InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.74 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดลาดที่ระดับ 33.81 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ระหว่างวันอยู่ในกรอบ 33.67-33.81 บาท/ดอลลาร์ สำหรับ การแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาวันนี้ ไม่ได้มีผลมากนักต่อทิศทางค่าเงินบาท โดยตลาดตอบรับกับปัจจัยต่างประเทศมากกว่า ว่าธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า หลังการเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนส.ค.ของสหรัฐ ออกมาสูงกว่าตลาดคาด "แถลงนโยบายรัฐบาล มีผลต่อค่าเงินค่อนข้างจำกัด แต่ตลาดตอบรับกับเฟดมากกว่า ที่มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ย 0.25% ใน การประชุมครั้งหน้า หลังจาก Core CPI สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด ทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์ตั้งแต่เมื่อวาน ต่อเนื่องจนถึงวันนี้" นัก บริหารเงิน ระบุ โดยคืนนี้ ตลาดรอติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งคาดว่าจะลดดอกเบี้ย 0.25% และจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ รวมทั้งดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. นักบริหารเงิน คาดกรอบเงินบาทพรุ่งนี้ จะอยู่ที่ระดับ 33.65-33.85 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.39 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1015 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1009 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,421.58 จุด เพิ่มขึ้น 6.17 จุด (+0.44%) มูลค่าการซื้อขาย 47,509.74 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 898.58 ลบ. (SET+MAI) - นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ยืนยันเจตนารมณ์และนโยบายรัฐบาลสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสในการพัฒนา และสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประชาชนทุกคน โดยนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องทำทันที ประกอบด้วย 1. ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ 2. สนับสนุนผู้ประกอบการไทย SMEs 3. ลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค 4. การนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษีและเศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบภาษี 5. กระตุ้น เศรษฐกิจโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 6. เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตรและราคาพืชผลเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร 7. ส่งเสริมการท่อง เที่ยว 8. แก้ปัญหายาเสพติด 9. เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม 10. ส่งเสริมศักยภาพและจัดสวัสดิการสังคม - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.67 อยู่ที่ 56.6 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 13 เดือน นับ ตั้งแต่เดือน ส.ค.66 โดยผู้บริโภคยังกังวลภาวะเศรษฐกิจไทย นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ยังไม่ชัดเจน ตลอดจนปัญหาความขัด แย้งในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย - ม.หอการค้าไทย ประเมินผลกระทบสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ รวมเหตุการณ์ล่าสุดที่เชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พื้นที่เศรษฐกิจ ทำให้คาดว่ามูลค่าความเสียหายอาจเพิ่มขึ้นเป็นระดับหมื่นล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ ได้รวมผลกระทบที่เกิดจากการเสียโอกาส ในด้านการท่องเที่ยวไว้แล้ว - นาโอกิ ทามูระ หนึ่งในกรรมการของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า BOJ จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ ระดับ 1% เป็นอย่างน้อย เพื่อหลีกความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมมองว่า โอกาสที่ญี่ปุ่นจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ของ BOJ อย่างยั่งยืนนั้นกำลังอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น - โพลนักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00% ในการ ประชุมสัปดาห์หน้า แต่คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย. แม้ว่าเงินเฟ้อของอังกฤษมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวเหนือเป้าหมายของ BoE ที่ระดับ 2% - คืนนี้ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้ ผลิต (PPI) เดือนส.ค. ส่วนฝั่งยุโรป ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ยนโยบาย