💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

เช็คข้อมูล: สัญญาณอันตรายที่ชี้ว่าตลาดกำลังจะสิ้นสุดช่วงขาขึ้น

เผยแพร่ 22/07/2562 14:39

ตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2008 ซึ่งในขณะนั้นดัชนี S&P 500 ปรับตัวลงไปต่ำที่สุดจนแตะระดับ 666 จากนั้นเป็นต้นมา ดัชนี S&P 500 ก็ปรับตัวขึ้นมาได้อย่างมากถึง 340% จนมาทำสถิติสูงสุดตลอดกาลได้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เมื่อตลาดปรับตัวขึ้นมาได้ยาวนานขนาดนี้ จึงเป็นธรรมดาที่นักลงทุนจะเริ่มสงสัยว่าวงจรนี้ใกล้จะสิ้นสุดแล้วหรือยัง วิธีหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวได้คือการพิจารณาจากข้อมูลในอดีต เนื่องจากประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิม การทราบว่าตลาดขาขึ้นเคยสิ้นสุดอย่างไรในอดีตจะช่วยให้สามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

S&P 500

ในช่วงที่มีการกลับตัวเกิดขึ้นในอดีตนั้น หลายคนโทษว่าเกิดจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอ้างอิง นโยบายลดการใช้จ่ายภาครัฐ ความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมือง รวมทั้งหุ้นมีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง เราจึงควรพิจารณาแต่ละเรื่องอีกครั้งเพื่อให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในขณะนี้ได้อย่างถูกต้อง

นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวด

นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเป็นปัจจัยซึ่งทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและตลาดขาขึ้นต้องกลับตัวซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นหนที่สี่ นโยบายนี้สามารถจำกัดความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงไปพร้อมๆ กันได้

ก่อนที่ตลาดขาขึ้นจะต้องสิ้นสุดลงในปี 1937, 1956, 1966, 1968, 1980 และ 1990 มีการนำนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมาใช้ก่อนทุกครั้ง ในปี 1980 นายพอล วอล์คเกอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสมัยนั้นได้ตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็น 20% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อเป็นการลดระดับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ที่ระดับ 13% -14% ลงมา ในขณะที่สามารถควบคุมสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ในระดับ "ที่เหมาะสมกว่าเดิม" ได้ที่ 7% ในปีถัดมา การตัดสินใจดำเนินการดังกล่าวทำให้สหรัฐฯ ต้องประสบสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 1981 รวมทั้งดัชนี S&P 500 ก็ปรับลดลงไปถึง 27% ในช่วงปี 1980-1982 ตัวอย่างอีกครั้งของการนำนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมาใช้ผิดเวลาเกิดขึ้นในปี 1966 ในสมัยของนายวิลเลียม แมคเชสนีย์ ประธานเฟดในยุคนั้น จนทำให้บริษัท ห้างร้าน และประชาชนไม่มีกำลังพอที่จะกู้ยืมสินเชื่อได้ จนทำให้ดัชนี S&P ปรับตัวลดลง 22% ในปี 1966

นโยบายลดการใช้จ่ายภาครัฐ

สาเหตุหลักประการหนึ่งของตลาดในช่วงแรกๆ ในศตวรรษที่ 20 คือการลดการใช้จ่ายภาครัฐลงในปี 1937 และ 1946 การดำเนินการนี้ทำให้ตลาดที่กำลังเป็นขาขึ้นต้องปรับตัวลดลงถึง 60% และ 30% ตามลำดับ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตามแนวคิดแบบเคนส์ซึ่งเคยได้รับความนิยมในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจกล่าวไว้ว่า การลงทุนของรัฐบาลในระบบโครงสร้างพื้นฐานช่วยแก้ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจครั้งรุนแรงในปี 1929 ได้ ในความเป็นจริง การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดการใช้จ่ายลงในปี 1937 และ 1946 เป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นต้องกลับตัวเป็นขาลงในช่วงนั้นเช่นกัน

ความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมืองและราคาน้ำมัน

ความวุ่นวายทางการเมืองและ ราคาน้ำมัน เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถส่งผลเสียกับตลาดขาขึ้นได้ทั้งหมดเสียทีเดียว แต่ก็มีส่วนที่ทำให้ตลาดต้องหยุดชะงักไปหลายครั้งในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ในอดีตที่ผ่านมา มีอยู่ 3 ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์การเมืองและราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมากที่สุดผิดที่ผิดเวลา ในปี 1973 องค์กรกลุ่มประเทศอาหรับผู้ส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม (OAPEC) ตัดสินใจที่จะหยุดส่งน้ำมันในขณะที่สหรัฐฯ กำลังประสบปัญหาที่ไม่สามารถเปลี่ยนเงินดอลลาร์ไปเป็นทองคำได้อย่างที่เคย จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นถึง 39% จนสิ้นสุดตลาดขาขึ้น เหตุการณ์ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นหลังจากเกิดวิกฤติน้ำมันในปี 1979 และเหตุการณ์ที่อิรักโจมตีคูเวตในปี 1990

มูลค่าที่สูงเกินจริง

ในบางครั้ง ราคาหุ้นต่างๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่แท้จริง กรณีเช่นนี้ราคาควรจะปรับลดลงมาเอง มูลค่าที่สูงเกินจริงเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ตลาดขาขึ้นในช่วงปี 1961 และ 2000 ต้องสิ้นสุดลง และเหตุการณ์ทำนองเดียวกันยังเคยเกิดขึ้นในปี 1946 และ 1987 อีกด้วย หากนับตั้งแต่ปี 1946 จนถึงปี 2000 ช่วงเวลา 4 ปีดังกล่าวนับเป็นจำนวน 4 ใน 5 ครั้งที่ตลาดขาขึ้นต้องสิ้นสุดลงในขณะที่ดัชนี S&P 500 มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสูงกว่า 20 ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมากเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว

ยุคที่อินเทอร์เน็ตกำลังเริ่มได้รับความนิยมจนทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูอย่างมากในปี 2000 ถือเป็นตัวอย่างที่ดีอีกกรณีหนึ่ง การที่นักลงทุนพุ่งตัวเข้าซื้อหุ้นอย่างดุเดือดทำให้มูลค่าหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นไม่ยั่งยืน บริษัทอย่าง Pets.com ซึ่งไม่ได้มีชื่อเสียงมากมายนักกลับสามารถระดมทุนได้นับสิบล้านดอลลาร์ แต่มูลค่าทั้งหมดนั้นก็สูญหายไปในในระยะเวลาอันสั้นเมื่อนักลงทุนเริ่มทราบว่าธุรกิจดังกล่าวไม่ได้มีแผนธุรกิจที่ดีพอที่จะสร้างรายได้อย่างยั่งยืนได้

นอกจากนี้ วิกฤติฟองสบู่ด้านที่อยู่อาศัยในปี 2007 ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน เมื่อฟองสบู่ด้านที่อยู่อาศัยแตกจึงทำให้เกิดวิกฤติทางการเงินไปทั่วโลกจนทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นเวลาถึง 2 ปี จนทำให้ดัชนี S&P ปรับลดลงไป 57% ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2007 จนถึงมีนาคมปี 2009

บทสรุป

เมื่อมองกลับมาในช่วงปี 2019 ถือว่าตลาดได้เติบโตในช่วงขาขึ้นมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทุกคนจึงมีสิทธิ์ในการตั้งคำถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะสิ้นสุด แม้ว่าปัจจัยด้านลบที่ไม่มีใครคาดคิดอาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่ในขณะนี้โอกาสที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงสูงกว่าการปรับเพิ่ม ดังนั้นจึงน่าจะทำให้เกิดความสบายใจไปได้อีกเปราะหนึ่ง

ทางด้านการใช้จ่ายของภาครัฐนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นประจำทุกปีๆ ละประมาณ 100,000 ล้านเหรียญ และยังไม่มีท่าทีว่าจะมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงแต่อย่างใด แต่ความตึงเครียดทางด้านภูมิศาสตร์การเมือง รวมถึงราคาน้ำมันยังน่าเป็นห่วง โดยมีจีน เกาหลีเหนือ และอิหร่านเป็นปัจจัยสำคัญ

เมื่อพิจารณาในเรื่องมูลค่าของหุ้นจากระดับราคาในตลาดปัจจุบันถือว่าค่อนข้างสูง ดัชนี S&P 500 มีอัตราราคาต่อกำไรอยู่ที่ 22 ซึ่งนับว่าสูงว่าอัตราเฉลี่ยในอดีตซึ่งอยู่ที่ 15.75 มูลค่าตลาดหุ้นรวมเมื่อเทียบกับจีดีพีอยู่ที่ 143% เกือบจะถึงจุดสูงสุดที่เคยทำได้ในยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟูที่ระดับ 148%

แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป? โดยทั่วไป ตลาดมักจะสามารถทนทานต่อสภาวะที่หุ้นมีมูลค่าสูงเกินจริงได้ในช่วงระยะหนึ่ง และในส่วนของปัญหาทางด้านภูมิศาสตร์การเมือง โอกาสที่จะเกิดสงครามและความรุนแรงนั้นก็ยังเป็นไปได้ยาก เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีตถึงเหตุผลที่ทำให้ตลาดขาขึ้นต้องสิ้นสุดลงแล้วนั้นทำให้ทราบว่า ตราบใดที่เฟดยังคงคอยให้การสนับสนุน ตลาดก็จะยังไปต่อได้ แต่เมื่อใดที่หยุดการช่วยเหลือก็ย่อมมีโอกาสสูงที่จะเกิดความเสี่ยงในการปรับฐานได้อย่างน้อยถึง 20% เลยทีเดียว

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย