InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.03 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าต่อ เนื่องจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.85 - 36.15 บาท/ดอลลาร์ โดย มีปัจจัยหนุนจากกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) เข้ามาในตลาดพันธบัตร 8 พันล้านบาท และการส่งออกทองคำหลังราคาในตลาดโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนกรณีตัวเลขภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงไม่พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้การเติบ โตจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ "วันนี้บาทแข็งค่าหลุด 36 บาทลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา แข็งค่าสุดในภุมิภาค" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.95 - 36.15 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 155.66 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 155.80 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0868 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0873 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,378.70 จุด ลดลง 3.98 จุด, -0.29% มูลค่าซื้อขาย 44,052.38 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 109.22 ล้านบาท - สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 1/67 เติบโต 1.5% ดีกว่าที่ตลาด คาดการณ์ว่าจะเติบโต 0.7-0.8% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี รวมทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี แต่ปรับ ลดคาดการณ์ GDP ในปี 67 เหลือเติบโต 2-3% หรือช่วงกลางของคาดการณ์ที่ 2.5% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.2-3.2% เนื่องจาก การส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าคาด การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาด และการลงทุนภาครัฐยังหดตัว - เลขาธิการสภาพัฒน์ เผยประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 67 ที่คาดวาจะเติบโต 2-3% ยังไม่ได้รวมผลของโครงการดิจิ ทัล วอลเล็ต แต่หากรวมไทม์ไลน์ของโครงการที่คาดว่าจะเริ่มได้ไตรมาส 4/67 เชื่อว่าการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงคงไม่ได้ออกมาทั้ง 5 แสน ล้านบาทในคราวเดียว แต่เป็นการทยอยใช้ ดังนั้นประเมินว่ามาตรการดังกล่าวอาจช่วยเสริมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้เติบโตได้เพิ่มขึ้นราว 0.25% - ประธานเฟดได้กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในพิธีจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยไม่ได้ ส่งสัญญาณหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับนโยบายการเงินของเฟด รวมถึงไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐ - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยผลการสำรวจในวันนี้ (20 พ.ค.) ว่า กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นมองว่าเสถียรภาพ ของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่พวกเขาต้องการจากนโยบายการเงินของ BOJ