🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 33.40-34.00 ทิศทางผันผวนต่อเนื่อง

เผยแพร่ 09/09/2567 18:11
© Reuters.  BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 33.40-34.00 ทิศทางผันผวนต่อเนื่อง
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-34.00 บาท/ดอลลาร์ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.54 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 33.50-34.31 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 16 เดือน

ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ยูโร และฟรังก์สวิสในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลกที่สูงขึ้นหนุนค่าเงินเยน ขณะที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และมูลค่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ ข้อมูลตำแหน่งงานว่างเดือนก.ค.ของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง บ่งชี้ถึงภาคแรงงานที่ชะลอตัว ทำให้ตลาดมองว่าอาจมีโอกาสมากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยมากกว่า 25bp ต่อรอบประชุม

อย่างไรก็ดี ตัวเลขภาคบริการของสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่งเกินคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้น และพันธบัตรไทยสุทธิ 15,496 ล้านบาท และ 9,523 ล้านบาท ตามลำดับ

สถานการณ์ตลาดในสัปดาห์นี้ จะให้ความสนใจกับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ รวมถึงการโต้วาทีระหว่างผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลังสหรัฐฯรายงานตำแหน่งการจ้างงานเดือนส.ค.ต่ำกว่าคาดแต่ค่าจ้างเร่งตัว ทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจเกี่ยวกับขนาดการลดดอกเบี้ยของเฟดในช่วงต้นของวัฎจักร

ทั้งนี้ สัญญาดอกเบี้ยล่วงหน้าปรับตัวผันผวนสูง หลังการรายงานข้อมูลจ้างงาน และบ่งชี้ว่ามีโอกาสราว 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bp และคาดว่ามีโอกาส 31% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 50bp จากระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. นอกจากนี้ตลาดจะติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งคาดว่าจะลดดอกเบี้ย 25bp สู่ 3.50% ในวันที่ 12 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับประเด็นในประเทศ ติดตามความต่อเนื่องของกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย และการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 0.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เนื่องจากต้นทุนพลังงานลดลง แต่ราคาอาหารเพิ่มขึ้นตามผลของสถานการณ์อุทกภัย ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.62% ในเดือนส.ค. โดยกระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าในไตรมาส 4/67 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ราว 1.5% กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย