InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.01 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัว อ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 32.84 บาท/ดอลลาร์ เย็นนี้ เงินบาทกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ได้ โดยเคลื่อนไหวตามแรงซื้อขายดอลลาร์ ระหว่างวันเงิน บาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.71 - 33.06 บาท/ดอลลาร์ "ช่วงบ่าย บาทแข็งค่าลงไปทำนิวโลว์ในรอบ 10 เดือน ที่ระดับ 32.71 ก็มีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามาเป็นจำนวนมาก ส่ง ผลให้บาทกลับมาปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า" นักบริหารเงิน กล่าว ช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยคืนนี้ตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการ และนักลงทุนรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 18 ม.ค.66 นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.80 - 33.10 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 128.31 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 128.09 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0821 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0836 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,684.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.13 จุด, +0.19% มูลค่าการซื้อขาย 59,214.07 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 441.77 ล้านบาท (SET+MAI) - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.30 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่คาดว่าอาจจะพิจารณาทบทวนนโยบายการเงินแบบผ่อน คลายมากเป็นพิเศษ - นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ กล่าวว่า การเปิดประเทศของจีนจะเป็นแรงกระตุ้น การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกนั้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของยอด การใช้จ่ายในภาคครัวเรือน และการลงทุน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพยุงการค้าโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อุปสงค์ในกลุ่มชาติ ตะวันตกเผชิญกับความไม่แน่นอน - องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้จีนเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศ เพิ่มเติม หลังจากที่จีนรายงานเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ม.ค.ว่า ตรวจพบผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 เกือบ 60,000 ราย นับ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธ.ค.65 - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลก หลังจากเคยขับ เคลื่อนด้วยระบบโลกาภิวัตน์ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจบั่นทอนตัวเลข GDP โลกสูงถึง 7% โดยอาจบั่นทอน 8% - 12% ในบางประเทศ หากมีการแบ่งแยกทางเทคโนโลยีร่วมด้วย - การประชุมเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ เริ่มเปิดฉากแล้วในวันนี้ (16 ม.ค.) ภายใต้หัวข้อ "Cooperation in a Fragmented World" โดยคาดว่าการประชุมในปีนี้ จะมีการหารือกันเกี่ยวกับแนวทางหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนพลังงาน - ตลาดการเงินทั่วโลก จับตาผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 18 ม.ค.นี้ ขณะที่เทรดเดอร์คาด การณ์ว่าคณะกรรมการ BOJ อาจจะปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control - YCC) อีกครั้งในการ ประชุมครั้งนี้ หรืออาจจะประกาศยกเลิกนโยบาย YCC หลังจาก BOJ เคยปรับนโยบาย YCC ไปแล้วด้วยการขยายกรอบอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในการประชุมเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.65 - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตการจ้างงานทั่วโลก จะชะลอตัวลงอย่าง รวดเร็วสู่ระดับ 1% ในปีนี้ เทียบกับ 2% ในปี 2565 เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง ขึ้น และนโยบายการเงินรัดกุมยิ่งขึ้น พร้อมคาดว่าจำนวนผู้ว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านคน สู่ระดับ 208 ล้านคนในปีนี้ - รัสเซียและเบลารุส จะเริ่มปฏิบัติการซ้อมรบร่วมทางอากาศในวันนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลในยูเครน และกลุ่มชาติ ตะวันตกว่า รัสเซียอาจใช้เบลารุสเป็นฐานที่มั่นแห่งใหม่ในการจู่โจมยูเครน