ภาวะการผันผวนของราคาหุ้นของ Netflix (NASDAQ:NFLX) (NASDAQ:NFLX) ในปัจจุบันเริ่มส่ออาการเหมือนเปลวเทียนที่ถูกลมพัดจนใกล้จะดับแหล่ไม่ดับแหล่
เมื่อวานนี้หุ้นของ Netflix ปรับลดลงไปมากกว่า 4% หลังจากที่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมาก็ปรับลดลงไปเกือบ 6.2% ธุรกิจสตรีมมิงยักษ์ใหญ่รายนี้เริ่ม ได้รับผลกระทบ จากภาวะการแข่งขันของคู่แข่งในอุตสาหกรรมสตรีมมิงที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Disney (NYSE:DIS) หรือ Apple (NASDAQ:AAPL) (NASDAQ:AAPL) ก็ตาม
การที่ราคาหุ้นปรับลดลงเมื่อวานนี้นั้นเกิดจากกระแสข่าวที่ว่า Verizon (NYSE:VZ) ได้ร่วมมือกับ Disney ในการ ให้บริการแพ็กเกจ เพื่อรับชมรายการของ Disney Plus ได้ฟรีเป็นเวลาหนึ่งปีกับลูกค้าที่ใช้แพ็กเกจแบบไม่จำกัดในเครือข่ายของ Verizon ซึ่งมีจำนวนอยู่มากถึง 50 ล้านราย รวมไปถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน Fios และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบ้านไร้สายในระบบ 5G อีกด้วย
หลายฝ่ายคิดว่า Netflix น่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งต่อไปได้อยู่ เพราะถือว่าเป็นบริษัทผู้นำที่น่าจะได้เปรียบในเรื่องคอนเทนต์ และหากว่า Disney สามารถไล่ตามขึ้นมาได้ทันจริงๆ ทั้งสองบริษัทก็น่าจะสามารถทำข้อตกลงทางธุรกิจบางอย่างร่วมกันต่อไปได้อีกมาก
ส่วนอีกฝั่งหนึ่งกลับคิดว่า Netflix มีการตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาด เนื่องจากข้อมูลทางด้านเทคนิคชี้ว่า นักลงทุนในตลาดยังชะล่าใจเกินไปในสถานการณ์ที่มีคู่แข่งออกมาเต็มพื้นที่เช่นนี้
ดังนั้นความคิดเห็นจากทั้งสองฝั่งจึงปรากฏให้เห็นในกราฟต่อไปนี้
ในระยะยาวนั้น Netflix มีการสะสมตัวของราคามาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2018 โดยมีการทำจุดสูงสุดได้ลดต่ำลงเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาต่ำสุดก็ยังขยับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน จนมาบรรจบกันในรูปสามเหลี่ยมสมมาตร รูปแบบเช่นนี้ โดยนิยามแล้วหมายความว่า นักลงทุนกำลังลงทุนมากขึ้นทั้งในฝ่ายอุปสงค์และอุปทาน แต่ใครล่ะที่จะเป็นผู้ชนะ? ฝ่ายใดจะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งโดยให้ราคาพุ่งไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้เป็นคนแรก?
ราคาหุ้นของ Netflix ปิดตลาดในเดือนกันยายนได้ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2016 และในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ราคาก็กลับไปอยู่ในรูปแบบเดิมอีกครั้ง ส่วนในสัปดาห์ที่สองก็ยังดิ่งลงต่ำเป็นครั้งที่สาม แต่ก็มีแนวต้านเกิดขึ้นเมื่อเส้น 50 WMA และ 100 WMA ไปปิดอยู่ด้านล่าง ปัจจุบันราคาร่วงลงมาอยู่ด้านล่างของเส้นแนวโน้มขาขึ้นได้เป็นสัปดาห์ที่สอง ซึ่งอาจจะสัญญาณแรกที่จะชี้ว่าราคาเริ่มจะสร้างแนวโน้มขาลง หากราคาต่ำสุดใหม่ยังทำรูปแบบ peak และ trough ที่ลดตัวลงเรื่อยๆ ต่อไป
จากการเทขายในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการดิ่งลงในแนวสามเหลี่ยมเป็นครั้งที่สอง ราคาได้ปรับลดลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลาสองสัปดาห์ ซึ่งในขณะนั้นราคาอยู่ห่างจากเส้น 200 DMA ด้วยระยะไม่ถึง 10% ได้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เคยผ่านเส้น MA สำคัญๆ มาได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2013 จนมาอยู่ในแนวเดียวกันกับระดับต่ำสุดของเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดครั้งแรกในรูปสามเหลี่ยม และเป็นจุดต่ำสุดที่น่าจะทำให้เกิดแนวโน้มขาลงได้เป็นครั้งแรกเช่นกัน ระดับราคานี้จึงเป็นจุดสำคัญที่อาจสร้างแรงกดดันให้สถานการณ์ในตลาดเกิดการพลิกผันได้
กลยุทธ์การซื้อขาย
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ควรรอจนกว่าจะมี peak และ trough เกิดขึ้นครบสองรอบก่อน แต่ไม่ต้องนับรวม peak และ trough ที่เกิดขึ้นในช่วงแนวโน้มขาขึ้นครั้งที่ผ่านมาด้วย
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง อาจตัดสินใจเข้าลงทุนได้เมื่อเห็นว่า trough ลดลงต่ำกว่าระดับราคาต่ำสุดในเดือนธันวาคม โดยให้มี peak และ trough ที่ปรับลดลง 2 รอบ (นับรวม peak และ trough ครั้งก่อนหน้าด้วย) ที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มขาขึ้น
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ควรเปิดสถานะ short เมื่อราคามีการกลับตัวทะลุเส้นแนวโน้มขาลงหรือสามารถไปปิดต่ำกว่ารูปสามเหลี่ยมสมมาตรได้
ตัวอย่างการซื้อขาย – สำหรับการเปิดสถานะ Short
ราคาเข้า: $280
Stop-Loss: $300
ความเสี่ยง: $20
เป้าหมาย: $220
ผลตอบแทน: $60
อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3
หมายเหตุ: การซื้อขายนี้เป็นเป็นตัวอย่างเท่านั้นและไม่รับรองว่าจะช่วยให้ทำกำไรได้เสมอไป การซื้อขายจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องมีการซื้อขายหลายรายการเพื่อให้สามารถนำกำไรจากบางรายการมาชดเชยการขาดทุนของบางรายการได้