โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นของยุโรปเมื่อวันพฤหัสบดี โดยไต่ผ่านระดับที่สำคัญเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงจุดยืนของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
เมื่อเวลา 3:10 น. ET (07.10 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายสูงขึ้น 0.4% เป็น 103.400 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี
นอกจากนี้ USD/JPY เพิ่มขึ้น 1.5% เป็น 130.30 ทะลุระดับ 130 ซึ่งถูกมองว่าเป็นอุปสรรคสำคัญทางด้านจิตใจ จนถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่ปี 2002
เป็นไปตามธนาคารกลางญี่ปุ่นที่เพิ่มการซื้อพันธบัตรรอบล่าสุด โดยเสนอให้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไม่จำกัดจำนวน เพื่อพยายามรักษาอัตราผลตอบแทนมาตรฐานไว้
ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ -0.10% ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีการกระชับนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศต่อไป สิ่งนี้ตรงกันข้ามกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งได้เริ่มใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้นแล้ว และ มีการคาดหวังอย่างกว้าวขวาง ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 50 คะแนนพื้นฐานในสัปดาห์หน้า
แม้ว่าจะมีการคาดการณ์บางอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจทำเพื่อจัดการต่อการอ่อนค่าของสกุลเงินของตน แต่ธนาคารกลางได้เพิ่มนโยบายให้ผลตอบแทนต่ำเป็นสองเท่า
“เรายังคงเน้นย้ำว่าการแทรกแซงค่าเงินจะไม่ทำโต้ง ๆ และจะต้องประสานงานกับประเทศ G10 อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเฟด/การคลัง” นักวิเคราะห์จาก ING กล่าวในหมายเหตุ
การประชุมนโยบาย ถึง 2 วันของเฟดจะเริ่มในวันอังคาร แต่การเปิดเผยข้อมูล GDP ของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดได้เช่นกัน ตลาดคาดว่าจะเติบโต 1.1% ในไตรมาสแรก ชะลอตัวจากการเติบโต 6.9% ในไตรมาสก่อน แต่ความเสี่ยงอยู่ที่ขาลงหลังจากการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และบ่งบอกถึงเสียกำไรอย่างมากจากการส่งออกสุทธิ
EUR/USD ลดลง 0.3% เป็น 1.0519 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ส่งผลให้การขาดทุนของสกุลเงินยูโรในเดือนนี้อยู่ที่ประมาณ 5% จนถึงขณะนี้ ถือว่าแย่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2015
สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากการตัดสินใจของรัสเซียที่จะหยุดการส่งก๊าซไปยังโปแลนด์และบัลแกเรียตั้งแต่วันพุธ ท่ามกลางความขัดแย้งเรื่องการจ่ายเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป
การเคลื่อนไหวนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ธนาคารกลางยุโรปไม่เต็มใจที่จะปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น ปล่อยให้ค่าเงินยูโรมีความเปราะบางเมื่อคิดถึงว่านโยบายของเฟดนั้นมีความกระชับอย่างไรบ้าง
ในทำนองเดียวกัน GBP/USD ลดลง 0.1% เป็น 1.2533 เนื่องจากผู้ค้ายังคงผ่อนคลายสถานะขาขึ้นก่อนการประชุมของ ธนาคารกลางอังกฤษ ในสัปดาห์หน้าท่ามกลางความกังวลว่าธนาคารกลางของสหราชอาณาจักรจะหยุดการพูดคุยเรื่องเครื่องมือกระชับการเงินหลังจากตัวเลขขายปลีกที่อ่อนแอ
USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.7% เป็น 6.604 แรงหนุนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ขณะที่ AUD/USD เพิ่มขึ้น 0.22% เป็น 0.7142 โดยที่ค่าเงินของออสเตรเลียยังคงเดิมหลังจากรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งในช่วงเซสชั่นก่อนหน้าที่ชี้ให้เห็นถึงการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยท่มกลางข้อกังวลว่าการชะลอตัวในประเทศจีนจะทำให้อุปสงค์สำหรับพลังงานธรรมชาติลดลง