ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.81/85 แนวโน้มยังแข็งค่าต่อ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.80-36.00

เผยแพร่ 23/02/2567 00:38
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.81/85 แนวโน้มยังแข็งค่าต่อ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.80-36.00
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.81/85 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.91 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.80 - 35.95 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่า หลังสกุล ดอลลาร์อ่อนค่า ปัจจัยต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมเฟด ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมี การลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.67 สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ของสหรัฐฯ โดยตลาดคาด การณ์ว่าจะลดลง ซึ่งถ้าเป็นไปตามคาด จะส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อ และทำให้เงินบาทแข็งค่าได้ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.80 - 36.00 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.18/19 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 150.30 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0852/0853 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0828 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,402.47 จุด เพิ่มขึ้น 8.86 จุด (+0.64%) มูลค่าการซื้อขาย 51,341.29 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,524.23 ลบ.(SET+MAI) - นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงกรณีนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ สัมภาษณ์สื่อญี่ปุ่นว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาปรับดอกเบี้ย นโยบาย พร้อมทั้งเห็นว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินก่อนเวลาอันควร จะทำให้เสถียรภาพด้านการเงินของไทยเผชิญกับความเสี่ยง ว่า เป็นสิทธิ์ของผู้ว่าฯ ธปท. เพราะ ธปท.เป็นหน่วยงานอิสระ แต่ยืนยันว่าสิ่งที่เรียกร้องไปมีเหตุผล นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เมื่อถึงเวลา สมควรจะมีการนัดหมายกับผู้ว่าฯ ธปท.เพื่อมาพูดคุยกัน แม้ที่ผ่านมาจะเคยเรียกร้องไปแล้ว 3 ครั้ง เพื่อให้ลดดอกเบี้ย แต่ไม่มีผลตอบรับ ก็ ยืนยันจะเรียกร้องต่อไปเป็นครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 - ttb ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 67 มีแนวโน้มขยายตัว 2.6% ดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.9% แต่เป็นการฟื้นตัวอย่าง เชื่องช้า ท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน แม้เศรษฐกิจในช่วงต้นปี ได้แรงส่งจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น แต่แรงขับเคลื่อนให้ เศรษฐกิจเติบโตในระยะสั้น อาจมีเพียงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่การลงทุนโดยรวมฟื้นตัวล่าช้า รวม ถึงการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้จำกัด - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มีนโยบายให้กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้ 35 ล้านคน ให้เป็น 40 ล้านคน เพื่อเพิ่มจำนวนรายได้รวม จากการท่องเที่ยว จากเป้าที่วางไว้ 3 ล้านล้านบาท ให้เป็น 3.5 ล้านล้านบาท - ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ม.ค.67 อยู่ที่ 86,716 คัน ลดลงจาก 3.97% จากเดือนธ.ค. 66 และลดลงจากช่วง เดียวกันของปีก่อน 0.08% เพราะส่งออกได้เพียง 91.17% ของยอดผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากเรือมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จึงส่งออกลดลงใน ตลาดเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ ขณะที่มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 79,633.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.25% จากเดือนเดียวกันของปี ก่อน - รัฐบาลญี่ปุ่น ปรับลดมุมมองของเศรษฐกิจในเดือนก.พ. เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซบ เซา ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ท่ามกลางการเติบโตของอัตราค่าจ้างที่ชะลอตัว และผลผลิตภาค อุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 30-31 ม.ค.67 โดยกรรมการเฟดส่งสัญญาณไม่เร่ง รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป และกรรมการเฟดยังคงไม่ มั่นใจว่าควรจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีกนานเท่าใด - ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.5% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันครั้งที่ 9 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมคงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ ไว้ที่ 2.1% ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ ประมาณการไว้ในเดือนพ.ย.66

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย