รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.94 อ่อนค่าเล็กน้อย จับตาข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซน-ถ้อยแถลงจนท.ECB

เผยแพร่ 23/02/2567 16:35
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.94 อ่อนค่าเล็กน้อย จับตาข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซน-ถ้อยแถลงจนท.ECB

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.94 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปิดวันก่อนที่ระดับ 35.85 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทผันผวนอ่อนค่า ถูกกดดันโดยจังหวะการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังรายงานยอด ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาท มองว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าได้แผ่วลง โดยเฉพาะหลังมุมมองการลดดอกเบี้ยของตลาด สอดคล้อง กับ Dot Plot ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุด ทำให้การแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์อาจจำกัดลง อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังมีอยู่ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย ทำให้ตลาดยังคงประเมินว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้ วันนี้ ตลาดรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซน และรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ ECB ว่าจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเฟด (เดือนมิ.ย.) หรือไม่ นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.75-36.05 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.00750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 150.18/19 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0824 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0852/0853 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.889 บาท/ดอลลาร์ - ติดตามสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขส่งออกไทย เดือน ม.ค. 67 ตลาดคาดโต 8.8%YoY - "คลัง" ลุยกระทุ้งรัฐวิสาหกิจเร่งลงทุนตามกรอบ 2.4 แสนล้านบาท หลังงบปี 67 ยังไม่ออก ห่วงประเทศขาดแรงผลัก ทางการคลัง สั่งอัดมาตรการเข็นสุดฤทธิ์ ขีดเส้น มี.ค. เซ็นสัญญาให้เสร็จ - นายกฯ เศรษฐายังเดินหน้าต้อง "ลดดอกเบี้ย" อยากให้ผู้ว่าการ ธปท.คิดถึงประชาชนเดือดร้อน พร้อมจับเข่าคุยทุกเมื่อ หลัง "เศรษฐพุฒิ" ให้สัมภาษณ์สื่อนอกย้ำลั่นเศรษฐกิจไทยยังไม่วิกฤติ ค้านข้อเรียกร้องให้ กนง.จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อลดอัตราดอกเบี้ย - "สุดาวรรณ" สั่ง ททท.ดึงนักท่องเที่ยวอินเดียมาเที่ยวไทยให้ได้ 2 ล้านคนในปีนี้ หวังสร้างรายได้ 80,870 ล้านบาท ลุ้น ต่ออายุยกเว้นวีซ่าให้อินเดีย พร้อมเร่งปลดล็อกข้อจำกัดการบิน - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 12,000 ราย สู่ระดับ 201,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 217,000 ราย - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 51.4 ในเดือนก. พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 52.0 ในเดือนม.ค. - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 48.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากระดับ 47.9 ในเดือนม.ค. - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (22 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมทั้งจับตาการแสดง ความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (22 ก.พ.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงแตะ ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน - นักกวิเคราะห์จากบริษัท EverBank คาดว่า ในระยะใกล้นี้ ราคาทองคำอาจจะชะลอตัวลงอีกหากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานและเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง หรือเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณปรับตัวสูงขึ้น - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมทั้งจับตาการแสดงความเห็น ของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย