โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 18 มิถุนายน 2019
การประชุมของธนาคารกลาง ที่จัดขึ้นในเดือนนี้เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางและยังจะมีการคาดการณ์สภาวะทางเศรษฐกิจและพยากรณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตประกาศออกมาให้ทราบด้วย โดยนายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเป็นผู้รับหน้าที่ออกมา แถลงข่าว กับสื่อมวลชน ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีกลุ่มผู้สื่อข่าวรุมตั้งคำถามเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีการแถลงออกมาอย่างแน่นอน ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานายพาวเวลล์กล่าวว่า สภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังคงมีการเติบโตได้ แต่หากปัญหาทางด้านสงครามการค้าลุกลามบานปลายก็จะ “ดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ต่อไป” ถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้คำว่า “ลดอัตราดอกเบี้ย” แต่นักลงทุนก็นำไป ตีความ ในตลาดว่าเป็นการใช้นโยบายเชิงผ่อนปรนอย่างแน่นอน ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าดอกเบี้ยนโยบายเชื่อว่าจะมีโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่สิ้นสุดในเดือนกันยายนถึง 95% เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลในเดือนมีนาคมจะเห็นว่าการพยากรณ์ว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นในปีนี้นั้นมีค่าลดลงจากสองกลายเป็นศูนย์ ในเวลานั้นมีคณะกรรมการจำนวน 11 คนจากทั้งหมด 17 คนที่เชื่อว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในปี 2019 การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากความกังวลของคณะกรรมการเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ การใช้จ่ายในภาคครัวเรือน รวมถึงปริมาณการลงทุนทีอาจจะต่ำเกินไป ในเดือนพฤษภาคม นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงได้ออกมาแถลงจุดยืนโดยไม่กล่าวถึงการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนปรนแต่อย่างใด แต่กล่าวว่า “นโยบายที่ใช้ในขณะนี้เหมาะสมแล้ว” และ “เรายังไม่พบว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดอย่างชัดเจนในตอนนี้”
ค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นไปในทิศทางใดก็อยู่ที่ท่าทีของนายพาวเวลล์ว่าจะยังคงคำพูดนี้ไว้ต่อไปหรือเปลี่ยนไปใช้คำอื่นที่อาจทำให้ตลาดเกิดการ คาดกรณ์ ว่าจะเป็น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในความเป็นจริง ธนาคารกลางน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเดิมไว้ต่อไปในช่วงตลอดระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ เว้นเสียแต่ว่าตลาดหุ้นจะตกลงไป 15-20% อีกระลอก หรือจะมีปริมาณการจ้างงานลดลงและมีปริมาณผู้ตกงานสูงขึ้นแทน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลใดที่ชี้ว่าตลาดแรงงานจะมีการชะลอตัวแต่อย่างใด ยอดขายปลีกยังคงมีเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม และการใช้จ่ายในเดือนเมษายนก็ปรับตัวจากที่ติดลบกลายมาเป็นบวกได้ หุ้นก็ยังคงดึงดูดให้มีการเข้าซื้อได้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีนก็ยังคงมีความเสถียรอยู่ ส่วนของสหรัฐฯ เองนั้นก็เพิ่งเริ่มที่จะมีความตึงเครียดเกิดขึ้นเพียงช่วงแรกเท่านั้น การที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงนั้นก็กลับเป็นการช่วยให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นได้ด้วยซ้ำ ด้วยปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว นายพาวเวลล์จึงไม่น่าที่จะใช้นโยบายทางการเงินเชิงผ่อนปรนเพราะแม้ว่าเขาจะเคยออกมาพูดว่าจะมีการดำเนินการให้เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อไปได้ เขาก็ได้อธิบายแล้วว่าเศรษฐกิจในขณะนี้ยังคงเติบโตได้ จำนวนผู้ว่างงานยังต่ำ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงที่ ดังนั้นข้อสรุปที่ได้จากการประชุมในเดือนนี้ก็คือธนาคารกลางยังไม่มีแผนที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลานี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากเกิดความผิดพลาดในการตีความและนายพาวเวลล์อาจจะต้องการสื่อให้เห็นถึงโอกาสที่จะมีการใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงินก็ได้ เพราะหากพิจารณาจากข้อมูลในตารางด้านล่างนี้แล้วก็จะพบว่าเศรษฐกิจโดยรวมนับตั้งแต่มีการประชุมครั้งที่แล้วก็เริ่มชะลอตัวลงจริงๆ คณะกรรมการที่เหลือทั้ง 6 คนที่เคยสนับสนุนให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 อาจเปลี่ยนใจก็เป็นได้
ในการพิจารณาของคณะกรรมการตลาดเสรีกลาง สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากคือการพยากรณ์อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น รวมทั้ง การคาดการณ์ ของนายพาวเวลล์ หากมีคณะกรรมการที่สนับสนุนว่าไม่ควรปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 3 หรือ 4 คน หรือ มีบางคนที่เห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เงิน ดอลลาร์สหรัฐ อาจดิ่งลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการคาดการณ์นั้นได้รับการสนับสนุนจากประธานธนาคารกลาง ในกรณีนี้ USD/JPY อาจร่วงลงไปอยู่ที่ 107.50 และ EUR/USD อาจทะลุกรอบขึ้นไปอยู่เหนือ 1.1350 ได้ อย่างไรก็ตามหากนายพาวเวลล์ยังคงยืนยันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง และการพยากรณ์อัตราดอกเบี้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็น่าจะฟื้นตัวขึ้นได้และอาจฉุดให้ USD/JPY ขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 109 รวมทั้ง EUR/USD ก็จะไปอยู่ที่ 1.10
ในสถานการณ์ที่ธนาคารกลางไม่ใช้นโยบายเชิงผ่อนปรนเช่นนี้ เงิน ยูโร อาจปรับตัวขึ้นไปแข็งค่ามากที่สุดได้เนื่อจากนายดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เคยกล่าวไว้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นแผนการอย่างหนึ่งของ ECB “หากตัวเลขที่คาดการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น ก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ ช่วยอีกทาง” ซึ่งทำให้ EUR/USD ดิ่งลงอย่างหนัก การที่จะมีการนำนโยบายแบบผ่อนปรนมาใช้ก็เมื่อเห็นว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจนั้นเริ่มแย่ลง จากข้อมูลใน ผลการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจของสถาบัน ZEW ในยูโรโซนพบว่ามีตัวเลขที่ลดลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา ในขณะเดียวกันข้อมูลตัวเลขของเยอรมนีก็ตกต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือนเช่นกัน ดัชนีราคาผู้บริโภค ยังชะลอตัวเนื่องจากมีภาวะ เกินดุลการค้า น้อยลง ข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดเป็นไปตามที่ธนาคารกลางเยอรมนีเคยออกมาเตือนในช่วงที่มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสแรก ดังนั้นหากธนาคารกลางสหรัฐฯ เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่เมื่อ ECB ตัดสินใจปรับลดก็อาจทำให้ EUR/USD ไปอยู่ที่ 1.10 ได้