InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 37.04 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันอังคารที่ระดับ 37.06 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตาม บอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวลดลง หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย และมีความชัดเจนเรื่องการบริหารงบดุล พร้อมประเมิน อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับตัวลดลงช้า ขณะที่แนวโน้มการปรับดอกเบี้ยในอนาคตยังเป็นขาลงแต่ต้องรอดูระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนปัจจัยในประเทศต้องจับตาดูกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้ค้าทอง หลังสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น "บาทแข็งค่าเล็กน้อยจากเย็นวันอังคารก่อนจะเป็นวันหยุด และกลับมาหลังจากเฟดมีมติออกมาแล้ว ทิศทางวันนี้น่าจะย่อยข่าว จากผลประชุมเฟด" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.925 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 155.93 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันอังคารที่ระดับ 156.11 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0708 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันอังคารที่ระดับ 1.0701 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 37.063 บาท/ดอลลาร์ - ซีอีโอ "ไมโครซอฟท์" ประกาศลงทุน "ดาต้าเซ็นเตอร์" ในไทย พร้อมลุยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ AI ยก ระดับศักยภาพบุคลากร ชุมชนนักพัฒนา ต่อยอดเอ็มโอยูกับรัฐบาล มุ่งนำประเทศไทยสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI คาด ช่วยหนุนจีดีพีไทย เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 4.3 ล้านล้านบาท "เศรษฐา" ย้ำไทยพร้อมรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งที่สุดใน ภูมิภาค หนุน AI เติบโตเต็มที่ - ศาล รธน. อนุญาตรอบ 2 ขยายเวลาให้พรรคก้าวไกล ยื่นชี้แจงปมถูกร้องยุบพรรคอีก 15 วัน ครบ 18 พ.ค. รวมได้ เวลาทำคำชี้แจงแล้ว 45 วัน - กระทรวงพาณิชย์คาดการส่งออกไทยจะพลิกกลับมาขยายตัวตั้งแต่เดือนเมษายนและขยายตัว 2% ในไตรมาส 2 ผล จากราคาสินค้าเกษตรและผลไม้ การฟื้นตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ รถไฟฟ้า และพลังงานสะอาดของโลก รวมถึงเงินบาทอ่อนค่า และค่า ระวางเรือเข้าสู่ระดับปกติ - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลใน ช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566-มีนาคม 2567) รัฐบาล จัดเก็บรายได้อยู่ที่ 1.16 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าประมาณ การ 27,819 ล้านบาท - ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดการเงินใน เดือนที่ผ่านมาผันผวน ค่อนข้างสูง ทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดพันธบัตรรัฐบาล โดยมีเหตุการณ์สำคัญ คือ สงครามระหว่าง อิสราเอลและอิหร่าน ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา แข็งแกร่งทำให้ตลาดปรับมุมมองการดำเนินนโยบายของ Fed และล่าสุดคือการ แทรกแซงค่าเงินเยนของธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้เงินบาทเดือนที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว - สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 325,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 8.488 ล้าน ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.พ.2564 - คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันพุธ (1 พ.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี - ประธานเฟดกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวว่า แม้ว่าเฟดยังคงมุ่งเน้นในเรื่องการฉุดเงินเฟ้อให้ลดลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% แต่เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 11-12 มิ.ย. - นักลงทุนเทน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. โดยจะเป็นการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ หลังการเปิดเผยดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และบ่งชี้การพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้ - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (1 พ.ค.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ชะลอตัวลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตาม คาดในการประชุมครั้งล่าสุด และนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนมิ.ย. - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำกว่า 4.6% หลังการแถลงข่าวของนายพาวเวล ซึ่ง เป็นปัจจัยกดดันต่อดอลลาร์ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพียง 243,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งชะลอตัวลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น 303,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.8% ในเดือนเม.ย. - นักลงทุนจะจับตาเงินเยนของญี่ปุ่น ซึ่งผันผวนตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเข้าดำเนินการ แทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินเยนในวันจันทร์ที่ 6 พ.ค. โดยล่าสุดเงินเยนซื้อขายที่ 155.83 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ