โดย Barani Krishnan
Investing.com - ภาพรวมของตลาดพลังงานและโลหะมีค่าในสัปดาห์นี้มีดังต่อไปนี้
ภาพรวมตลาดพลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค ได้ออกมายอมรับเมื่อวันศุกร์ว่า การลดกำลังการผลิตของรัสเซียอาจไม่ถึงระดับที่กลุ่มโอเปกได้กำหนดไว้ ถือเป็นการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ที่สั่นสะเทือนขาขึ้นของราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่แล้ว
และที่แย่ไปกว่านั้น การออกมายอมรับผิดของรัสเซียตามมาหลังจากผลสำรวจของรอยเตอร์ชี้ว่า กำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกในเดือนสิงหาคมนั้นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2019 ทว่าผลสำรวจดังกล่าวระบุว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากอิรักและไนจีเรีย เนื่องจากรัสเซียเป็นเพียงแค่พันธมิตรของกลุ่มโอเปกเท่านั้น ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปกแต่อย่างใด โดยในผลสำรวจเผยว่าเดือนนี้กลุ่มโอเปกมีกำลังการผลิตน้ำมันในอัตรา 29.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นมา 80,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนกรกฎาคม
ในที่สุดก็ถึงช่วงวันหยุดเทศกาลวันแรงงานสหรัฐฯ อันเป็นจุดสิ้นสุดของฤดูร้อนที่อุปสงค์น้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงสุดของปี และเตรียมเปลี่ยนผ่านสู่ฤดูใบไม้ร่วงที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ รายสัปดาห์จะเริ่มลดลงเพียงเล็กน้อย คำถามคือช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้หรือไม่ ถึงกระนั้นผู้ลงทุนที่เชื่อมั่นในตลาดหมีต่างก็ภาวนาให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์แรกของเดือนกันยายนดิ่งลงฮวบ เพราะเมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเห็นได้ว่าอุปสงค์น้ำมันที่แข็งแกร่งน่าจะยังคงอยู่ต่อไปอีกราวสองสามสัปดาห์
ปีที่แล้วช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ ได้รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ลดลงไปถึง 5.8 ล้านบาร์เรล แต่อีกสี่สัปดาห์ให้หลัง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง และลดลงไปทั้งหมด 14.2 ล้านบาร์เรล
ทางด้านสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมปี 2017 ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ กลับไม่ลดลงเสียดื้อ ๆ ก่อนที่อีกสามสัปดาห์ให้หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเวลาสามสัปดาห์ติด ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มขึ้นเกือบ 15 ล้านบาร์เรล แต่สี่สัปดาห์หลังจากนั้นปริมาณน้ำมันดิบก็ลดลงจากส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจนเกือบหมด
ฉะนั้นในปีนี้สัญญาณเตือนถึงแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในปีนี้คือ กำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง อ้างอิงจากข้อมูลของ EIA แล้วพบว่า กำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ได้พุ่งขึ้นทำสถิติที่ 12.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ฉะนั้นการส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ อาจออกมาแข็งแกร่งอีกเดือนก็เป็นได้ โดยช่วงที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ มักอยู่เหนือระดับ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็แตะระดับ 3.0 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์สัปดาห์ก่อนก็ยังระบุอีกว่า ขณะนี้เกาหลีใต้เริ่มทดลองสั่งซื้อน้ำมันจากสหรัฐฯ เพื่อทดแทนการสั่งซื้อน้ำมันจากอิหร่านแล้ว
ปีนี้ราคาสัญญา WTI พุ่งขึ้นมาถึง 21% แต่มีราคาปิดเมื่อวันศุกร์ที่ $55.10 ต่อบาร์เรล อยู่ต่ำกว่าจุดสุงสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ $66.60 ราว 20%
ปฏิทินตลาดพลังงานสัปดาห์นี้
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน
วันหยุดเทศกาลวันแรงงานสหรัฐฯ
วันอังคารที่ 3 กันยายน
ตัวเลขคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จาก Genscape Cushing (ข้อมูลภาคเอกชน)
วันพุธที่ 4 กันยายน
รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์จาก สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน
รายงาน ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ รายสัปดาห์ จาก EIA
รายงาน ปริมาณก๊าซธรรมชาติรายสัปดาห์ จาก EIA
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน
จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันรายสัปดาห์จาก Baker Hughes
ภาพรวมตลาดโลหะมีค่า
สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ในเดือนสิงหาคมพุ่งขึ้นมาถึง 6.4% ถึงแม้ว่าจะลดลงมาจากการพุ่งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ 7.8% แต่ก็ถือเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ถือครองสัญญาซื้อ เนื่องจากตลอดเดือนสิงหาคมทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็พากันทวีความรุนแรงของสงครามด้วยการขึ้นภาษีศุลกากรอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ก็เพิ่งเริ่มจะคลี่คลายลงเมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือน โดยคณะรัฐจากจีนได้เผยเมื่อวันศุกร์ว่า ตัวแทนการเจรจาทางการค้าจากทั้งสองฝ่ายนั้นสามารถ "ดำรงไว้ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ" แม้ว่าคณะรัฐบาลของทรัมป์ได้เตรียมตัวเรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากจีนครั้งใหม่เมื่อวานนี้ก็ตาม
นอกจากนี้ราคาทองคำยังขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบหกปีที่ $1,564.95 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ห่างแค่เพียงไม่ถึง $350 ก็จะทำระดับสูงสุดครั้งใหม่ในประวัติการณ์ได้แล้ว และสูงกว่าระดับสูงสุดเดิมเมื่อปี 2011 ที่ $1,911.60 แม้จะยังไม่แน่นอนว่าราคาทองคำจะพุ่งขึ้นทำระดับสูงสุดครั้งใหม่ได้ก่อนสิ้นปีนี้หรือไม่ แต่สงครามการค้าและความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ก็ยังคงส่งแรงหนุนให้กับผู้ลงทุนทองอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ราคาทองคำก็ได้ปรับขึ้นมาแล้ว 16.5%
ขณะนี้ตลาดก็ยังคงเดิมพันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะลดอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุดเมื่อถึงเวลาการประชุมนโยบายทางการเงินในวันที่ 17-18 กันยายน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมักจะเป็นแรงหนุนให้แก่ราคาทองคำ
การให้คำกล่าวของประธานเฟดจากมินนิอาโปลิส นายนีล คัชคารี, ประธานเฟดจากนิวยอร์ก นายจอห์น วิลเลียมส์ และประธานเฟดจากชิคาโก นายอีวานส์ ที่มีกำหนดการในวันพุธนี้ก็จะช่วยให้ตลาดเห็นทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ปฏิทินตลาดโลหะมีค่าสัปดาห์นี้
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน
วันหยุดเทศกาลวันแรงงานสหรัฐฯ
ดัชนี PMI ภาคการผลิตฝั่งยูโรโซน (ส.ค.)
ดัชนี PPI ฝั่งยูโรโซน (ก.ค.)
วันอังคารที่ 3 กันยายน
ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM ของสหรัฐฯ (ส.ค.)
วันพุธที่ 4 กันยายน
สมาชิกเฟด นายโรเซนเกรน ให้คำกล่าว
ดัชนี Markit Composite ของฝั่งยูโรโซน
ยอดค้าปลีกฝั่งยูโรโซน
ดุลการค้าสหรัฐฯ (ก.ค.)
สมาชิกเฟด นายวิลเลียมส์ ให้คำกล่าว
สมาชิกเฟด นายคัชคารี ให้คำกล่าว
ประธานเฟดจากชิคาโก นายอิวานส์ ให้คำกล่าว
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์
ดัชนี PMI นอกภาคการผลิต ISM จากสหรัฐฯ (ส.ค.)
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ (เดือนต่อเดือน)
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ (ก.ค.)
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (ส.ค.)
ภาพรวมตลาดแรงงานฝั่งยูโรโซน (Q2)