- หุ้นยังคงมีความผันผวนจากปัจจัยในทิศทางตรงกันข้าม
-
ตลาดหุ้นยังทำกำไรรายสัปดาห์ได้โดยมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างต่ำ ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรกำลังจะไปทดสอบที่จุดต่ำสุดของเดือนมิถุนายนอีกครั้ง
-
นักลงทุนด้านน้ำมันคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาดจะยังคงซบเซา
ความตึงเครียดทางการค้าและความกังวลเกี่ยวกับ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็น 2 ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนขึ้นลงตลอดเวลา แม้ว่าล่าสุดราคาตลาดจะปรับตัวขึ้นไปปิดตลาดสูงกว่าสัปดาห์ที่แล้วได้เล็กน้อย โดยหุ้นขนาดเล็กต่างๆ ยังทำผลงานได้ดีขึ้น ซึ่งก็ดูสมเหตุสมผล เนื่องจากความตึงเครียดด้านสงครามทางการค้าและการตอบโต้กันไปมาในด้านภาษีเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบกับหุ้นขนาดใหญ่ การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นอาจทำให้หุ้นขนาดใหญ่กลับมาฟื้นตัวได้แต่ ดอลลาร์สหรัฐ จะอ่อนตัวลง
แม้ว่าตัวเลข ยอดขายปลีก ที่ประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์จะมีค่าที่ดีขึ้น แต่การที่หลายฝ่ายยังเชื่อว่าน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นทำให้การฟื้นตัวในวันพฤหัสบดีไปไม่ถึงฝัน ดัชนี S&P 500, Dow Jones, NASDAQ และ Russell 2000 ปรับตัวลดลงทุกดัชนีในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีการซื้อขายกันในกรอบแคบๆ ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ในระหว่างที่มีการรอฟัง การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย จากธนาคารกลางสหรัฐฯ
เราเชื่อว่าธนาคารกลางจะพยายามสร้างความสมดุลไม่ให้ตลาดเกิดความตื่นตระหนกจนเกินไปแต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ซึ่งการใช้นโยบายทางด้านดอกเบี้ยจะช่วยปรับให้เกิดความเสถียรในด้าน การจ้างงาน และราคาได้ แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนพอสมควร หากธนาคารกลางตัดสินใจที่จะไม่ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอย่างที่ตลาดต้องการ ราคาในตลาดก็จะปรับตัวลดลงอีกเนื่องจากราคาปัจจุบันไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้นั่นเอง
หุ้นและพันธบัตรยังปรับตัวสวนกระแส
เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับตัวสูงขึ้นของราคา น้ำมัน ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการชะลอตัวลง หลังจากที่มีการโจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากความขัดแย้งทางทหารที่ทำให้กองทัพเรือจากสหราชอาณาจักร วางแผนการ ในการส่งนาวิกโยธินเข้าไปปกป้องเรือของอังกฤษ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักลงทุนที่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวจะส่งผลกับความต้องการใช้พลังงาน เพราะแม้ว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์จะดีขึ้นก็ตาม แต่ราคาน้ำมันแทบจะไม่ขยับตัวขึ้นได้เลย
ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นยังคงสวนกระแสต่อไป โดยดัชนี S&P 500 และ Dow ยังคงปรับตัวสูงขึ้นได้เป็นสัปดาห์ที่สอง โดยปรับขึ้นมาได้ประมาณ 2% ส่วนผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวลดลงไปน้อยกว่าจุดเบสิส 1 จุด เมื่อเทียบกับระดับเดิมในวันที่ 3 มิถุนายน จึงถือว่าร่วงลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2017 เป็นต้นมา
จากข้อมูลทางเทคนิค ผลตอบแทนพันธบัตรในรุ่น 10 ปี อาจทำรูปแบบธงขาขึ้นเรียบร้อยแล้ว และเริ่มที่จะกลับตัวเป็นขาลงหลังจากที่ปรับตัวลดลง 15% ในช่วงวันที่ 21 พฤษภาคมถึง 3 มิถุนายนซึ่งบ่งบอกว่าเป็นการเคลื่อนไหวขาลงเพื่อไปแตะระดับทดสอบสำคัญที่ 2.00% อีกครั้งก่อนที่จะร่วงลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา
จะว่าไปแล้ว สถานการณ์ตลาดที่ขัดแย้งเช่นนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากสภาพเศรษฐกิจเลย เนื่องจากทั้งตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นต่างก็เดินสวนกระแสขึ้นแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดการชะลอตัวลง
นักลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้ว การสวนกระแสที่เกิดขึ้นจึงชี้ให้เห็นถึงจุดประสงค์ที่แตกต่างกันของนักลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภท โดยนักลงทุนในตลาดพันธบัตรพยายามเพิ่มกำลังความต้องการก่อนที่จะเกิดการชะลอตัว ในขณะที่นักลงทุนในตลาดหุ้นมีการซื้อขายกันในสถานการณ์ที่ทราบดีอยู่แล้วว่ากำลังมีการชะลอตัว และหวังว่าราคาที่ถูกกว่าในตอนนี้จะเพิ่มสูงขึ้นไปได้อีกในอนาคตโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ
แต่ทั้งสองตลาดก็ย่อมนำเอาปัจจัยในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปพิจารณาแล้วเช่นกัน แม้ว่า เราจะเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ ตั้งแต่ต้นแล้วก็ตาม
ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นได้ในสภาวะการซื้อขายที่เบาบาง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยังคงเคลื่อนที่รายวันโดยไร้ทิศทางไปตามกระแสข่าวในตลาด โดยในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์มีการปรับตัวขึ้นไปอยู่สูงกว่าเดิม เนื่องจากนักลงทุนยังคงดีใจกับข่าวการชะลอการเก็บภาษีนำเข้าของเม็กซิโก
แต่ในวันอังคารและวันพุธ นักลงทุนก็เริ่มกลับมากังวลกับข้อพิพาทในสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอีกครั้ง และในวันพฤหัสบดีก็มีเรื่องตัวเลข จำนวนผู้ว่างงาน ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งข้อถกเถียงเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางให้ได้ประหลาดใจกันอีก
อย่างไรก็ตามเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนกลับไปให้ความสำคัญกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อีกครั้ง เมื่อเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเริ่มที่จะซาไป เมื่อเทียบกับตัวเลข การใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่เพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 2 ใน 3 ของ จีดีพี ซึ่งก็ดูเหมือนว่าผู้บริโภคจะยังคงมีการจับจ่ายใช้สอยเพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้อีก
แต่แม้ว่าดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ แต่ปริมาณการซื้อขายกลับน้อยลง โดยเราสังเกตเห็นว่ามีธงขาขึ้นเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 6.3% ภายในระยะเวลา 7 วัน
รูปแบบของราคาที่เกิดขึ้นก็ดูดีมากเช่นกัน โดยราคามีการปรับตัวขึ้นไปอยู่สูงกว่าจุดสูงสุดของเดือนพฤษภาคม จึงเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการทำกำไรและเป็นจุดรองรับความต้องการสำหรับผู้ที่ยังจำได้ว่าเคยมีการปรับลดจากระดับนี้ลงไปเกือบ 5%ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งอาจจะเกิดลักษณะเดียวกันขึ้นได้อีกครั้งหากยังมีรูปแบบต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไป
นอกจากนี้ระดับแนวรับของราคายังคงอยู่เหนือเส้น 50 DMA ได้ตลอด 5 วันที่ผ่านมา โดยการไปอยู่ที่ระดับ 26,000 ทำให้ทราบว่าระดับนี้เป็นระดับที่มีความสำคัญ แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าจะเกิดธงขาลงนั้น เราก็สังเกตเห็นปริมาณการซื้อขายด้วยเช่นกัน
การทำรูปแบบธงที่น่าเชื่อถือนั้น ธงจะต้องมีปริมาณการซื้อขายเป็นเสาธง การปรับตัวของราคาจะแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ และการหันเหของราคาจะเป็นตัวบอกทิศทาง อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ ปริมาณการซื้อขายยังคงน้อยลงตลอดเวลาซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังขาดกำลังซื้อที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวได้