InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.79 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่า จากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.71 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามทิศทางของบ อนด์ยีลด์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ของสหรัฐฯ ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) "บาทอ่อนค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์มาเกือบ 10 สตางค์ ตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ ปรับตัวสูงขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.70 - 36.90 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 155.88 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 155.70 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0767 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0781 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.724 บาท/ดอลลาร์ - ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ 36.50-37.00 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์เงินเยน ราคาทองคำในตลาดโลก และทิศทางเงินทุนต่างชาติ - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตามกลุ่มนักลงทุนตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-10 พฤษภาคม 2567 พบว่าสถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 2,753.59 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(โบรกเกอร์)ขายสุทธิ 4,220.76 ล้าน บาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 70,712.16 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ (รายย่อย) ซื้อสุทธิ 77,686.51 ล้านบาท - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (10 พ.ค.) หลังจากการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนพิจารณาการแสดงความเห็นจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) และมุ่งความสนใจไปที่การเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สำคัญในสัปดาห์หน้า - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อในสหรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันที่ 14 พ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันที่ 15 พ.ค. - เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายคนออกมาแสดงความเห็นว่าเงินเฟ้อสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูง ไม่ควรลด ดอกเบี้ยปีนี้ - สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีน เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน เม.ย.เมื่อเทียบเป็นราย ปี ส่วนเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน เม.ย. หลังจากลดลง 1% ในเดือน มี.ค. - ข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการรายงานวันนี้ ได้แก่ ออสเตรเลียจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเม.ย.จากเนชัน แนล ออสเตรเลีย แบงก์ (NAB) ขณะที่อินเดีย มีกำหนดเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. และสหรัฐ เปิดเผยการคาดการณ์เงินเฟ้อของ ผู้บริโภคเดือนเม.ย.