InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.82 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.64 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เนื่องจากเมื่อคืนนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาดี ทั้งดัชนีผู้ผลิตที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาด คาด และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ออกมาดีกว่าคาดเช่นกัน ทำให้ตลาดปรับมุมมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจไม่ต้องรีบปรับลดดอกเบี้ย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐขึ้น และดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.70 - 35.95 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ผลการเจรจาขึ้นค่าจ้างของญี่ปุ่น ซึ่งถ้าขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว อาจทำให้ตลาดมองว่า มีโอกาส มากขึ้นที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.81000 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.47 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.84 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0877 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0940 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.677 บาท/ดอลลาร์ - นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้เปิดเผยผ่าน x (ทวิตเตอร์ (NYSE:TWTR)) ส่วนตัว ระบุว่า รัฐบาลจะประกาศวาระแห่งชาติ ในการ ผลักดันให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของไทย หรือ Tourism Hub - ททท.จับมือพันธมิตรเปิดตัวแคมเปญใหญ่ "สุขทันที.ที่เที่ยวเมืองรอง" ขานรับนโยบายรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นใน พื้นที่ 55 เมืองรอง เดินหน้าปั๊มรายได้กว่า 324,900 ล้านบาท - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 1.6% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.1% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.0% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ที่ระดับ 1.9% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือนม.ค. - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 209,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 218,000 ราย - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ที่ระดับ 0.8% หลังจากร่วงลง 1.1% ในเดือนม.ค. และเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือนก.พ. - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (14 มี. ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่สูงเกินคาดอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึง อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (14 มี.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้น ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ - นักลงทุนจับตาผลการเจรจาค่าจ้างช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น โดยคาดว่าการประเมินค่าจ้างช่วงแรกจะมีการเปิดเผยภายใน วันนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเจรจาเกี่ยวกับค่าจ้าง และหลักฐานที่บ่งชี้ถึงทิศทางการเพิ่มขึ้น ของค่าจ้าง ขณะที่สมาพันธ์สหภาพการค้าของญี่ปุ่นหรือเรนโก (Rengo) ระบุว่า สหภาพแรงงานหลายแห่งได้เรียกร้องการปรับขึ้นค่าจ้าง โดยเฉลี่ย 5.85% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับ 4.49% ในปีที่แล้ว - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุในวันนี้ (15 มี.ค.) ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ในภาวะเงินฝืดอีกต่อไปแล้ว และทิศทางการปรับขึ้นค่าจ้างก็เริ่มมีความแข็งแกร่ง - ตลาดการเงินจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางรายใหญ่หลายแห่งในสัปดาห์หน้า โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะแถลงมติการประชุมนโยบายการเงินในวันเดียวกันคือวันอังคารที่ 19 มี.ค. ส่วนธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) จะแถลงมติการประชุมในวันพุธที่ 20 มี.ค.ตามเวลาสหรัฐ และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะประชุมนโยบายการเงินใน วันพฤหัสบดีที่ 21 มี.ค.