💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

เงินบาทที่แข็งค่า (เทียบดอลลาร์สหรัฐ) ใครเสียหรือใครได้ประโยชน์

เผยแพร่ 18/07/2562 08:45

เมื่อธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป ...

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 18 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศว่าในปี 19 นี้จะทำการขึ้นดอกเบี้ยเป็นจำนวน 2 ครั้งด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดีภายหลังจากนั้นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแรงลงไม่ว่าจะจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน มี.ค. 19 ที่เพิ่มขึ้นเพียง 3.3 หมื่นตำแหน่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี นอกจากภาคแรงงานแล้วยังเห็นสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตโดยดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐที่สำรวจโดย Markit ลดลงต่อเนื่องจากระดับ 56.5 ในเดือน เมษายน 18 จนกระทั่งเดือน พ.ค. 19 อยู่ที่ 50.5 นับเป็นการลดลงต่อเนื่องจนกระทั่งวันที่ 16 มิ.ย. 19 ซึ่งเป็นวันที่ธนาคารกลางสหรัฐประชุมใหญ่ประจำไตรมาสปรากฎว่าเริ่มเห็นสัญญาณของการลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป อาทิ คณะกรรมการของเฟดจำนวนกว่า 8 ท่านเห็นสมควรให้ลดดอกเบี้ยลง โดย 1 ท่านเห็นสมควรให้ลดดอกเบี้ยลง 1 ครั้ง ขณะที่อีก 7 ท่าน เห็นสมควรให้ลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง ส่วนอีก 8 ท่านมองว่าคงดอกเบี้ยทั้งปีเหมาะสมแล้วและอีก 1 ท่านเห็นว่าควรขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ท่าน

แต่อย่างไรก็ดีแม้เสียงการลดดอกเบี้ยกับคงดอกเบี้ยจะดูเท่าๆกัน แต่ผลการประชุมเดือน มี.ค. กลับพบว่า คณะกรรมการกว่า 11 ท่านเห็นสมควรให้คงดอกเบี้ยทั้งปี 19 เหมาะสมแล้ว ดังนั้นจากผลการประชุมเดือน มิ.ย. ที่ค่อนข้างเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. ส่งสัญญาณถึงโอกาสลดดอกเบี้ยสหรัฐและทำให้นักลงทุนวิตกต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐในระยะต่อไป ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐมายังสินทรัพย์สกุลเงินอื่นทั่วโลก เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยของ FED ส่งผลให้ผลตอบแทนจากพันธบัตรสหรัฐมีค่าต่ำลง ประกอบกับ เป็นการสื่อถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่แย่ลงจึงต้องมีการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งปรากฎว่าประเทศไทยเองที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเกิดใหม่หรือที่เรามักได้ยินว่า EM (Emerging Market) โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 19 (5M19) ประเทศไทยมีดุลการค้า (มูลค่าส่งออก-มูลค่านำเข้า) ที่เกินดุลกว่า 728 ล้านดอลลาร์สหรัฐสวนทางกับอินโดนีเซีย (หนึ่งใน EM) ที่มีผลขาดดุลการค้า 5M19 กว่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้กระทั่งฟิลิปปินส์เองก็มีการขาดดุลการค้าและที่สำคัญขาดดุลการค้าสูงถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (อิงข้อมูลจาก 4M19 เนื่องจากเดือน 5 ยังไม่มีข้อมูล)

จากการที่ประเทศไทยมีดุลการค้าที่เกินดุลและสวนทางกับบางประเทศใน EM ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งพักเงินชั้นดีของนักลงทุนต่างประเทศ โดยที่เมื่อนักลงทุนต่างประเทศต้องการมาลงทุนในไทยสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการแปลงสกุลเงินจากดอลลาร์สหรัฐให้เป็นบาท ดังนั้นเมื่อกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจะส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยมีความต้องการสูงขึ้น (เงินบาทแข็งค่าขึ้น) เดิมทีก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐวันที่ 16 มิ.ย. อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 31.2 บาท / 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ล่าสุดอยู่ที่ 30.6 บาท / 1 ดอลลาร์สหรัฐ (แข็งค่าขึ้น 2%) ดังนั้นเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ประการแรกผู้ที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งค่าคือ "ผู้นำเข้า" เดิมทีหากผู้นำเข้าได้ทำการขนสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาคิดเป็นมูลค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องนำเงินบาทเพื่อไปแลกดอลลาร์สหรัฐที่ 31.2 บาท แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าเป็น 30.6 บาท / 1 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้นำเข้ายังคงนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในมูลค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่าเดิม แต่ครั้งนี้ใช้จำนวนเงินบาทเพียง 30.6 บาท เท่านั้น จะเห็นว่าต้นทุนของผู้นำเข้าลดลงชัดเจนและเช่นเดียวกันผู้ได้ประโยชน์ถัดมาคือนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการเดินทางไปยังต่างประเทศ

ถัดมาคือนักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยทั้ง ประเภท Portfolio investment (ลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้) และนักลงทุนต่างชาติที่นำเงินมาลงทุนในการค้าขายภายในประเทศก็ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นด้วย โดยได้รับประโยชน์จากการลงทุน 2 ต่อโดย ประการแรก ได้รับผลตอบแทนจากตราสารหนี้หรือกำไรจากการค้าขาย ประการที่สองคือ ผลตอบแทนจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติสามารถแลกเงินกลับเป็นสกุลเงินของประเทศตนเองได้มากขึ้น

เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ย่อมมีผู้เสียผลประโยชน์ตามมาโดยผู้ที่เสียผลประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า คือ "ผู้ส่งออก" เดิมทีผู้ส่งออกขายสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศและมักจะใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐในการแลกเปลี่ยน เมื่อผู้ส่งออกขายสินค้าออกไป สมมติว่าได้เงินจากการขายสินค้าครั้งนี้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ส่งออกจำเป็นที่จะต้องแปลงจากดอลลาร์สหรัฐให้กลับเป็นเงินบาทเดิมทีหากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.2 บาท ผู้ส่งออกจะมีรายได้จากการขายครั้งนี้ที่ 31.2 บาท (1 ดอลลาร์สหรัฐ) แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นผู้ส่งออกรับรายได้จากต่างประเทศที่เท่าเดิม (1 ดอลลาร์สหรัฐ) แต่กลายเป็นว่าเมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาทกลับเหลือรายได้เพียง 30.6 บาท ดังนั้นท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่าค่าเงินบาทที่ได้ยินกันตามสื่อต่างๆส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย