🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.03 แข็งค่าตามภูมิภาค สัปดาห์หน้าจ่อหลุด 33 บ. ให้กรอบ 32.95-33.25

เผยแพร่ 21/09/2567 00:32
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.03 แข็งค่าตามภูมิภาค สัปดาห์หน้าจ่อหลุด 33 บ. ให้กรอบ 32.95-33.25
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.03 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.12 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.01-33.15 บาท/ ดอลลาร์ ซึ่งยังเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.50% จึงทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบ กับเงินสกุลหลัก นอกจากนี้ ราคาทองคำในตลาดโลกวันนี้ ก็ทำ All time high อีกครั้ง "บาทยังมีทิศทางแข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค ปิดวันนี้ ก็ยังคงแข็งค่าสุดในรอบ 19 เดือน จากผลของเฟดที่ลดดอกเบี้ยแบบ Big size ส่วนสัปดาห์หน้า ก็มีโอกาสที่จะได้เห็นเงินบาทที่ 32 บาทได้" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า ในสัปดาห์หน้าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่า มีลุ้นจะหลุด 33 บาท โดยให้กรอบที่ 32.95-33.25 บาท/ ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.88 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.38 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1161 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1159 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,451.69 จุด ลดลง 3.15 จุด (-0.22%) มูลค่าซื้อขายราว 67,577.19 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,419.97 ล้านบาท - ผู้ว่าฯ ธปท. ยอมรับว่าเงินบาทแข็งค่าค่อนข้างเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระทบ กับทั่วโลก แต่ในไทยนั้นมีปัจจัยเฉพาะเพิ่มเข้ามา คือ ราคาทองคำ ซึ่งเงินบาทมีความสัมพันธ์กับราคาทองคำมากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค รวมทั้งการเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้น - ผู้ว่าฯ ธปท.ชี้ ไม่จำเป็นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว ไทยจะต้องลดดอกเบี้ยตามเสมอไป เพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ fix ค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐเหมือนกับในบางประเทศ ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยจะต้องคำนึงถึงหลาย ปัจจัย ซึ่ง 3 ปัจจัยหลักที่ กนง.ใช้ประกอบการตัดสินใจ คือ แนวโน้มเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งปัจจุบัน ปัจจัยทั้ง 3 ตัวนี้ ยังเป็นไปตามมุมมองเดิมที่เคยประเมินไว้ และยังยึดหลัก Outlook dependent มากกว่า Data dependent แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้ยึดติด หาก Outlook เปลี่ยนไป ก็พร้อมที่จะปรับนโยบายดอกเบี้ย - ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันนี้ ยังไม่สามารถลงมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวัน ละ 400 บาทได้ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 โดยตัวแทนภาครัฐขาดไป 4 คน และตัวแทนลูกจ้างไม่มา 2 คน จึงต้องนัดประชุม ใหม่อีกครั้งวันที่ 24 ก.ย. - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ที่ 2.6% จากแรงหนุนการฟื้นตัวส่งออก ท่องเที่ยว และมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โดยเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก จากปัจจัยฐานของการส่งออกและ การลงทุน และการท่องเที่ยวช่วงฤดูกาล (High Season) รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ - ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เขาคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ต่อไป พร้อมกับให้คำมั่นว่าคณะบริหารของเขาจะเดินหน้าผลักดันให้ต้นทุนการดำรงชีวิตของชาวอเมริกันปรับตัวลดง - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ และได้ปรับเพิ่ม การประเมินการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงความเชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเปิดทางให้ BOJ สามารถ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี เอาไว้ที่ระดับ 3.35% และ คงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ที่ระดับ 3.85%

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย