โดย Zhang Mengying
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเช้าวันศุกร์ในเอเชีย ผลจากความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมได้ลดลง
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 0.03% เป็น 108.57 เมื่อเวลา 00:41 น. ET (4:41 น. GMT) ดัชนีดอลลาร์ อยู่ในทิศทางที่ทำกำไรเป็นสัปดาห์ที่ 3 เพิ่มขึ้น 1.58% จากวันศุกร์ที่แล้ว
“แรงซื้อยังคงอยู่กับดอลลาร์สหรัฐ” ฌอน คัลโลว์ นักยุทธศาสตร์ด้านสกุลเงินของ Westpac กล่าวกับรอยเตอร์ส โดยคาดการณ์ว่าขอบเขตของดัชนีค่าเงินดอลลาร์จะอยู่บน 111 ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
“FOMC จะต้องรักษานโยบายการเงินที่ดุดัน ในการประชุมเดือนก.ค.และอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้ผลตอบแทนดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น”
USD/JPY ขยับขึ้น 0.08% เป็น 139.01 ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะคงนโยบายผ่อนปรนเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไป
AUD/USD ขยับลง 0.04% เป็น 0.6744 และ NZD/USD ขยับขึ้น 0.11% เป็น 0.6136
USD/CNY ขยับขึ้น 0.10% เป็น 6.7634 ขณะที่ GBP/USD ขยับขึ้น 0.08% เป็น 1.1832
EUR/USD ขยับขึ้น 0.13% เป็น 1.0029 ยูโรโซนกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายลง เนื่องจากรัสเซียปิดท่อส่งก๊าซเพื่อการบำรุงรักษาตามรอบปกติเป็นเวลา 1 สัปดาห์
ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
นักลงทุนได้เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยขนาดใหญ่พิเศษในการประชุมเดือนกรกฎาคมในวันที่ 26-27 ก.ค. หลังจากรายงานข้อมูลที่เปิดเผยในวันพุธพบว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ผู้ว่าการเฟด คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ และประธานเฟดแห่งเซนต์หลุยส์ เจมส์ บุลลาร์ด กล่าวว่าพวกเขาสนับสนุนการปรับขึ้นค่าพื้นฐานอีก 75 จุดในเดือนนี้ แม้ว่าจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อแล้วก็ตาม
ในเอเชียแปซิฟิก ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนขยายตัว 0.4% ในไตรมาสที่สองของปี 2022 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากมีการบังคับใช้มาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด19 ในประเทศ
ค่าเงินบาท USD/THB อ่อนค่าต่อเนื่อง เปิดตลาดช่วงเช้า +0.36% ที่ 36.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ