InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.25 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางภูมิภาคและตลาดโลก แต่ยังขาดปัจจัยใหม่ชี้นำ โดยตลาด รอดูรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะออกมาในช่วงกลางสัปดาห์ "บาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค ลงมาอยู่ใกล้ระดับเมื่อสองเดือนก่อน ตลาดยังขาดปัจจัยใหม่ชี้นำ แต่วันนี้อาจมี Flow จากผู้ค้าทอง ที่หนุนบาทให้แข็งค่า" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.00 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยใน ประเทศที่ตลาดรอดูวันนี้เป็นการประกาศตัวเลขภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 67 จากสภาพัฒน์ และกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้ค้าทอง หลังราคาทองในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.9750 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 155.80 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 155.81 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0873 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0842 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.268 บาท/ดอลลาร์ - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/67 และแนวโน้มปี 2567 - "เศรษฐา" เดินสายลุยภารกิจวันสุดท้ายในมิลาน ถกผู้บริหารแบงก์ชั้นนำช่วยดันเมกะโปรเจกต์ พบบิ๊กบอส F1 ปูทางนำมา จัดแข่งที่ไทย - กรมสรรพากรชงร่าง พ.ร.บ.การจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มเข้า ครม.หวังมีผลบังคับใช้ปีหน้า คาดจัดเก็บรายได้เพิ่ม 1.2 หมื่น ล้านบาท ชี้เป็นเงื่อนไขของประเทศสมาชิกโออีซีดีเพื่อป้องกันการแข่งขันการลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผนึก 12 หน่วยงานรัฐบูรณาการแผนกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง ตั้งเป้าหมาย สร้างรายได้ตลาดในประเทศ 3.3 แสนล้านบาท - ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้ แต่ได้เรียกร้องให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการปรับลด อัตราดอกเบี้ยลงอีก เนื่องจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคต - นักลงทุนจับตาธนาคารกลางจีนซึ่งมีกำหนดแถลงอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี (LPR) ในช่วงเช้าวันนี้ ท่ามกลางกระแสคาด การณ์ที่ว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ย LPR ที่ระดับเดิม หลังจากมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองและยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่าย จัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสำหรับเดือนพ.ค. ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)เมื่อ 30 เม.ย.-1 พ.ค.