BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 32.75-33.50 ผันผวนตามทองคำ

เผยแพร่ 23/09/2567 19:48
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 32.75-33.50 ผันผวนตามทองคำ
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-33.50 บาท/ดอลลาร์

โดยเงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.03 บาท/ดอลลาร์ หลังจากซื้อขายในช่วง 33.02-33.52 บาท/ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 19 เดือนครั้งใหม่ เนื่องจากเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ ยกเว้นเงินเยน และฟรังก์สวิสในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย 50bp สู่ 4.75-5.00% โดยถือเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี ขณะที่เฟดเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงสู่เป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ประธานเฟดระบุว่าไม่เห็นสัญญาณใด ๆ ในเวลานี้ที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย และการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้ดำเนินนโยบายที่จะรักษาความแข็งแกร่งของภาคแรงงานต่อไป และเฟดต้องการป้องกันปัญหาล่วงหน้า

ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ยที่ 0.25% ตามคาด ขณะที่ตลาดตีความสัญญาณจาก BOJ ว่ายังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 5,865 ล้านบาท และ 9,975 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับสถานการณ์ตลาดในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะติดตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดและเงินเฟ้อ PCE เดือนส.ค.ของสหรัฐฯ เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ต่อไป แต่จากประมาณการล่าสุดของเฟดสะท้อนว่าเฟดอาจจะลดดอกเบี้ยลงอีก 50bp สู่ 4.25-4.50% ในช่วงปลายปีนี้ 100bp ในปี 2568 และอีก 50bp ในปี 2569 สู่ 2.75-3.00% ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดของวัฏจักร

ขณะที่ตลาดคาดว่าดอกเบี้ยเฟดจะแตะระดับ 2.85% ช่วงสิ้นปี 2568 ซึ่งเร็วกว่า dot plot ของเฟดถึง 1 ปี บ่งชี้ว่าดอลลาร์อาจมีจังหวะฟื้นตัวขึ้นได้บ้างหากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาดีเกินคาด นอกจากนี้เรามองว่าราคาทองคำในตลาดโลกจะยังคงสร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาท

ส่วนประเด็นในประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่าไทยไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามสหรัฐฯ โดยจะพิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ซึ่งภาพรวมด้านต่าง ๆ ขณะนี้ยังสอดคล้องกับที่ ธปท.ประเมินไว้ แต่ยอมรับว่าคุณภาพสินเชื่อมีความเสี่ยงสูงขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบต่อกำไรของภาคธุรกิจ อนึ่ง จากท่าทีดังกล่าว เราคงมุมมองที่ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มตรึงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ในการประชุมรอบถัดไปวันที่ 16 ตุลาคม

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย