โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2019
ตัวเลข การผลิตภาคอุตสาหกรรม ของยูโรโซนมักจะไม่ค่อยมีผลกับค่าเงิน ยูโร มากนัก แต่เนื่องจากในช่วง 3 วันที่ผ่านมามีการซื้อขายกันอยู่ในช่วงแคบๆ และการที่ราคาไม่สามารถขยับขึ้นได้อาจทำให้ตัวเลขการรายงานในวันพฤหัสบดีส่งผลกับตลาดได้มากกว่าที่เคย หากว่าตัวเลข การผลิตภาคอุตสาหกรรม ของเยอรมันปรับตัวลดลงอีก ก็จะทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนไม่เพียงแต่จะตกต่ำลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เท่านั้น แต่การหดตัวลงครั้งนี้อาจมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังชะลอตัวทำให้ธนาคารกลางยุโรปเกิดความกังวล แม้ว่าตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเป็นจำนวนๆ หนึ่งที่ดูเหมือนไม่มีความหมายอะไรมากนัก แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากของยูโรโซนในสัปดาห์นี้ และยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับดัชนี PMI อื่นๆ ที่จะตามออกมาในสัปดาห์หน้าด้วย หากการผลิตภาคอุตสาหกรรมอ่อนตัวลงกว่าที่คาดไว้ EUR/USD อาจร่วงลงไปอยู่ในช่วง 1.13 ถึง 1.1250 ได้ ในทางเทคนิค ราคาของเงินคู่นี้ยังมีเส้น SMA 200 วันประกบด้านบนเอาไว้อยู่ และในวันพุธก็มีการปูทางไว้สำหรับเตรียมปรับตัวได้อีกครั้ง แต่คาดว่าจะไม่มีการเทขาย EUR/USD ออกมาในช่วงก่อนถึงกำหนดการรายงานตัวเลข ยอดขายปลีก ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้
ภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงซบเซาลงเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตามองว่าปริมาณการจ้างงานที่น้อยลงจะมีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยหรือไม่ นักลงทุนไม่ให้ความสนใจกับตัวเลขเงินเฟ้อมากนักเนื่องจากมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าจะปรับลดลงอีก โดยเมื่อเปรียบเทียบ ปีต่อปี จะพบว่าปรับลดจากเดิม 2% เป็น 1.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ตรงกับที่หลายฝ่ายพยากรณ์ไว้ อย่างไรก็ตามตัวเลข ยอดขายปลีก เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม หากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.5% ดอลลาร์สหรัฐ ก็น่าจะปรับตัวลงอีกครั้ง และอาจทำให้ USD/JPY ปรับตัวไปอยู่ที่ 108 ได้ รวมทั้ง EUR/USD ก็จะดีดขึ้นไปอยู่เหนือ 1.1350 การที่ ราคาน้ำมัน ปรับลดลง รวมทั้งหาก ค่าจ้าง และ การจ้างงาน ยังคงชะลอตัวย่อมไม่ส่งผลดีกับค่าเงิน USD อย่างแน่นอน ส่วนของ USD/JPY ยังค่อนข้างเป็นไปตามทิศทางของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตัวเลขยอดขายปลีกจะเป็นตัวกำหนดความสมดุลให้กับสกุลเงินคู่นี้
โปรดจับตามองเงิน ฟรังค์สวิส ในวันพฤหัสบดีให้ดีเนื่องจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) จะมี ประกาศนโยบายด้านการเงิน ออกมาให้ทราบ โดยในปีที่ผ่านมา การคาดการณ์ของ SNB ก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก โดยเชื่อว่าการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจำเป็นกับอนาคตที่ยังคาดการณ์ได้ในช่วงนี้ โดยจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ -0.75% พร้อมทั้งเผยว่าอาจจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายต่อไปอีกหากค่าเงินฟรังค์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา CHF ปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับ EUR
ในขณะเดียวกัน เงิน 3 สกุลหลักที่ปรับตัวไปตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาดิ่งลงยางมากในวันพุธที่ผ่านมา โดย ดอลลาร์ออสเตรเลีย อ่อนตัวลงมากที่สุด เนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลว่า รายงานตัวเลขการจ้างงาน ที่จะประกาศออกมาในคืนวันพุธนั้นจะไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งจะทำให้เกิดการเทขายออกมาอีก แต่ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแรง ธนาคารกลางออสเตรเลียระบุชัดเจนว่าจะต้องดำเนินนโยบาย ผ่อนคลาย ทางการเงินอีกครั้ง แต่เมื่อดูจากดัชนี PMI ปริมาณการจ้างงานใน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต, ภาคบริการ และการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ดังนั้นถึงหน้าจะเป็นโอกาสดีที่อาจทำให้เกิดการกลับตัวขึ้นได้ แม้ว่าปริมาณการจ้างงานสุทธิจะยังน้อยกว่าเดือนก่อนหน้านี้ก็ตาม เนื่องจากปริมาณตำแหน่งงานแบบเต็มเวลาที่ยังคงสูงขึ้นน่าจะช่วยผลักดันค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียไปได้ แต่หากดัชนี PMI เกิดความผิดพลาดและการรายงานตัวเลขปริมาณตำแหน่งงานต่ำกว่าที่คาดไว้แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ AUD/USD กลับไปยืนที่ระดับ 69 เซ็นต์ได้ ในส่วนของ ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ก็ปรับตัวลงเช่นกัน แต่ก็ถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับ AUD และ CAD การที่ ราคาน้ำมัน ปรับตัวลง 4% นั้นทำให้ USD/CAD เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปริมาณการเก็บน้ำมันสำรองที่ยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกอาจส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันลดน้อยลงได้