💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 36.35-37.15 มองความเสี่ยงฝรั่งเศสถ่วงยูโร

เผยแพร่ 17/06/2567 21:24
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 36.35-37.15 มองความเสี่ยงฝรั่งเศสถ่วงยูโร
EUR/USD
-
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 36.50-37.15 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 36.79 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 36.53-36.94 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยดอลลาร์ปรับตัวผันผวน หลังสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นช้าสุดตั้งแต่เดือนเม.ย.64 ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% และเปิดเผยประมาณการว่าอาจลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ เทียบกับค่ากลางของประมาณการเดือนมี.ค.ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง

ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงเป้าหมายดอกเบี้ยระยะสั้นในกรอบ 0-0.1% และแสดงท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับแผนปรับลดปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้น และพันธบัตรไทยสุทธิ 9,376 ล้านบาท และ 3,661 ล้านบาท ตามลำดับ

สถานการณ์ตลาดในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะติดตามยอดค้าปลีกสหรัฐฯ รวมถึงความเห็นเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่เรายังคงเชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปีนี้ โดยตัวเลข CPI ล่าสุด น่าจะทำให้เฟดมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลง หลังจากที่พุ่งขึ้นในไตรมาสแรก

ทั้งนี้ รายงานคาดการณ์ของเฟดบ่งชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะอยู่ที่ 5.00-5.25% ในปลายปีนี้ และอยู่ที่ 4.00-4.25% ในปลายปี 68 ขณะที่ปลายปี 69 จะอยู่ที่ 3.00-3.25% นอกจากนี้ เฟดคาดว่าเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานจะอยู่ที่ 2.8% ในช่วงปลายปีนี้ ก่อนจะแตะระดับ 2.0% ในปี 69 โดยประธานเฟดยอมรับว่า นโยบายการเงินอยู่ในภาวะเข้มงวด อย่างไรก็ดี เราคาดว่าเงินยูโรจะยังคงเผชิญกับแรงกดดัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองในฝรั่งเศส

สำหรับปัจจัยในประเทศ กนง.คงดอกเบี้ย ด้วยมติ 6 ต่อ 1 โดยกรรมการส่วนใหญ่ประเมินว่าดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน ขณะที่กรรมการ 1 ราย เห็นควรให้ลดดอกเบี้ยลงเป็น 2.25% ในภาพรวม กนง.มองว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ได้แรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการเบิกจ่ายภาครัฐ แต่ภาคการส่งออกขยายตัวต่ำ ส่วนหนึ่งสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ค่าเงินบาท ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่อง ท่าทีล่าสุดสนับสนุนมุมมองของเราที่ว่า กนง.มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยที่ 2.50% ตลอดปีนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย