ดาวโจนส์ร่วงวันที่ 2 บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด

เผยแพร่ 23/10/2567 03:46
© Reuters.  ดาวโจนส์ร่วงวันที่ 2 บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด
US500
-
DJI
-
IN10YT=RR
-

InfoQuest - ดัชนีดาวโจนส์เปิดตลาดในแดนลบ ปรับตัวลงเป็นวันที่ 2 โดยถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งได้บดบังการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน

ณ เวลา 20.35 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 42,843.78 จุด ลบ 87.82 จุด หรือ 0.2%

หากตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดตลาดปรับตัวลงในวันนี้ จะส่งผลให้ดัชนี S&P 500 ร่วงลงติดต่อกัน 2 วัน ซึ่งจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.

นักลงทุนยังคงจับตาการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน

บริษัทจำนวน 19% ในดัชนี S&P 500 ได้เปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 3/2567 แล้ว โดยบริษัทมากกว่า 70% จากจำนวนดังกล่าวมีกำไรสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดวานนี้ดิ่งลงกว่า 300 จุด โดยถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ

ทั้งนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งใช้อ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยจำนองของสหรัฐ จะทำให้ผู้บริโภคมีเงินสำหรับการใช้จ่ายลดน้อยลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินกู้จำนองเพิ่มมากขึ้น และบริษัทต่างๆจะเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการชำระหนี้ ทำให้บริษัทเหล่านี้ลดการลงทุน และลดการจ่ายเงินปันผลแก่นักลงทุน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นทะลุระดับ 4.2% ในวันนี้ หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายรายต่างเรียกร้องให้ใช้ความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

นางแมรี ดาลี ประธานเฟด สาขาซานฟรานซิสโก, นางลอรี โลแกน ประธานเฟด สาขาดัลลัส, นายนีล แคชแครี ประธานเฟด สาขามินนีแอโพลิส และนายเจฟฟรีย์ ชมิด ประธานเฟด สาขาแคนซัสซิตี ต่างกล่าวสนับสนุนให้เฟดดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง และปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 89.0% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ในการประชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 66.8% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเดือนธ.ค.

หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนพ.ย.และเดือนธ.ค.ตามคาด ก็จะสอดคล้องกับคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ของเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ภายในสิ้นปีนี้

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในปี 2568 และลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในปี 2569

โดยรวมแล้ว Dot Plot บ่งชี้ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2.00% หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 18 ก.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย