InfoQuest - นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 36.37/42 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้า ที่ระดับ 36.25 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 36.30 - 36.40 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทระหว่างวัน ยังไร้ปัจจัยใหม่ เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าสอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น "เรื่องที่รัฐบาลประกาศไทม์ไลน์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท อาจพอมีผลต่อเงินบาทบ้าง แต่ตลาดจับตาธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) มากกว่า ว่าจะลดดอกเบี้ยหรือไม่" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.20 - 36.50 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 151.17 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0819 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0817 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,372.49 จุด ลดลง 8.55 จุด (-0.62%) มูลค่าการซื้อขาย 41,060.71 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,050.08 ล้านบาท - รมช.คลัง แถลงความคืบหน้าโครงการแจกเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ยืนยันว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ (ต.ค.- ธ.ค.) ประชาชนจะได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่เลื่อนแน่นอน ส่วนกรอบเวลาชัดเจนนั้น คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (บอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะมีการประชุมสรุปรายละเอียดทั้งหมดในวัน ที่ 10 เม.ย. ก่อนส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยเงื่อนไขหลักจะไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ได้ลดจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 50 ล้านคน - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ให้คำมั่นในวันนี้ (25 มี.ค.) ว่าจะปฏิบัติต่อบริษัทต่างชาติอย่างเท่าเทียมเช่น เดียวกับบริษัทในประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุน ความร่วมมือ และความชำนาญจากต่างชาติเข้าสู่จีนให้มากขึ้น ในขณะที่จีนกำลังพยายามยก ระดับและเสริมแกร่งห่วงโซ่อุตสาหกรรม - บรรดาธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของรัฐบาลจีนได้ดำเนินการเทขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินหยวนจีนใน ตลาดออนชอร์ในวันนี้ (25 มี.ค.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินหยวนหลังจากค่าเงินหยวนปรับตัวลดลงอย่างหนัก - กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเมื่อวันอาทิตย์ (24 มี.ค.) ว่า จีนจำเป็นต้องสร้างตัวเอง ขึ้นมาใหม่ด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเร่งแก้ไขวิกฤตตลาดอสังหาริมทรัพย์ พร้อมส่งเสริมการบริโภคและผลิตภาพภายใน ประเทศ - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค. ในวันนี้ โดยระบุว่า กรรมการส่วนใหญ่มี ความเห็นตรงกันว่า โอกาสที่ BOJ จะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% กำลังเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ หาก BOJ มีความมั่นใจว่าค่าจ้างและเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม BOJ ก็จะพิจารณายุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ และนโยบายผ่อนคลายการเงินแบบพิเศษ (ultra-loose monetary policy) - นักลงทุนรอการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย จะเปิดเผยตัวเลขเงิน เฟ้อเดือนก.พ.ในวันนี้ ส่วนออสเตรเลียจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพุธ (27 มี.ค.) ด้านญี่ปุ่นมีกำหนดเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อกรุง โตเกียวในวันศุกร์ (29 มี.ค.)