🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

บาทหลุดแนว 33.30 อ่อนสุดในรอบ 3 ปี โบรกชี้ ยังอ่อนต่อเนื่อง

เผยแพร่ 06/08/2564 14:10
อัพเดท 06/08/2564 14:17
© Reuters.
EUR/THB
-
USD/THB
-

โดย วณิชชา สุมานัส

Investing.com – ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และลงไปแตะ 33.30 ในเวลาต่อมา อ่อนค่าสุดรอบ 2 ปี 10 เดือนนับจากเดือนตุลาคม 2561 หลังตัวเลขโควิดพุ่งรายวัน และผู้นำเข้าแห่ซื้อดอลลาร์มากขึ้น ก่อนดีดแตะ 33.5 บาทต่อดอลลาร์เแล้วในช่วงบ่าย

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย ชี้ว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแรงซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าที่อาจเข้ามาเร่งปิดความเสี่ยงเนื่องจากกังวลว่า เงินบาทอาจจะอ่อนค่าเร็วและแรง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่นักลงทุนยังคงโยกเงินออกจากประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโควิด-19 ที่ยังควบคุมไม่ได้ หรือการที่การท่องเที่ยวยังซบเซาทำให้ไทยกำลังขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ

นายพูน ยังกล่าวอีกว่า อาจเห็นเงินบาทอ่อนค่าหลุดแนว 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก หากสถานการณ์การระบาดยังคงเลวร้ายต่อเนื่อง และเงินดอลลาร์ยังคงมีโมเมนตัมขาขึ้นอยู่ ซึ่งอาจจะหนุนด้วยคำแถลงการณ์จากเฟดที่ต่างออกมาสนับสนุนการทยอยลด QE ในปีนี้ หรือรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ พลิกกลับมาดีกว่าคาด ในขณะที่ แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะ ยุโรป อาจชะลอตัวลง จากปัญหาการระบาดของ COVID-19

นายพูน ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เงินบาทจะยังไม่เห็นโอกาสกลับมาพลิกกลับเทรนด์มาแข็งค่าได้ในเร็วนี้ ทำให้ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งก็อาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน ซึ่งมองว่า เงินบาทวันนี้อาจแกว่งอยู่ในกรอบ 33.25-33.35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทางด้าน นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าเช้าวันนี้ว่า เงินบาทอ่อนค่าผ่านแนว 33.30 บาทต่อดอลลาร์ ไปที่ระดับ 33.37 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้า นับเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี (นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นมา) และอ่อนค่าต่อเนื่องจากระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.25 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางสัญญาณเสี่ยงของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศซึ่งเป็นข้อจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และต่อเนื่องในปีหน้า

ส่วนค่าเงินบาทไทยเทียบกับเงินยูโร ในวันนี้ เงินบาทอยู่ที่ 39.6004 บาทต่อยูโร ณ สิ้นวันทำการวันพฤหัสบดี (5 สิงหาคม 64) เทียบกับ ณ สิ้นวันทำการวันพุธ (4 สิงหาคม 64) อยู่ที่ระดับ 39.6466 บาทต่อยูโร (แข็งค่า 0.0462 บาทต่อยูโร)  

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย