InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.09 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.28 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ออกมาเมื่อคืนต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้ตลาดประเมินถึงแนว โน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ย.หรืออาจเร็วกว่านั้น ขณะที่มีปัจจัยในประเทศที่ส่งผลให้บาทแข็งค่าจากทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ในการส่งออกทอง หลังราคาทอง ในตลาดโลกเมื่อคืนปรับขึ้นกว่า 40 ดอลลาร์/ออนซ์ "บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้ลงมามาก หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดคาดการณ์เฟดมีโอกาส พิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนได้มากถึง 90%" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.95 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.1350 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 158.90 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 161.54 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0870 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0846 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.245 บาท/ดอลลาร์ - ผู้อำนวยการสำนักงานกรุงโซล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ปี 2568 ททท. ตั้งเป้าดึงเกาหลีมา เที่ยวไทยประมาณมากกว่า 2 ล้านคน เพิ่มจากปี 2567 ที่คาดว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีทั้งปีประมาณ 1.94 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 20% จากปี 2566 เพราะจากตัวเลข 6 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีเดินทางมาไทยมากกว่า 9 แสนคน แล้ว ซึ่งจากสถิติครึ่งปีหลังนักท่องเที่ยวเกาหลีจะมาไทยมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้นการเพิ่มขึ้นสู่ 1.94 ล้านคนในปีนี้ ถือว่าสูงกว่าระดับ ปี 2562 แล้ว - "คลัง" โชว์ผลมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์แค่ 3 เดือน ช่วยหนุนยอดจดทะเบียนโตกระหึ่มกว่า 40,000 ราย พร้อม ช่วยสร้างเม็ดเงินใหม่ 65,000 ล้านบาท - "ภาคเอกชน" กังวลสถานการณ์การเมืองไม่นิ่ง หลังจากคดีนายกฯ เลื่อน ส.อ.ท.ชี้สร้างความอึมครึมให้นักลงทุนไทยและ ต่างชาติ กระทบเศรษฐกิจวงกว้าง หอการค้า ระบุความไม่แน่นอนทางการเมืองฉุดหุ้นไทย "ไพบูลย์" ห่วงการเมืองยืดเยื้อกระทบเซนติ เมนต์ลงทุน "ศุภวุฒิ" ชี้ กระทบเชื่อมั่นเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า "พิพัฒน์" ระบุการเมืองยืดเยื้อกดดันเศรษฐกิจฟื้นตัว - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่ม ขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.1% จากระดับ 3.3% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.4% จากระดับ 3.4% ในเดือนพ.ค. - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 17,000 ราย สู่ระดับ 222,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (11 ก. ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลด อัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (11 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด - นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยจะปรับลดในเดือนก.ย.และเดือนธ.ค. หลังสหรัฐเปิด เผยดัชนี CPI ที่ต่ำกว่าคาด โดยเครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 90% ที่เฟดจะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 74% ในวันพุธ (10 ก.ค.) - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้น ต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน