดจะเงียบแต่กลับเป็นขาขึ้นของหุ้นทั้งหลายทั้งยังมีการซื้อขายที่สอดคล้องกันในคู่สกุลเงิน USD/JPY ซึ่งเป็นสัญญาณว่านักลงทุนเข้าตลาดด้วยทัศนคติเชิงบวก โดยความเชื่อมั่นนี้ได้แรงหนุนมาจากที่สหภาพยุโรปได้เลื่อนเวลา Brexit ออกไปเป็นอีก 3 เดือน และข้อความจากประธานาธิบดีทรัมป์ถึงข้อตกลงการค้ากับจีนสามารถลงนามในการประชุมเอเปคในเดือนหน้าที่ชิลิ และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ นั้นเป็นสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของโลกในปีนี้ และในขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนใดๆนั้น วันนี้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใน 2 เหตุการณ์นี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีที่พวกเขาเดินหน้าตัดสินใจไปในทางที่ถูก โดยนักลงทุนยังพอใจมากที่ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นสูง
นักลงทุนยังมีความมั่นใจเนื่องจากความคาดหวังของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในอาทิตย์นี้ โดยทั่วไปแล้วการลดอัตราดอกเบี้ยจะมีผลมาจากการที่ค่าเงินต่างๆ อ่อนค่าลงแต่ USD/JPY กลับแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์สูงแตะ 109 โอกาสที่บรรยากาศในวันพุธจะผ่อนคลายเพราะอินดิเคเตอร์ Fed fund futures แสดงราคาสูงถึง 90% การเคลื่อนไหวนี้แนะนำให้นักลงทุนต้องมองหาโอกาสในตลาด การปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนหน้านี้ยังไม่นิ่งนักทำให้โอกาสการเคลื่อนขึ้นของหุ้นและดัชนีจะเจอแรงต้านในตลาดในอาทิตย์นี้ก็มีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการชะลอตัวในภาคการผลิต และ ภาคการบริการ พร้อมกับการลดอัตราเงินเฟ้อนั้นเป็นการส่งไม้ต่อให้ผู้กำหนดนโยบายทางการเงินต้องทำอะไรสักอย่าง อาจจะปรับตัวลดลงเพื่อรอดูผลการประกาศนโยบายการเงินจากเฟดซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วันทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ระดับราคา 109.00
แม้ว่า ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา และ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีการประชุมเชิงนโยบาย จากข้อมูลของทางสหรัฐฯและความต้องการของตลาด สกุลเงิน ดอลลาร์ ควรจะเป็นตัวกำหนดกระแสเงินในสัปดาห์นี้ นอกเหนือจาก FOMC แล้ว GDP ใน ไตรมาสสาม และรายงานจำนวนการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนตุลาคมก็มีกำหนดเผยแพร่เช่นกัน หลายชั่วโมงก่อนที่เฟดคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สามในปีนี้ GDP น่าจะมีผลกระทบต่อค่าสกุลเงินดอลลาร์มากกว่า NFP การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตก็จะช้าลงเช่นกัน แต่การคาดการณ์โดยนักเศรษฐศาสตร์เล็งว่า GDP จะลดลงเหลือ 1.5% จาก 2% ในไตรมาสที่3
ในขณะเดียวกัน สกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในวันนี้คือ สกุลเงินปอนด์ แม้ว่ารัฐสภาสหราชอาณาจักรจะปฏิเสธคำขอของนายกรัฐมนตรีจอห์นสันในการจัดการเลือกตั้งครั้งแรก แต่ตลาดก็ลดความตึงเครียดลงเมื่อสหภาพยุโรปเสนอให้มีการเลื่อนนัดพิจารณา Brexit ออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งอียูยังตัดหัวข้อการเจรจาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงในการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรของนายกรัฐมนตรีจอนห์นสัน ส่งผลให้ขณะนี้นายกรัฐมนตรีจอนห์นสันกำลังเดินหน้าผลักดันเรื่องการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนธันวาคม ซึ่งความสนใจในตอนนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากสถานกาณ์ Brexit ที่จะมีต่อเศรษฐกิจของอังกฤษเอง ในระยะเวลาอันใกล้เราคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการแข็งค่าของเงินปอนด์ แต่ในระยะยาวแน่นอนว่าเศรษฐกิจต้องมีผลกระทบจากการที่สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปแน่นอน
ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่ สกุลเงินเยน และ สกุลเงินฟรังก์ จะเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่าที่สุดในวันนี้. อย่างไรก็ตามสกุลเงิน ดอลลาร์นิซีแลนด์ ก็อยู่ในสภาวะเดียวกัน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ผิดคาด แม้ว่าว่าสถานการณ์ความร่วมมือทางการค้าจาก สหรัฐและจีนนั้นดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ค่าเงินสกุล NZD แข็งค่าขึ้นแต่อย่างได อย่างไรก็ตามธนาคารกลางนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในสองธนาคารกลางที่คาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้และพวกเขาจะเหลือเพียงธนาคารเดียวหลังจากที่เฟดปรับลดแรงหนุนในวันพุธนี