รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิดเช้านี้ 36.48 ทรงตัวรอลุ้นตัวเลข PCE สหรัฐ

เผยแพร่ 29/03/2567 16:10
อัพเดท 29/03/2567 15:11
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิดเช้านี้ 36.48 ทรงตัวรอลุ้นตัวเลข PCE สหรัฐ

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.48 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากระดับปิดวานนี้ โดยตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทยังคงแกว่งในกรอบ sideways ช่วง 36.41-36.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยได้แรงหนุน จากโฟลว์ธุรกรรมทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกับการย่อตัวลงบ้างของเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เงินบาทยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นไปต่อได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดว่าเฟดอาจลด ดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด หลังภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใส ส่งผลให้เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) ของสหรัฐในเดือนก.พ. เนื่องจากจะเป็นข้อมูลสำคัญที่เฟดใช้ประกอบการพิจารณานโยบายการเงิน นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด รวมทั้งประธานเฟดที่ปกติจะออกมาในช่วงหลังรับรู้แนวโน้ม อัตราเงินเฟ้อจากรายงาน PCE เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.30 - 36.65 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ 151.34 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 151.36 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0783 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 36.447 บาท/ ดอลลาร์ - กระทรวงการคลัง เผยเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ. 67 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากภาคส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 7 รวม ทั้งภาคท่องเที่ยวที่โตต่อเนื่องทั้งต่างชาติ-ชาวไทย ส่วนการบริโภค-ลงทุนภาคเอกชน ยังทรงตัว - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.พ. 67 อยู่ที่ระดับ 99.27 หดตัว 2.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 59.77% ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ช่วง 2 เดือนแรกของปี 67 หดตัวเฉลี่ย 2.88% สาเหตุหลักจากการผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 7 เป็นการหดตัวจากภายในประเทศ - ประธานกรรมการบริหาร PwC ประเทศไทย เปิดเผยรายงานผลสำรวจซีอีโอว่า 67% ของซีอีโอไทยไม่คิดว่าธุรกิจของ พวกเขาจะอยู่รอดได้เชิงเศรษฐกิจใน 10 ปีข้างหน้า หากยังดำเนินธุรกิจรูปแบบเดิมๆ เพราะจะเจอแรงกดดันจากกระแสการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ การเข้ามาของเทคโนโลยีเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นอีก 2 เมกะเทรนด์โลกที่จะยิ่งเข้ามา เพิ่มแรงกดดันในการทำ ธุรกิจให้กับซีอีโอมากขึ้นเรื่อยๆ - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ของ GDP ประจำไตรมาส 4/66 ซึ่งระบุว่า GDP ขยายตัว 3.4% สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ที่ระดับ 3.3% และ 3.2% ตามลำดับ และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ ระดับ 3.2% โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและรัฐบาล รวมทั้งการลงทุนของภาคธุรกิจ - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 212,000 ราย - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี (28 มี.ค.) โดยสัญญาทองคำปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นที่ 4 เนื่องจาก ตลาดยังคงได้ปัจจัยหนุนจากการที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผย PCE ในวันนี้ เพื่อ ประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (28 มี. ค.) โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขณะที่จับตาการเปิดเผย ดัชนี PCE ในวันนี้เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - นักลงทุนจับตาการเปิดเผย PCE ในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนก. พ. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.4% เช่นกันในเดือนม.ค.นอกจากนี้ คาดว่า ดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวด อาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือนม.ค. - นักลงทุนจับตาสถานการณ์เงินเยนอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรต เงินตรา หลังจากเงินเยนร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย