รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.71 รอลุ้นผลประชุมกนง.-บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 09/04/2567 16:30
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.71 รอลุ้นผลประชุมกนง.-บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตสัปดาห์นี้

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.71 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดสัปดาห์ก่อน ที่ระดับ 36.64 บาท/ดอลลาร์ โดยตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบกว้าง ก่อนที่จะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นใกล้โซน 36.60 บาท/ ดอลลาร์ จากแรงขายทำกำไรเงินดอลลาร์ และโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ สัปดาห์นี้ ต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันพุธนี้ ซึ่งคาดว่า กนง. จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% แต่อาจส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นว่า สามารถทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ ฟื้นตัวช้าจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้ กนง. สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้บ้าง (Recalibration policy rate) เพื่อ ให้สอดคล้องกับระดับศักยภาพของเศรษฐกิจปัจจุบัน และนอกเหนือจากผลการประชุม กนง. ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายละเอียดมาตรการ Digital Wallet จากทางรัฐบาล ซึ่งอาจสร้างความหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยได้บ้าง "ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังมีอยู่ แต่ตลาดอาจรอลุ้นผลประชุม กนง. รวมถึงรายละเอียดมาตรการ Digital Wallet และเงินเฟ้อสหรัฐฯ ก่อนที่จะปรับสถานะถือครองที่ชัดเจน ทำให้เงินบาทก็อาจแกว่งตัว sideways ก่อนที่จะรับรู้ปัจจัยดังกล่าว ได้" นายพูน ระบุ นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 36.65-36.85 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.58250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 151.39/40 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0856 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0840/0841 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.772 บาท/ดอลลาร์ - "นักเศรษฐศาสตร์" ฟันธง กนง. "ลดดอกเบี้ย" 10 เม.ย. นี้ "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้ควร "ลด" พยุงเศรษฐกิจระยะสั้น - ยาว "กรุงไทย" หวังลดดอกเบี้ยสร้างบรรยากาศลงทุน-ลดตึงเครียดปัญหาหนี้ "อีไอซี" เชื่อปีนี้ กนง. ลดดอกเบี้ยต่อเนื่องสองครั้งติด เหลือ 2% เดือนมิ.ย.ให้สมดุลเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำ "เกียรตินาคินภัทร" เผยแม้มีเหตุให้ลด แต่คาดครั้งนี้ กนง. ไม่รีบหวังรอความ ชัดเจน "ดิจิทัลวอลเล็ต" และตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 67 ก่อนตัดสินใจลดมิ.ย. นี้ - "เงินบาท" ทำสถิติอ่อนค่าสุดรอบ 6 เดือนครั้งใหม่ที่ระดับ 36.81 บาทต่อดอลลาร์ รอผลประชุมกนง. 10 เม.ย. 67 "กรุงศรี" คาดคงดอกเบี้ยระดับ 2.5% มองเงินบาททรงตัว หากหั่นดอกเบี้ย 0.25% นำเฟด "กดดัน" เงินบาทอ่อนค่าต่อ แต่เชื่อสิ้นปี นี้พลิกแข็งค่าแตะ 34.75 บาทต่อดอลลาร์ มองเฟดลดดอกเบี้ยมากกว่าไทย-ท่องเที่ยวขยายตัว "กรุงไทย" คาด กนง. ยังคงดอกเบี้ยรอบ นี้ ลุ้นส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง กดดันบาทอ่อนค่าต่อได้สูงสุดที่ 37.25 บาทต่อดอลลาร์ - ทองทำสถิตินิวไฮอีกครั้ง พุ่งแตะบาทละ 41,150 ส่วนทองแท่งบาทละ 40,650 หลังเปิดตลาดราคาขยับขึ้นลงถึง 32 รอบ นักวิเคราะห์คาดยังปรับขึ้นได้อีกจากสถานการณ์สงคราม ทั้งในรัสเซีย-ยูเครน อิสราเอล-อิหร่าน และการเข้าซื้อของธนาคาร จีนอย่างต่อเนื่อง -'เศรษฐา'กำชับ'รมต.ปุ๋ง'เร่งตีปี๊บมหาสงกรานต์ เปิด 93 พิกัดเที่ยว 5 ภูมิภาค คาด 26 วันสะพัดกว่า 5.2 หมื่นล้าน บขส.เริ่มคึกคัก-ต่อคิวซื้อตั๋ว แรงงานเขมรแห่กลับบ้าน 'สงขลา-พังงา' ยอดจองที่พักแน่น - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 303,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. สูงกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 205,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.9% - นักวิเคราะห์จากบริษัท CFRA Research ในรัฐนิวยอร์กกล่าวว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาดทำให้ ตลาดมองว่าเฟดอาจจะชะลอเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยขณะนี้นักลงทุนคาดการณ์ว่าความเป็นไปได้ที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยคือเดือนก.ค. จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าจะเป็นเดือนมิ.ย. - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (8 เม. ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ส่วนเงินเยนเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี ท่าม กลางกระแสคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงเงินเยน - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (8 เม.ย.) โดยสัญญาทองคำยังคงปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขานรับ ข่าวธนาคารกลางหลายแห่งเข้าซื้อทองคำ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ ที่ปลอดภัย - นักวิเคราะห์จากบริษัท TD Securities กล่าวว่า ข่าวธนาคารกลางการเข้าซื้อทองคำและสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิ รัฐศาสตร์เป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ แต่ราคาทองคำลดช่วงบวกในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.หรือไม่ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาด - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันพุธนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนว โน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI เดือนมี.ค.จะเพิ่มขึ้น 3.4% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐ - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 19-20 มี.ค. ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนเม.ย.

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย