🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.27 พลิกแข็งค่ารับเม็ดเงินไหลเข้า รอความชัดเจนดอกเบี้ยเฟดคืนนี้

เผยแพร่ 19/09/2567 00:39
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.27 พลิกแข็งค่ารับเม็ดเงินไหลเข้า รอความชัดเจนดอกเบี้ยเฟดคืนนี้
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.27 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.41 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตร 9.7 พันล้านบาท ระหว่าง วันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.26 - 33.41 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินภูมิภาคในวันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม หลังธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 6% เนื่องจากตลาดยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ช่วงกลางดึกคืนนี้ว่าจะ เป็น 0.25% หรือ 0.50% นอกจากนี้ยังต้องรอดูการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจจากประธานเฟดด้วย "หลังจากบาทอ่อนค่าในช่วงเช้าแล้วเริ่มทยอยแข็งค่าในช่วงบ่ายเนื่องจากมา Flow ไฟเข้ามาลงทุนในพันธบัตรระยะยาว" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.10 - 33.40 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.63 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.85 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1138 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1122 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,435.77 จุด ลดลง 0.83 จุด, -0.06% มูลค่าซื้อขาย 56,598.24 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,483.13 ล้านบาท - รมว.คลัง นัดหารือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องกรอบเงินเฟ้อ เร็วๆ นี้ โดยจุดยืนของกระทรวงการ คลัง เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเริ่มดีขึ้น และรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจน สะท้อนจากความเชื่อมั่นต่าง ๆ เช่น ความเชื่อมั่นใน ตลาดทุนที่เริ่มกลับมา ดังนั้นจึงอาจเป็นจังหวะเหมาะที่ต้องเร่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่แม้จะมีการเติบ โต แต่ก็ยังเป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเห็นว่าหากเศรษฐกิจไทยมีความพร้อมในหลายมิติแล้ว ก็อยากจะเห็นการปรับกรอบเงิน เฟ้อเพิ่มขึ้นอีก - รมว.คลัง คาดสิ้นปีงบประมาณ 2568 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ราว 66% ภายใต้อัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ (GDP) ที่ระดับ 3% จากปัจจุบันหนี้สาธารณะอยู่ที่ 63% ต่อ GDP และสิ้นปีงบประมาณ 2567 อยู่ที่ 65% ต่อ GDP โดย สถานการณ์จะเริ่มนิ่งในปีงบประมาณ 2569 และปรับตัวลดลงในปีงบประมาณ 2570 - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.67 อยู่ที่ 87.7 ลดลง จากระดับ 89.3 ในเดือนก.ค.67 เนื่องจากมีหลายปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือนที่ลดลง 23.71% ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90.8% ต่อ GDP ในไตรมาส 1/2567 - รมช.พาณิชย์ เผยการส่งออกข้าวไทยปีนี้อยู่ในทิศทางที่ดี โดยช่วง 7 เดือนแรกส่งออกไปได้แล้วปริมาณ 5.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 21.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีนี้จะสามารถส่งออกข้าวได้เกินที่คาดการณ์ไว้ 8.2 ล้านตัน - ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6% ในการประชุมวันนี้ (18 ก.ย.) ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ - สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เผยเงินเฟ้อของอังกฤษทรงตัวในเดือน ส.ค.อยู่ที่ระดับ 2.2% ซึ่งเป็นระดับเดียว กับในเดือนก.ค.และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ส่วนในเดือนพ.ค.และมิ.ย. ดัชนี CPI ทั่วไปอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งสอดคล้องกับ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) - หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบริษัท Ameriprise Financial Services ในรัฐมิชิแกน ระบุว่า นักลงทุนจับตาผลการ ประชุมเฟดในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด โดยขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจก่อให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ หรือทำให้เกิดความกังวล เพิ่มขึ้นว่าเฟดดำเนินการช้าเกินไปในการทำให้เศรษฐกิจรอดพ้นจากภาวะถดถอย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย