🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.81 แนวโน้มผันผวน ติดตามการแถลงนโยบายรัฐบาล-ตัวเลขศก.สหรัฐ-ประชุม ECB

เผยแพร่ 12/09/2567 16:28
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.81 แนวโน้มผันผวน ติดตามการแถลงนโยบายรัฐบาล-ตัวเลขศก.สหรัฐ-ประชุม ECB
EUR/USD
-
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.81 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปิดวันก่อนที่ระดับ 33.69 บาท/ดอลลาร์ ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และการปรับขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ซึ่งกดดันให้ราคาทองคำลดลงราว -20 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังตลาดปรับลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ย -50bps ของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่เหลือของปีนี้ลงบ้าง จากรายงานอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนส.ค. ที่ไม่ได้ชะลอลงตาม คาด วันนี้ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เราประเมินว่า ECB จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย -25bps สู่ ระดับ 3.50% และมีโอกาสส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังรอประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ โดยเฉพาะใน ส่วนของอัตราเงินเฟ้อ PCE ที่เฟดใช้ประเมินภาพแนวโน้มเงินเฟ้อเป็นหลัก ผ่านรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือนส.ค. พร้อมรอจับตา รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) เพื่อติดตามสภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยในประเทศ เรื่องการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาวันนี้ อาจมีผลต่อเงินบาทบ้าง แต่ไม่มากเท่าปัจจัยต่าง ประเทศ เช่น ทิศทางดอกเบี้ยเฟด "เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงไปมาของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินบาท อย่าง มุม มองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด หรือ การปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์" นายพูน ระบุ นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.7400 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.39 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 141.48/49 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1009 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1046/1047 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 33.611 บาท/ดอลลาร์ - รัฐบาลของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 12-13 ก.ย.นี้ โดยมี 10 นโยบายเร่งด่วน เดินหน้าผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ให้ความสำคัญกลุ่มเปราะบางลำดับแรก การพักหนี้ SME เร่งออก มาตรการลดราค่าพลังงานเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ดันเศรษฐกิจใต้ดินไว้บนดิน ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบ ใหม่ "Entertainment Complex" กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร รองรับนโยบายค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสาย สร้างโอกาส อย่างเท่าเทียม ทำให้คนไทย "มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี" - "นายกฯ อิ๊งค์" วางคิวสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์รัฐสภา ก่อนเข้าแถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก 12 ก.ย. เมินเสียงครหาอยู่ไม่ ถึงปี "วันนอร์" มั่นใจทุกอย่างราบรื่น "ภูมิธรรม" ดักคอเวทีแถลงนโยบายไม่ใช่ซักฟอก เชื่อฝ่ายค้านรู้หน้าที่ "ปชน." ขน 36 สส.ถล่ม อภิปรายนโยบาย เปิดธีม "1 ปีที่สูญเปล่า 3 ปีเจ๊าหรือเจ๊ง" เน้นปมการเมือง-เศรษฐกิจ - "เฟทโก้" ควงแขน "สมาคมบลจ." เตรียมชงกระทรวงคลัง "ต่ออายุ" กองทุน "เอสเอสเอฟ" (SSF) คาดชัดเจนภาย ใน ต.ค. นี้ หวังเร่งขยายฐาน "คนรุ่นใหม่" สร้างเงินออมระยะยาวรับ วัยเกษียณ "กอบศักดิ์" ย้ำหากปล่อย หมดอายุเป็นเรื่องที่น่า เสียดาย ชี้นักลงทุนต้องมีช่องทางออมเงินเพิ่มเติม "สมาคมบลจ." ชี้คนรุ่นกำลังสร้างตัวสนใจลงทุน แต่ระยะเวลา ถือครอง 10 ปีนาน ไป หวังปรับลดไม่น้อยกว่า 7 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัว เลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แต่ดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (11 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% ในการ ประชุมสัปดาห์หน้า หลังตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงเกินคาด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (11 ก.ย.) หลังสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่ง ทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมสัปดาห์หน้า - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในสัปดาห์หน้า หลังการ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาดเมื่อวานนี้ (11 ก.ย.) ซึ่งทำให้เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาก ถึง 0.50% - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางเงินเฟ้อและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย