โดย วณิชชา สุมานัส
Investing.com - เงินบาทไทยวันนี้ (10 กันยายน) เปิดตลาดเช้าที่ 32.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และไม่เปลี่ยนแปลงมากระหว่างวัน นักวิเคราะห์มองว่า ในส่วนของภาพทางเทคนิครายสัปดาห์แล้ว เงินบาทแนวโน้มเริ่มกลับมาเป็นบวก จะอยู่ในช่วงพักตัวช่วงสั้น ๆ และหากมองภาพรายวัน เงินบาทยังสามารถพลิกกลับขึ้นมาได้หลังจากทำจุดต่ำสุดที่ 32 บาทต่อดอลลาร์ และเด้งกลับขึ้นมา แต่ยังไม่ผ่านกลุ่มค่าเฉลี่ยที่กลับมาในตัวเชิงลบ
เงินบาทวันนี้ มองว่าจะแกว่งอยู่ในกรอบ 32.6-32.7 บาทต่อดอลลาร์ โดยในช่วงที่ผ่านมา เงินบาทมีการชะลอการแข็งค่า เนื่องจาก ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ มีการพลิกกลับมาภายใต้การคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางหลัก ๆ โดยเฉพาะในฝั่งของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) จะมีการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ธนาคารกลางของสหรัฐ (Fed) มีประเด็นเรื่องการปรับลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันตลาดเงินสหรัฐ โดยช่วงนี้จะเห็นเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลโลกอื่น ๆ โดยล่าสุดดัชนีดอลลาร์ (Dollar Index) ปรับตัวลดลงใกล้แตะ 92.50 จุด ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามการให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี
นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น สาเหตุหลักมาจากการที่นักลงทุนคาดการณ์กันว่า การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันที่ 23 กันยายนที่จะถึงนี้ อาจมีการส่งสัญญาณการทะยอยปรับลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) รวมถึงการใช้นโยบายทางการอื่น ๆ ที่เข้มงานขึ้นด้วย
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ จะเห็นว่า ช่วงนี้ ค่าเงินบาทมีพลิกกลับมาอ่อนค่าเล็กน้อย ซึ่งนับแบบในระยะสั้น ๆ จะเห็นว่ามีการชะลอตัวหน่อย จาก 32.7 ลงมา 32.67 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งก็ไม่ได้เยอะมาก ระหว่างวัน เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนในฝั่งอ่อนค่าได้มากกว่า จากการที่นักลงทุนต่างชาติทะยอยเทขายสินทรัพย์ไทยเพื่อทำกำไร โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นนักลงทุนต่างชาติพากันเทขยายกำไรหุ้นและพันธบัตรไทยมากขึ้น
สำหรับทิศทางของเงินบาท มองว่า บาทก็ยังจะแกว่งอยู่ในกรอบ 32.5-33.5 บาทต่อดอลลาร์ และมีความเป็นไปได้มากที่เงินบาทจะค่อนข้างไปทางอ่อนค่าได้อีก เนื่องจาก ตอนนี้ มีการเก็งกำไรในส่วนของการเปิดเมืองมาก รวมถึงเก็งกำไรในเรื่องของปัจจัยบวกไว้มากเช่นกัน
โดยปัจจัยที่จะผลต่อเงินบาทในช่วงนี้คือสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มไม่นิ่ง หลังจากที่เมื่อคืนที่ผ่านมา มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งจุดนี้เป็นการส่งสัญญาณอีกว่า ยังจะมีปัญอื่น ๆ อีกที่ต้องให้นักลงทุนต้องติดตามเพิ่มเติม เช่น จะมีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ หรือจะมีคลื่นใต้นำ้อื่น ๆ หรือไม่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีการพลิกกลับมาอ่อนได้หากนักลงทุนต่างชาติมองสถานการณ์บ้างเมือง ซึ่งมีทั้งการชุมนุมทางการเมืองอยู่แล้ว ยังมามีนักการเมืองในพรรคเดียวกันแถลงลาออกอีก เหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้ค่าเงินบาทมาอ่อนค่าลงได้อีก
ส่วนปัจจัยอื่นที่จะทำให้ค่าเงินบาทมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในตลาดเงินได้ ก็จะเป็นเรื่องของ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาจะพบว่า ถ้าจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง เงินบาทจะแข็ง ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้มีความสัมพันธ์กันถึง 90% และอีกปัจจัยที่ต้องจับตาคือ ธนาคารกลางยุโรปหากตัวสินใจทำ QE ได้เร็วกว่าอเมริกา เนื่องจากค่าเงินยูโรอยู่ในตะกร้าของ Dollar Index ค่อนข้างมากก็จะทำให้ Dollar Index อ่อนค่า เป็นผลให้เงินบาทต่อดอลลาร์อาจจะกลับมาแข็งได้
และนอกจากนี้ ปัจจุบัน จะเห็นว่า ผู้นำเข้าต่างทะยอยเข้ามาซื้อดอลลาร์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้เงินบาทไทยในปริมาณที่ต้องการ หากเงินบาทกลับมาแข็งค่าใกล้ระดับที่ต้องการ (Buy on Dip)